แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ระบบโครงสร้างและกลไกในการอนุรักษ์ พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท : มาตรการด้านการเงิน

dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยth_TH
dc.contributor.authorSupasit Pannarunothaien_US
dc.contributor.authorAmpawan Srivilaien_US
dc.contributor.authorอัมพวรรณ ศรีวิไลen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:55Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:31:54Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:55Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:31:54Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.otherhs1228en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1487en_US
dc.descriptionนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ เรื่อง "ระบบโครงสร้างและกลไกในการอนุรักษ์ พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท" วันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๒ กันยายน ๒๕๔๘ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานีth_TH
dc.description.abstractหนึ่งในสาเหตุสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้การพัฒนาภูมิปัญญาสุขภาพไทยต้องขาดช่วงไปเกือบหนึ่งศตวรรษ คือการขาดระบบการศึกษาที่เกื้อหนุนการสืบทอดและพัฒนาองค์ความรู้ให้เหมาะกับยุคสมัย การแพทย์ไทยและการแพทย์พื้นบ้านถูกทอดทิ้งให้สืบทอดเรียนรู้ไปตามยถากรรมอยู่ในภาคประชาชน กฎระเบียบที่รัฐออกมาก็ปิดโอกาสการพัฒนาโดยห้ามนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมไปด้วย การสอบใบประกอบโรคศิลปะที่เน้นแต่การท่องจำตำราได้ทำให้มีแต่หมอกระดาษเกิดขึ้น ส่วนหมอพื้นบ้านก็ถูกกีดกันจนกลายเป็นหมอเถื่อน ความรู้ท้องถิ่นมากมายถูกทอดทิ้งลืมเลือน จนทุกวันนี้เราไม่เข้าใจภูมิปัญญามากพอที่จะใช้พัฒนาต่อยอดได้ แม้ขณะนี้การศึกษาอบรมด้านการแพทย์แผนไทยจะเฟื่องฟูขึ้น มีสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ ๑๑ แห่ง จัดหลักสูตรระดับปริญญาตรีด้านแพทย์แผนไทย และมีหลักสูตรอบรมที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขอีกกว่า ๒๐๐ หลักสูตร แต่ในส่วนของปรัชญา เนื้อหาความรู้ ความสามารถของครู และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างหมอไทยที่มีคุณภาพ หากมองในสายตาผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วยังเห็นว่าอยู่ในอาการ “น่าเป็นห่วง”การศึกษาชิ้นนี้ได้ทบทวนเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาภูมิปัญญาไทย ผลการศึกษาพบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยความเข้าใจเรื่องกระบวนทัศน์มาเป็นพื้นฐาน การพัฒนาภูมิปัญญาสุขภาพไทยโดยใช้ความรู้และเทคโนโลยียุคใหม่ที่ตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ที่รับรู้ความจริงแตกต่างจากอดีตมาก ในด้านหนึ่งก็มีประโยชน์ช่วยให้เกิดความชัดเจนแม่นยำมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ละเลยคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สัมพันธ์อยู่กับความเชื่อ ความศรัทธา และวิถีของชุมชนไป การพัฒนาระบบการศึกษาการแพทย์จีนและแพทย์อายุรเวทให้มีมาตรฐานชัดเจนขึ้นแสดงให้เห็นแล้วว่าได้ลดความหลากหลายของภูมิปัญญานั้นลง การศึกษานี้เสนอแนวคิดหลัก ๕ ประการ เพื่อจัดระบบการศึกษาภูมิปัญญาสุขภาพไทยเพื่อความเป็นไท ประกอบด้วยต้องทำความเข้าใจกับความแตกต่างของกระบวนทัศน์ที่เป็นพื้นฐานในการรับรู้ความจริงของภูมิปัญญาสุขภาพไทยและกระบวนทัศน์ชีวการแพทย์ที่ใช้ในปัจจุบันต้องเร่งรวบรวมและทำความเข้าใจความรู้เดิม พร้อมทั้งสร้างความรู้ใหม่ก่อนที่จะหมดไปต้องพัฒนาสู่ความหลากหลายเพื่อคงสถานะของการเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ดูแลสุขภาพต้องพัฒนาภายใต้อัตลักษณ์ (Identity) และความภาคภูมิ (Dignity) ในความเป็นไทยต้องพัฒนาควบคู่ไปกับคุณธรรมและหลักศาสนธรรมเพื่อไม่หลุดจากกระบวนทัศน์เดิมการศึกษานี้มีข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการดำเนินงานพัฒนาด้านการศึกษา ดังนี้สร้างกลไกจัดการความรู้และพัฒนาระบบการศึกษาภูมิปัญญาสุขภาพไทย โดยตั้ง “สถาบันสุขภาพวิถีไทย” ซึ่งเป็นองค์กรแนวใหม่ที่จะเป็นกลไกสร้างความรู้ สร้างคน และชุมชนวิชาการ ผ่านการให้ทุนศึกษาวิจัยและทำงานประสานงานกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องสร้างเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันที่เปิดหลักสูตรการแพทย์แผนไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ช่วยเหลือ และพัฒนาไปด้วยกันในทุกขั้นตอนของการจัดการศึกษา รวมทั้งสร้างเงื่อนไขให้การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเป็นไปเพื่อความเข้าใจในปรัชญา กระบวนทัศน์ และองค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นยิ่งๆ ขึ้นสนับสนุนการสร้างต้นแบบการจัดการศึกษาภาคประชาชน โดยสนับสนุนองค์ความรู้ และทุนวิจัยเชิงปฏิบัติการ ให้ชุมชนพัฒนารูปแบบการสืบสานภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นตน พร้อมทั้งสร้างเงื่อนไขให้เกิดเครือข่ายการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นด้วยพัฒนาศูนย์บริการสุขภาพภูมิปัญญาไทยขึ้นในหลายรูปแบบ เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อ ให้ความรู้และสร้างการยอมรับกับคนทุกกลุ่ม ใช้เป็นแหล่งฝึกงานที่มีคุณภาพของนักศึกษา พร้อมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ยุทธศาสตร์นี้ดำเนินการได้ทันที โดยตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดตั้งสถาบันฯ ขึ้นก่อน เพื่อนำผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันคิดและผลักดัน โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นชุดเลขานุการดำเนินงาน ใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุนที่มีอยู่แล้ว เช่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้น มาทำโครงการนำร่องก่อนจนกว่าจัดตั้งสถาบันฯ เสร็จth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAlternative Medicine--Thailanden_US
dc.subjectMedicine, Traditional--Thailanden_US
dc.subjectMedicine, Herbalen_US
dc.subjectการแพทย์ทางเลือกen_US
dc.subjectการแพทย์แผนโบราณen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectการแพทย์แผนไทยth_TH
dc.titleระบบโครงสร้างและกลไกในการอนุรักษ์ พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท : มาตรการด้านการเงินth_TH
dc.title.alternativeStructure and mechanism to conserve, develop and protect local wisdom and health : Financial measureen_US
dc.identifier.callnoWB925 ศ735ร 2548en_US
dc.identifier.contactno48ค029en_US
.custom.citationศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, Supasit Pannarunothai, Ampawan Srivilai and อัมพวรรณ ศรีวิไล. "ระบบโครงสร้างและกลไกในการอนุรักษ์ พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท : มาตรการด้านการเงิน." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1487">http://hdl.handle.net/11228/1487</a>.
.custom.total_download38
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1228.pdf
ขนาด: 476.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย