แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาผลกระทบต่อการให้บริการของเภสัชกรและการหาแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดการบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

dc.contributor.authorปาริฉัตร อุทัยพันธ์th_TH
dc.contributor.authorPharichat Uthaiphanen_US
dc.contributor.authorอรุโณทัย เดอรามันห์th_TH
dc.contributor.authorเบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุลth_TH
dc.contributor.authorสลิล กาจกำแหงth_TH
dc.contributor.authorArunothai Deramanen_US
dc.contributor.authorBenchawan Phuntananiwatkulen_US
dc.contributor.authorSalin Khatkhamhaengen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:04Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:34:27Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:04Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:34:27Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1262en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1225en_US
dc.descriptionเอกสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัย เรื่องการจัดการระบบบริการสุขภาพ ในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.description.abstractการศึกษาผลกระทบต่อบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณา (Descriptive study) ของผลกระทบจากภาวะวิกฤติต่อการให้บริการของเภสัชกรในสถานบริการ เพื่อหาแนวทางการจัดบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ ซึ่งสถานบริการที่ทำการศึกษาประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 4 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 27 แห่ง และหน่วยบริการสาธารณสุขอื่นๆ 2 แห่ง เก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามและได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 39.0 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สมัครใจมาปฏิบัติราชการ ร้อยละ 67.2 สืบเนื่องมาจากมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากเหตุการณ์ความไม่สงบนี้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านความรู้สึกไม่ปลอดภัย ร้อยละ 90.6 ด้านความกังวลใจของบุคคลในครอบครัว ร้อยละ 75.0 และการดำเนินชีวิตประจำวัน ร้อยละ 75.0 ถึงแม้ภาครัฐจะเข้ามาดูแลและมีมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยแก่ประชาชน แต่ส่วนใหญ่คิดเห็นว่ายังไม่เพียงพอถึง ร้อยละ 64.1 บางส่วนคิดว่าเพียงพอ แต่ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ร้อยละ 28.1 นอกจากการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยแล้ว ทางภาครัฐยังสร้างขวัญและกำลังใจในพื้นที่โดยการจัดสรรเงินตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยให้แก่บุคลากร แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากรได้ เพราะส่วนใหญ่คิดว่าไม่มั่นใจที่จะได้รับค่าตอบแทนและเงินสวัสดิการตามที่แจ้ง ร้อยละ 48.4 ซึ่งบุคลากรบางส่วนคิดเห็นว่าเหมาะสมแล้ว ร้อยละ 26.6 สำหรับผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพ พบว่า มีผลทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้มารับบริการ โดยส่วนใหญ่คิดว่า คุณภาพการให้บริการเหมือนเดิม ร้อยละ 62.5 มีบางส่วนคิดว่าคุณภาพต่ำลง ร้อยละ 29.7 สืบเนื่องมาจากกิจกรรมบางอย่างที่เป็นเชิงรุกและอยู่ในแผนปฏิบัติงานต้องมีการยกเลิก เนื่องมาจากความไม่ปลอดภัยในชีวิต และบุคลากรบางส่วนมีการย้ายออก ทำให้โรงพยาบาลบางแห่งขาดบุคลากรในการทำงาน จากจุดนี้ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้มารับบริการด้วย ทำให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ ตามมา ทำให้ประชาชนได้รับบริการไม่ทั่วถึงจากการขาดแคลนบุคลากร ร้อยละ 50.0 การเข้าถึงบริการของประชาชนจะลดลง สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเวลาเปิด-ปิดการให้บริการ ร้อยละ 42.2 ประชาชนขาดการเอาใจใส่ต่อการมารับบริการด้านสาธารณสุขหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ร้อยละ 34.4 และมีการปรับลดกิจกรรมการให้บริการบางอย่าง ร้อยละ 31.3 เมื่อศึกษาถึงความต้องการที่จะอยู่ปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของบุคลากร พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่จะปฏิบัติงานต่อ ร้อยละ 71.9 สืบเนื่องมาจากมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในพื้นที่ มีเพียงบางส่วนที่มีความต้องการย้ายหรือออกนอกพื้นที่ ร้อยละ 23.4 เหตุผลส่วนใหญ่มาจากเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ แต่ทั้งนี้ถ้าเหตุการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นก็อาจเป็นเหตุผลในการตัดสินใจใหม่ได้ ซึ่งรัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้ดีขึ้น ส่วนใหญ่ต้องการให้ทางภาครัฐเข้ามาแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ในหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านความมั่นคงปลอดภัย ร้อยละ 87.5 ด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 81.3 ด้านการศึกษา ร้อยละ 75.0 ด้านสังคม ร้อยละ 68.8 และด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ร้อยละ 68.8 จะเห็นได้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อระบบสุขภาพ ฉะนั้นทางภาครัฐควรเร่งแก้ปัญหาความไม่สงบสุขให้กลับมาเป็นปกติสุขเหมือนเดิม เพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น ซึ่งในขณะที่ยังอยู่ในระหว่างการแก้ปัญหานี้ควรสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรและประชาชนในพื้นที่ได้รับอย่างพอเพียงและเหมาะสมต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectPharmacy Service, Hospitalen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectเภสัชกรรมของโรงพยาบาล, การบริการen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการศึกษาผลกระทบต่อการให้บริการของเภสัชกรและการหาแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดการบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeHealthcare system during violent crisis in the three southern border provinces, Thailanden_US
dc.identifier.callnoWA754 ป554ก 2547en_US
dc.identifier.contactno47ค039en_US
dc.subject.keywordบริการของเภสัชกรen_US
dc.subject.keywordบริการสุขภาพen_US
.custom.citationปาริฉัตร อุทัยพันธ์, Pharichat Uthaiphan, อรุโณทัย เดอรามันห์, เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล, สลิล กาจกำแหง, Arunothai Deraman, Benchawan Phuntananiwatkul and Salin Khatkhamhaeng. "การศึกษาผลกระทบต่อการให้บริการของเภสัชกรและการหาแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดการบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1225">http://hdl.handle.net/11228/1225</a>.
.custom.total_download42
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1262.pdf
ขนาด: 253.0Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย