Show simple item record

Report of the 2002 household socio-economic survey

dc.contributor.authorจิตปราณี วาศวิทth_TH
dc.contributor.authorChipanee Wasawiten_US
dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลth_TH
dc.contributor.authorกัญจนา ติษยาธิคมth_TH
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorอาทิตยา เทียมไพรวัลย์th_TH
dc.contributor.authorWalaiporn Phacharanarumolen_US
dc.contributor.authorKhanchana Tisayaatikhomen_US
dc.contributor.authorWiroj Tangcharoesathienen_US
dc.contributor.authorAtitaya Thiemphaiwanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:21Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:34:09Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:21Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:34:09Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1104en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1547en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก : รายงานผลการสำรวจภายหลังการแจงนับการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2545th_TH
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่า วิธีการจัดเก็บข้อมูลจากครัวเรือน โดยการสัมภาษณ์จากสมาชิกคนใดคนหนึ่งของครัวเรือน เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน (Proxy respondent) จะมีความแตกต่างจากการสัมภาษณ์ข้อมูลจากเจ้าตัวโดยตรงทุกคน หรือไม่ เพียงใด การศึกษานี้ดำเนินการเป็น 2 ช่วง ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2545 และเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2545 โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ใช้ครัวเรือนตัวอย่างชุดเดียวกับในโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2545 แต่เลือกตัวอย่างบางส่วนใน 29 จังหวัด ทั่วประเทศ การเก็บข้อมูลช่วงแรก (วิธีที่ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเก็บข้อมูลของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กับสำนักงานสถิติแห่งชาติ การเก็บข้อมูลช่วงที่สอง (วิธีที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ 3 วิธีที่ต่างกันของ IHPP โดยพนักงานสัมภาษณ์ของ IHPP ผลการศึกษาการสำรวจซ้ำ ในวิธีที่ 1 พบว่า กรณีคนไข้นอก มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ในการรายงานการป่วยในเดือนที่แล้ว ระหว่างการสำรวจ ของ สสช. และ IHPP สสช. รายงานว่า สมาชิกครัวเรือน ร้อยละ 12.44 มีอาการป่วยหรือรู้สึกไม่สบายในเดือนที่แล้ว จำนวนครั้งที่ป่วยโดยเฉลี่ย 1.2 ครั้ง/คนที่รายงานว่าป่วย คิดอัตราป่วยได้ 1.789 ครั้ง/คน/ปี ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อครั้ง 448 บาท ในขณะที่ ผลของ IHPP พบว่า สมาชิกครัวเรือน ร้อยละ 39.66 (คิดเป็น 3.19 เท่าของ สสช.) รายงานว่าป่วยในเดือนที่แล้ว โดยป่วยเฉลี่ย 1.32 ครั้ง/คนที่ป่วย คิดอัตราป่วยได้ 6.303 ครั้ง/คน/ปี (คิดเป็น 3.52 เท่า ของสสช.) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อครั้ง 168 บาท คิดเป็นร้อยละ 37 ของ สสช. เมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า ความแตกต่างของการรายงานอัตราการป่วยของครัวเรือนนอกเขตเทศบาล มีมากกว่าครัวเรือนในเขตเทศบาลสำหรับการรายงานการป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นคนไข้ใน มีคาบเวลาอ้างอิงตรงกับ สสช. คือ ในระหว่าง 12 เดือนที่ผ่านมา สสช. รายงานว่า มีผู้ป่วยคนไข้ในร้อยละ 5.28 อัตราป่วย 0.066 ครั้ง/คน/ปี แต่ผลการสำรวจซ้ำของ IHPP พบว่า มีผู้ป่วยคนไข้ในสูงถึงร้อยละ 10.43 (คิดเป็น 1.98 เท่า ของสสช.) มีอัตราป่วย 0.143 ครั้ง/คน/ปี สูงกว่า ผลการสำรวจของ สสช. 2.17 เท่า ความแตกต่างของการรายงานอัตราป่วยของครัวเรือนนอกเขตเทศบาล สูงกว่าครัวเรือนในเขตเทศบาล สำหรับการรายงานจำนวนวันนอนเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ 5 - 6 วัน ในการรักษาครั้งสุดท้าย และ 4 วัน ในการรักษาครั้งก่อนครั้งสุดท้าย แต่ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย จากการสำรวจซ้ำพบว่า ต่ำกว่าการสำรวจของ สสช. กล่าวคือ ครั้งสุดท้ายคิดเป็นร้อยละ 49 ของ สสช. และครั้งก่อนครั้งสุดท้าย คิดเป็นร้อยละ 85 ของ สสช.เมื่อพิจารณาจำแนกครัวเรือนตามลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับรายได้และระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน พบว่า ไม่มีความแตกต่างในการรายงานอัตราการเจ็บป่วยมากนักในระหว่างครัวเรือนกลุ่มต่างๆ ทั้งกรณีคนไข้นอกและคนไข้ใน ในการสำรวจของ สสช. และ IHPP แต่มีความแตกต่างระหว่างการสำรวจ 2 ครั้ง กล่าวคือ IHPP สำรวจได้อัตราการป่วยคนไข้นอกสูงกว่าของ สสช. ประมาณ 3 – 4 เท่า ส่วนกรณีคนไข้ในสูงกว่าประมาณ 2 เท่า ครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้น้อยและหัวหน้าครัวเรือนที่มีการศึกษาในระดับต่ำมีความแตกต่างของการรายงานอัตราการเจ็บป่วยระหว่างการสำรวจทั้งสองสูงกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่นโดยสรุป ผลการสำรวจซ้ำของ IHPP ได้อัตราการป่วยสูงกว่า สสช. แต่ค่ารักษาพยาบาลต่ำกว่า สสช. ทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และเมื่อทำการทดสอบค่าความแตกต่างทางสถิติของค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งสองชุด พบว่า การรายงานจำนวนครั้งของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของข้อมูลทั้งสองชุดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่ารักษาพยาบาลไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ระหว่างผลการสัมภาษณ์ของ สสช. และ IHPP โดยใช้อัตราการใช้บริการในสถานพยาบาลต่อคนต่อปี และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อครั้งมาคำนวณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ของประชากรทั้งสิ้นในประเทศต่อปี (PQ Approach) พบว่า ผลการสำรวจของ สสช. คำนวณได้ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 46,773 ล้านบาท ในขณะที่ผลการสำรวจของ IHPP คำนวณได้ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 72,523 ล้านบาท คิดเป็น 1.55 เท่า ของ สสช. ผลการสำรวจซ้ำ โดยวิธีที่ 2 เพื่อทดสอบผลการสัมภาษณ์ 3 แบบ ของ IHPP คือ1. Full proxy respondent โดยให้หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้ที่รู้ข้อมูลดีที่สุด รายงานการเจ็บป่วยและรายจ่ายแทนสมาชิกทุกคนในครัวเรือน 2. Real life situation โดยสัมภาษณ์สมาชิกทุกคนที่มีอายุ 15-60 ปีที่อยู่ในครัวเรือน ณ วันสัมภาษณ์ และให้หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้ที่รู้ดีที่สุดให้ข้อมูลการเจ็บป่วยและรายจ่ายแทนสมาชิกที่ไม่อยู่ในครัวเรือน ณ วันสัมภาษณ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี3. Self reporting respondent โดยสัมภาษณ์สมาชิกทุกคนที่มีอายุ 15-60 ปี ถ้าไม่พบ ให้นัดหมายและเข้าสัมภาษณ์ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ในครั้งที่ 3 หากยังไม่พบสมาชิกผู้นั้น จึงยอมให้สัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้ที่รู้ดีที่สุดแทนสมาชิกนั้นๆ ได้ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้ที่รู้ข้อมูลดีที่สุดเป็นผู้ให้ข้อมูลพบว่า ในกรณีคนไข้นอก การรายงานการเจ็บป่วยของสมาชิกครัวเรือนทั้ง 3 แบบ อยู่ระหว่างร้อยละ 42 - 46 อัตราการป่วยอยู่ระหว่าง 6.766 – 7.383 ครั้งต่อคนต่อปี และแบบแผนการใช้บริการในการรักษาพยาบาลตลอดจนค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อครั้ง ไม่แตกต่างกันมากนัก ในการสัมภาษณ์ แบบที่ 1 และ 2 แต่ การสัมภาษณ์แบบที่ 3 แสดงอัตราการป่วย สูงกว่าการสัมภาษณ์ 2 แบบที่กล่าวมาแล้ว ประมาณร้อยละ 9 และ ร้อยละ 8 ตามลำดับ แต่ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อครั้งลดลงเล็กน้อย การสัมภาษณ์แบบที่ 3 ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดในกรณีคนไข้ใน การรายงานอัตราการป่วยที่เป็นคนไข้ใน และแบบแผนการเลือกใช้สถานพยาบาลไม่แตกต่างกันมากนัก ในการสัมภาษณ์ทั้ง 3 แบบ แตกต่างกันเฉพาะส่วนของจำนวนวันนอนเฉลี่ยและค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย ซึ่งการสัมภาษณ์จากเจ้าตัวโดยตรง ได้จำนวนวันนอนเฉลี่ยลดลงแต่ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยสูงขึ้น ข้อเสนอแนะ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้อาจนำไปปรับค่ารักษาพยาบาลในส่วนของครัวเรือนที่จ่ายเอง (Out-of-pocket) โดยสามารถกำหนดเป็นช่วงของค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด (Range)คำสำคัญ : การสำรวจครัวเรือนซ้ำด้านสุขภาพ อัตราป่วย การเลือกใช้บริการรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครัวเรือน Correcting factorth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectHealth Expendituresen_US
dc.subjectHealth Care Costsen_US
dc.subjectค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleรายงานผลการสำรวจภายหลังการแจงนับการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2545th_TH
dc.title.alternativeReport of the 2002 household socio-economic surveyen_US
dc.identifier.callnoW74 จ428ร 2547en_US
dc.identifier.contactno45ค017en_US
dc.subject.keywordการสำรวจครัวเรือนซ้ำด้านสุขภาพen_US
dc.subject.keywordอัตราป่วยen_US
dc.subject.keywordการเลือกใช้บริการรักษาพยาบาลen_US
dc.subject.keywordค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครัวเรือนen_US
.custom.citationจิตปราณี วาศวิท, Chipanee Wasawit, วลัยพร พัชรนฤมล, กัญจนา ติษยาธิคม, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, อาทิตยา เทียมไพรวัลย์, Walaiporn Phacharanarumol, Khanchana Tisayaatikhom, Wiroj Tangcharoesathien and Atitaya Thiemphaiwan. "รายงานผลการสำรวจภายหลังการแจงนับการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2545." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1547">http://hdl.handle.net/11228/1547</a>.
.custom.total_download22
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1104.pdf
Size: 480.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record