Show simple item record

Outstanding enterprise for operative well-organized health promotion : a case study of the Uniliver Thai Holding Co., Ltd.

dc.contributor.authorทวีวรรณ ลีระพันธ์en_US
dc.contributor.authorThaweewan Leerapanen_US
dc.contributor.authorรวมพร คงกำเนิดen_US
dc.contributor.authorเพ็ญศรี อนันตกุลนธีen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:34Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:34:02Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:34Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:34:02Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0456en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1578en_US
dc.description.abstractการส่งเสริมสุขภาพองค์กรภาคธุรกิจเอกชน: กรณีศึกษาบริษัทยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จำกัด การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายผลงานและกระบวนการดำเนินงานของบริษัทยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่มีผลงานการส่งเสริมสุขภาพดีเด่น โดยเฉพาะโครงการลีเวอร์ปลอดบุหรี่ ตลอดจนอธิบายปัจจัยหรือเงื่อนไขเชิงระบบที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ พร้อมเสนอแนะเชิงนโยบาย ระบบการบริหารจัดการ กลไกหรือโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสถานประกอบการอื่น ๆ หรือองค์กรส่งเสริมสุขภาพทั่วไป โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการสัมภาษณ์ลึกผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติานหน่วยการแพทย์ และเก็บข้อมูลจากเอกสารรายงานต่าง ๆ ของบริษัทมาประกอบด้วย ได้ใช้แนวคิดการวิเคราะห์องค์กรที่เน้นเฉพาะโครงสร้าง ระบบงาน กลยุทธ์ และคน รวมทั้งได้ใช้กฎบัตรออตตาวามาร่วมในการวิเคราะห์อีกด้วย ผลการศึกษามีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) บริษัท ยูนิลีเวอร์ฯ เป็นองค์กรภาคธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ที่เริ่มต้นทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจาก “โครงการลีเวอร์ปลอดบุหรี่” จนประสบผลสำเร็จ และพัฒนาไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ ในการส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น เช่น การรับพนักงานใหม่ที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่อ้วน และมีสุขภาพดี และมีโครงการต่าง ๆ ในการติดตามดูแลสุขภาพพนักงาน 2) ความสำเร็จดังกล่าวในข้อ 1 ได้รับการสนับสนุนตามนโยบายของบริษัทที่เน้นหนักการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาพยาบาล ประกอบกับการที่ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญและความสามารถของหัวหน้าหน่วยแพทย์ในฐานะผู้นำในการปฏิบัติ ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญและเป็นหลักประกันความสำเร็จของการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ 3) กระบวนการดำเนินงานโครงการลีเวอรืปลอดบุหรี่ได้มีการใช้นโยบายเป็นปัจจัยเสริมเป็นระยะ ๆ อย่างได้ผล โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดแย้งทางความคิดและการปฏิบัติของกลุ่มต่อต้านหรือไม่ยอมรับ และการดำเนินการดังกล่าวที่มีจะได้ผลทางปฏิบัตินั้นต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนและให้เวลากับพนักงานในการเรียนรู้ มีส่วนร่วม ปรับตัวและยอมรับ หรือใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของพนักงานในฐานะ “แนวร่วมการรณรงค์” เป็นพลังผลักดัน เพื่อให้เกิดกระแสและสร้างการยอมรับและเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพลังสังคม (Social Force) ที่สำคัญ 4) การดำเนินงานเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ อาจเริ่มต้นจากปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อนโดยไม่มีกรอบหลักเรื่องการส่งเสริมสุขภาพโดยรวม เช่น เริ่มต้นโครงการด้วยความตระหนักต่อพิษภัยบุหรี่ แต่เมื่อได้เรียนรู้ในกระบวนการนั้น ๆ ก็อาจนำไปสู่เรื่องการส่งเสริมสุขภาพอื่น ๆ ได้ 5) ปัจจัยสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของงาน ฯลฯen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2484637 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Promotionen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.titleการส่งเสริมสุขภาพองค์กรภาคธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษาบริษัทยูนิลิเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จำกัดen_US
dc.title.alternativeOutstanding enterprise for operative well-organized health promotion : a case study of the Uniliver Thai Holding Co., Ltd.en_US
dc.description.abstractalternativeOutstanding enterprise for operating well-organized health promotion: a case study of The Unilever Thai Holding Co.Ltd. This study aims to elaborate process and success of an outstanding enterprise for operating well-organized health promotion programs as a case study for other workplaces to develop their health promotion activities. The Unilever Thai Holding Co.Ltd. was selected as a case study for this purpose since it has been well-recognized for the company’s health promotion programs especially its smoking-free policy. Additionally, the study describes the systematic factors and conditions of success including recommends for policy, management, and basic infrastructures that are necessary for all enterprises or their health promotion organizations to setup their own health promotion programs. Qualitative research methodology was used for the study. Most of information gathered from literature review of relevant reports and documents including structured questionnaire a part of program’s participants. The data was analyzed by using organizational analyzed by using organizational analysis that emphasized specially on organizational structure, work system, strategies and personal as well as the Ottwa Charter conceptual framwork for health promotion. The study found that 1. The Unilever Thai Holding Co, Ltd. is a larg-scale enterprise that started its health promotion program from the success of the “Smoking-free Program”. Since, the company has developed other health promotion activities more systematically e.g. acceptation of new comer who is non-smoker, not-fat and health including developed programs to follow-up the workers’ health. 2. The success of the aforementioned was supported by the company’s policy that emphasized on health prevention and promotion rather than curative activities, consisting with the company’s high-level executive has high-level of concern to the medical advisor’s capability as the company practical leader for health. These are important factors and well-guaranteed for success of the company’s health promotion implementation. 3. Implementation of the Unilever’s Smoking-free Program has been enforced successfully by using policy as its supportive factor especially during the period of conflicts between the supportive and negative group of workers. Practical implementation of the program was conducted step by step and allow the workers to learn, participate, adopt to perceive the program. In the other word, the program used the workers’ participation as a strategy to foster the program’s success and use social movement to make change and perception as an important social force. 4. Implementation of any health promotion program can initiate from any activities without framework of health promotion as a whole for example, it can initiate from making awareness of adverse-effect of smoking and then develop to other learning process of other health promotion activities. 5. Building of supportive environment is a crucial factor of success especially the external social movement for smoking-free made good opportunity for change and make less negative pressure to the program as well as get more participation from non-smokers. The company’s internal supportive environment was also important.en_US
dc.identifier.callnoWA540 ท173ก 2541en_US
dc.subject.keywordการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการen_US
dc.subject.keywordองค์กรภาคธุรกิจen_US
dc.subject.keywordเอกชนen_US
dc.subject.keywordบริษัทยูนิลีเวอร์ ไทย โอลดิ้ง จำกัดen_US
dc.subject.keywordโครงการลีเวอร์ปลอดบุหรี่en_US
.custom.citationทวีวรรณ ลีระพันธ์, Thaweewan Leerapan, รวมพร คงกำเนิด and เพ็ญศรี อนันตกุลนธี. "การส่งเสริมสุขภาพองค์กรภาคธุรกิจเอกชน : กรณีศึกษาบริษัทยูนิลิเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จำกัด." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1578">http://hdl.handle.net/11228/1578</a>.
.custom.total_download72
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs0456.pdf
Size: 2.439Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record