Show simple item record

Research conceptualization in genders, sexualities and AIDS studies

dc.contributor.authorกฤตยา อาชวนิจกุลth_TH
dc.contributor.authorKritaya Archavanitkulen_US
dc.contributor.authorกนกวรรณ ธราวรรณth_TH
dc.contributor.authorKanokwan Tharawanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:15Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:31:49Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:15Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:31:49Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.otherhs1217th_TH
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1533en_US
dc.description.abstractรายงานวิจัยนี้ วิเคราะห์วิธีคิดวิทยาที่อยู่เบื้องหลังงานวิจัยทางสังคมศาสตร์เรื่องเพศภาวะและเพศวิถีกับเอดส์ กระบวนทัศน์ (paradigm) ของการทำงานชิ้นนี้คือ การวิเคราะห์วาทกรรมและภาษาในงานวิจัยผ่านมุมมองสตรีนิยม ซึ่งเป็นการรื้อถอนอำนาจที่แฝงอยู่ในการเขียนหรืออำนาจที่แสดงออกผ่านการเขียน จากการวิเคราะห์ฐานคติของงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับเอดส์ที่คัดเลือกมาจำนวน 45 ชิ้น พบว่าส่วนใหญ่ใช้ฐานคติตามสำนักคิดปฏิฐานนิยม จำนวนงานวิจัยที่ใช้ฐานคติแบบตีความนิยม และวิพากษ์นิยมมีค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์งานวิจัยทั้งหมดได้สะท้อนความแตกต่างของ ‘วิธีคิดวิทยา’ (research conceptualization) ที่อยู่เบื้องหลังฐานคติของแต่ละสำนักคิดในการกำหนดเป้าหมายงานวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล การตีความหมายปรากฏการณ์ที่ศึกษา และการเชื่อมโยง (หรือไม่เชื่อมโยง) ของข้อค้นพบกับข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย ในการวิเคราะห์วาทกรรม ผู้วิจัยได้ถอดรหัสวิธีคิดของงานเขียนที่เกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีกับเอดส์ศึกษา 3 ชุดความคิดคือ (1) การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสาเหตุที่ทำให้การแสดงออกทางเพศของคนเปลี่ยนแปลงไป (2) พฤติกรรมทางเพศว่าด้วยเรื่องเอดส์เป็นพฤติกรรมทางเพศระหว่างชายและหญิง ซึ่งเป็นการผลิตซ้ำความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ทางเพศ “ที่ถูกต้อง” คือสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างชายหญิงเท่านั้น และ (3) การสันนิษฐานไว้ก่อนว่าคนที่อยู่ใน “กลุ่มเดียวกัน” ย่อมมีพฤติกรรมเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘กลุ่มเสี่ยง’สำหรับการวิเคราะห์ภาษาเพื่อชี้ให้เห็นว่า ภาษาเขียน ที่ใช้ในงานวิจัยเอดส์มีอำนาจในตัวของมันเอง เพราะสามารถตอกย้ำและผลิตซ้ำชุดความคิดใดความคิดหนึ่งได้ หรือสามารถรื้อให้เห็นรากเหง้าที่มาของชุดความคิดใดความคิดหนึ่งได้เช่นกัน คำต่อไปนี้คือ ‘การแต่งงาน’ ‘เพศสัมพันธ์ก่อนสมรสหรือก่อนวัยอันควร’ ‘การรักนวลสงวนตัว’ ‘พฤติกรรมเสี่ยง’ ‘กลุ่มเสี่ยง’ และ ‘สำส่อน’ ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาให้เห็นถึงอำนาจในการเขียน (narrative authority) ของนักวิจัย แนวคิดทฤษฎีที่นักวิจัยใช้จะเป็นตัวที่สะท้อนชัดมากกว่างานวิจัยชิ้นนั้นๆ วางตำแหน่งของกลุ่มที่ไปศึกษาไว้อย่างไร มองความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับผู้ที่ถูกศึกษาอย่างไร และที่สำคัญคือมีลักษณะการผลิตซ้ำหรือว่าต่อรองอำนาจทางความรู้ของสถาบันใด ผู้วิจัยได้วิพากษ์สรุปรวมการถอดรหัสความรู้ความจริงในมิติสำคัญๆ ของเรื่องเพศในเอดส์ศึกษาของไทย 5 ประเด็นคือ (1) เมื่อคำว่า ‘รักนวลสงวนตัว’ ถูกผลิตซ้ำและตอกย้ำว่าคืออุดมการณ์สำหรับ ‘ผู้หญิงดี’ ในสังคมไทย (2) อคติที่แฝงฝังอยู่กับคำว่า ‘เพศสัมพันธ์ก่อนสมรส’ (3) มายาคติเรื่อง ‘กลุ่มเสี่ยง’ (4) การสถาปนาสมการความเชื่อเรื่องถุงยางอนามัยว่าของคู่กันของชายนักเที่ยวกับหญิงบริการ และ (5) ความล้มเหลวของการพยายามสร้างความรู้ใหม่จากความรู้เดิมโดยการวิจัยแบบ KAP Survey มุมมองใหม่ในการวางนโยบายการวิจัยเรื่องเพศกับเอดส์ที่เสนอคือ (1) ให้พุ่งความสนใจไปที่การวางแนวทางการศึกษาเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมทางเพศแบบที่นำไปสู่การติดเชื้อ โดยการวิจัยควรเริ่มที่จุดยืนแน่ชัดว่ากลุ่มบุคคลที่ศึกษาไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามมีทางเลือกในชีวิตมากน้อยเพียงใดที่จะทำให้เขามีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่นำไปสู่การติดเชื้อเอชไอวี บริบทในชีวิตแบบใดทำให้คนแต่ละคนต้องตกไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยง (2) มิติใหม่ในการวิจัยเกี่ยวกับถุงยางอนามัย 2 มิติ คือ วัฒนธรรมทางกามารมณ์แบบไทยๆ กับการใช้ถุงยางอนามัย และการวิจัยสำรวจที่สามารถเชื่อมต่อภาพอัตราความชุกของการใช้ถุงยางอนามัยกับอัตราการของการคงใช้ถุงยางอนามัย และ (3) การวิจัยเรื่องเพศกับเอดส์ที่สังคมไทยยังขาดแคลนความรู้ความจริงและความเข้าใจ ได้แก่ ในกลุ่มประชากรต่อไปนี้ กลุ่มผู้ชายแปลงเพศ หญิงรักหญิง กลุ่มรักสองเพศ (bisexuality) ในมิติเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิงกับความเสี่ยงของผู้หญิงในการติดเชื้อ การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงบริการกับความเสี่ยงของผู้หญิงบริการในการติดเชื้อ บริบทชีวิตของแรงงานข้ามชาติกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และในมิติที่ยังไม่เคยมีการศึกษาคือ เรื่องของเพศภาวะและเพศวิถีในโลกเสมือนจริง (cyber genders and sexualities)th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.description.sponsorshipสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรคen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยประชากรและสังคมen_US
dc.subjectHealth Behavioren_US
dc.subjectAcquired Immunodeficiency Syndromeen_US
dc.subjectResearchen_US
dc.subjectSex--methodsen_US
dc.subjectพฤติกรรมทางเพศen_US
dc.subjectกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมen_US
dc.subjectวิจัยen_US
dc.subjectเพศ--วิธีวิทยาen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectวิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research)th_TH
dc.titleวิเคราะห์วิธีคิดวิทยาในงานวิจัยเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีกับเอดส์ศึกษาth_TH
dc.title.alternativeResearch conceptualization in genders, sexualities and AIDS studiesen_US
dc.identifier.callnoWC503 ก276ว 2548en_US
dc.identifier.contactno47ค019en_US
dc.subject.keywordResearch Conceptualizationen_US
dc.subject.keywordGendersen_US
dc.subject.keywordSexualitiesen_US
dc.subject.keywordAIDSen_US
dc.subject.keywordวิธิคิดวิทยาen_US
dc.subject.keywordเพศภาวะen_US
dc.subject.keywordเพศวิถีen_US
dc.subject.keywordเอดส์ศึกษาen_US
.custom.citationกฤตยา อาชวนิจกุล, Kritaya Archavanitkul, กนกวรรณ ธราวรรณ and Kanokwan Tharawan. "วิเคราะห์วิธีคิดวิทยาในงานวิจัยเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีกับเอดส์ศึกษา." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1533">http://hdl.handle.net/11228/1533</a>.
.custom.total_download289
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs1217.pdf
Size: 1.839Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record