แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

โครงการศึกษาสภาพการณ์ที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพของชุมชนอันเนื่องมาจากโครงการขนาดใหญ่

dc.contributor.authorแมน ปุโรทกานนท์th_TH
dc.contributor.authorMaen Purotakanonen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:13Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:31:34Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:13Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:31:34Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1086en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1526en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก : รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาสภาพการณ์ที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพของชุมชนอันเนื่องมาจากโครงการขนาดใหญ่en_US
dc.description.abstractรายงานฉบับนี้เป็นบันทึกการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาวะสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รายรอบเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้น โดยที่มิได้มีการศึกษาและคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่อย่างรอบคอบเท่าที่ควร พื้นที่ทามเป็นระบบนิเวศสำคัญที่มีลักษณะเฉพาะตัวของลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำสาขา มีความหลากหลายทางชีวภาพและมีระบบนิเวศที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของชาวบ้านที่อยู่รายรอบได้ใช้อาศัยประโยชน์ในการดำรงชีพ ทั้งการผลิตอาหาร ทั้งที่เป็นการปลูกข้าวเหนียวเพื่อบริโภค การปลูกพืชไร่และพืชสวนเพื่อการพาณิชย์ รวมทั้งการเก็บหาของป่า ไม้เพื่อที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ในการอุปโภคและยารักษาโรคพื้นบ้าน การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์พื้นที่ทามในรูปแบบต่างๆ ทำให้ภาวะสมดุลตามธรรมชาติของระบบนิเวศของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแบบเดิมของชุมชนที่อยู่รายรอบพื้นที่ ทำให้กลุ่มต่างๆในชุมชนที่เคยพึ่งพิงทรัพยากรทามนี้ต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต ทั้งในแง่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ต้องทำนา เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่บางส่วนมีน้ำท่วมและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทามลดลง การประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรมากขึ้น ตลอดจนการทำงานนอกชุมชนเพื่อหารายที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในแง่ของเวลาการอพยพออกนอกพื้นที่ จำนวนคนและช่วงอายุของคนที่ออกไปทำงานนอกชุมชนที่ปัจจุบันรวมเอากลุ่มคนในวัยชราที่ครั้งหนึ่งเคยออกไปทำงานนอกพื้นที่มาแล้ว โดยที่กลุ่มเหล่านี้ขาดความพร้อมในด้านร่างกายและจิตใจที่จะผจญกับการทำงานหนักและตรากตรำการทำงานนอกชุมชนของกลุ่มเหล่านี้อาจเริ่มมาก่อนหน้านี้แล้ว เสมือนเป็นทางเลือกของครอบครัวในภูมิภาคนี้เพื่อที่จะหารายได้เพิ่มจากการทำงานรูปแบบต่างๆ แต่ที่ผ่านมาครัวเรือนในเขตพื้นที่ทามลุ่มน้ำมูลนี้มีฐานทรัพยากรทามเป็นเสมือนแหล่งพักพิงเมื่อยามที่การผลิตข้าวในนาทาม การเก็บหาของป่า การทำเกลือและการหาปลายังสามารถตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตเมื่อยามต้องหวนคืนชุมชนเพื่อพักจากการทำงานหารายได้ที่หนักหน่วง แต่เมื่อฐานทรัพยากรเปลี่ยนแปลงไปทั้งจากการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ การจัดการที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ ทางเลือกในการดำเนินชีวิตของผู้คนในพื้นที่ก็หดแคบลง การออกไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่เป็นทางออกทางเดียวที่เหลือ ในขณะที่ตนเองขาดความพร้อมและการเตรียมการ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆมากขึ้น ทั้งความเสี่ยงในการประกอบอาชีพและความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการทำงานโดยตรงหรือจากผลที่ต่อเนื่องจากการทำงาน เช่น การสัมผัสและสูดดมสารเคมีในระหว่างการผลิตหนัง การแพ้ฝุ่นละอองในการทอและเย็บผ้า อาการบาดเจ็บหรือทุพลภาพจากการทำงานก่อสร้างหรือทำงานในโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งสภาพจิตใจที่ถูกกดดันจากการทำงานหนักด้วยการใช้สารกระตุ้นของกลุ่มที่รับจ้างตัดอ้อย ขุดมัน หาบเกลือ หรือแม้แต่การอยู่อาศัยในสภาพที่แออัดและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมของกลุ่มที่ค้าขายหาบเร่และขับแท็กซี่ การเกิดผลทางสุขภาพเหล่านี้มีทั้งกรณีที่ไม่รุนแรงจนกระทั่งรุนแรงและเป็นสาเหตุของปัญหาทางสังคมอื่นๆต่อไปด้วย การศึกษาครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ทั้งผู้ที่ได้รับผลโดยตรง กลุ่มที่เรียกร้องการชดเชยจากหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทางด้านส่งเสริมสุขภาพและเจ้าหน้าที่องค์กรเอกชนที่สนับสนุนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบเพื่อให้มีการศึกษาทั้งในสายตาและทัศนคติของคนในและความรู้และมุมมองของคนนอกเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา แนวทางการปรับปรุงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่เพื่อให้ผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของคนกลุ่มเหล่านี้ให้มีสภาพดีขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะทำให้เกิดการวิเคราะห์และทำความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีส่วนร่วมมากที่สุด รวมทั้งการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง การระดมความรู้ ความร่วมมือของหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ เพื่อให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงสภาพการณ์ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงและมีความต่อเนื่องมั่นคงมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันเครือข่ายพัฒนาการส่งเสริมวิจัยระดับพื้นที่ภาคอีสาน (สวรส.อ)en_US
dc.format.extent2492598 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectEnvironmental Healthen_US
dc.subjectEnvironmental Pollutionen_US
dc.subjectHealth Statusen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectมลพิษทางน้ำen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleโครงการศึกษาสภาพการณ์ที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพของชุมชนอันเนื่องมาจากโครงการขนาดใหญ่th_TH
dc.title.alternativeThe study on impact of Mega-development project on the health status of local communities in Rasri Salai flood plain areaen_US
dc.description.abstractalternativeThe Evaluation Report of Phu Luang Rural Revitalization and Conservation Project is the record of the effort to bring the integration of conservation and development concept into practice. The objective of the project is to reduce and slow down the loss of biodiversity in Phu Luang complex, which is one of the most important ecosystem areas in the country with unique wildlife species and spectacular sceneries for tourism. The integration of conservation and development is the concept accepted and widely spread around the world with objective to reduce the degradation of natural resources by offering the chance to improve the socio-economic situation of the people living around the protected area. This is implemented with the belief that if living situation of people around the protected area is improved, with so many alternatives in their development, people will recognize the importance of natural resources and the need for resource management. This practice will hopefully enable local people to participate in a more community based natural resources management and exploitation of the resources in a more sustainable approaches.Lessons learned from four protected areas applied the ICDP during 1993-94, found out that the concept was implemented with both success and failure. There were two considerable success factors. The first one is ‘trust and ownership’ among people using and managing the resources. This factor is crucial to build the sense of conservation concept to these direct stakeholders. The second factor is the administration and management of the project, whether it is effective in term of its flexibility to facilitate the diverse development activities which give appropriate responses to the need of the local communities. At the same time, the project should be able to coordinate and liaise with local organizations, both governmental and non-governmental, and people organizations to work together to support conservation initiatives in order to extend its impact to the positive change of natural resources.The evaluation of the development work under the ICDP concept of Phu Luang Rural Revitalization and Conservation Project, after more than two year-operation, came out with positive potentials, but still not comprehensive enough to cover various issues and stakeholders. However, the project has brought the new perspective of local initiations into recognition. Thus in the remaining time of the project, it is imperative to encourage local’s effort and broaden its impact by transferring the mandate to do development work to Local People Organizations and their networks. The staff of the project has to adjust their roles from implementers of the project’s activities to the supporters or facilitators and network with local organizations to work together for sustainable conservation and development in a more sustainable way.en_US
dc.identifier.callnoWA754 ม879ค [2546]en_US
dc.identifier.contactno45ค016en_US
dc.subject.keywordEnvironmental Impact Assessmenten_US
dc.subject.keywordRasri Salaien_US
dc.subject.keywordเขื่อนราษีไศลen_US
dc.subject.keywordโครงการโขง ชี มูล ระยะที่ 1en_US
.custom.citationแมน ปุโรทกานนท์ and Maen Purotakanon. "โครงการศึกษาสภาพการณ์ที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพของชุมชนอันเนื่องมาจากโครงการขนาดใหญ่." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1526">http://hdl.handle.net/11228/1526</a>.
.custom.total_download78
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1086.pdf
ขนาด: 2.049Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย