Show simple item record

The Research and Development of Hypertensive Patient Service System at Health Centers in Phon District, Khon Kaen, Thailand

dc.contributor.authorสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัยen_US
dc.contributor.authorSuwanchai Wattanayingcharoenen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:23Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:31Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:23Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:31Z
dc.date.issued2542en_US
dc.identifier.otherhs0697-1en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1554en_US
dc.description.abstractการวิจัยและพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่สถานีอนามัยตำบล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ เพื่อศึกษาคุณภาพของการให้บริการ ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เหมาะสมกับสถานีอนามัย ดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนปฏิบัติการ ปฏิบัติการ และวิเคราะห์สรุป โดยคัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง (รักษาด้วย Hydrochlorothiazide และ/หรือ Methyldopa) ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลพล สมัครใจรับการรักษาต่อ ณ สถานีอนามัย และโรงพยาบาลแห่งละ 43 คน ในช่วงเดือน เมษายน-กันยายน พ.ศ.2541 ทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีสำรวจคุณลักษณะของกลุ่มผู้ป่วย วัดระดับความดันโลหิต บันทึกการมาตามนัด และค่าใช้จ่ายตลอดการวิจัย แล้ววิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ t-test และ chi-square ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. ลักษณะทั่วไปของผู้ร่วมวิจัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าร้อยละ 70 มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสคู่ และอยู่ด้วยกันเป็นส่วนมาก 2. รูปแบบการให้บริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สถานีอนามัย จากระบบเดิมที่รวมศูนย์การรักษาที่โรงพยาบาล ได้มีการปรับเปลี่ยน โดยผู้ป่วยที่รับการรักษาจนสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ตามหลักเกณฑ์การส่งต่อ จะถูกส่งไปรับบริการที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน และมีการส่งกลับมาโรงพยาบาลเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางภาวะแทรกซ้อน 3. คุณภาพของการให้บริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ด้านการควบคุมระดับความดันโลหิต, ความร่วมมือในการรักษา, ค่าใช้จ่ายเมื่อไปรับบริการ และผลข้างเคียงจากการรับประทานยา 4. ความพึงพอใจของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต่อการมารับบริการที่สถานีอนามัย 4.1 จากการสัมภาษณ์ พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการมารับบริการใน 5 ด้าน คือ ความสะดวกที่ได้รับ, อัธยาศัย ความสนใจของเจ้าหน้าที่, สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์, คุณภาพบริการ และค่าใช้จ่าย อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมาก 4.2 จากการสนทนากลุ่ม พบว่า โดยส่วนรวมผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อระบบบริการที่สถานีอนามัย นอกจากนั้น ผู้ป่วยรู้สึกว่าการเดินทางไปรับบริการที่สถานีอนามัยปลอดภัยมากกว่าการมาโรงพยาบาลล ตลอดจนสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ดีข้นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3054391 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHypertensionen_US
dc.subjectPatientsen_US
dc.subjectKhon Kaenen_US
dc.subjectขอนแก่นen_US
dc.titleการวิจัยและพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สถานีอนามัยตำบล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นen_US
dc.title.alternativeThe Research and Development of Hypertensive Patient Service System at Health Centers in Phon District, Khon Kaen, Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeThe research and development of hypertensive patient service system at health centers in Phon district, Khon Kean province This research is a participation action research. The objects of the this study were establish an appropriate service system with effectiveness, efficiency and responsiveness to the needs of the patients and their families. The research was conducted under the action research principle, and divided into 3 phases: preoperational, operational and final analysis phase. Participants were 46 mild to moderate degree of Hypertensive patients (treated by Hydrochlorothiazide or Methyldopa) of the Phone Hospital HT clinic. Implementation and data collection were conducted at the health centers during April-September 1999 by using focus group discussion, in-depth interviews, observation and operational card. Control of blood pressure level, compliance, expenses and satisfaction were used as indicators to compare the service quality between health center and hospital. Chi-square and T-test was used to analyze the quantitative data, and content analysis for the qualitative data.en_US
dc.identifier.callnoWG34 ส869ก 2542en_US
dc.subject.keywordระบบบริการผู้ป่วยen_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยen_US
dc.subject.keywordความดันโลหิตสูงen_US
.custom.citationสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย and Suwanchai Wattanayingcharoen. "การวิจัยและพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สถานีอนามัยตำบล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น." 2542. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1554">http://hdl.handle.net/11228/1554</a>.
.custom.total_download233
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs0697-1.PDF
Size: 3.055Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record