Show simple item record

The development of violence research database and the synthesis of research on violence issues in Thai society

dc.contributor.authorนันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorNantaphan Chinlumpraserten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:00Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:37:50Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:00Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:37:50Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs0959en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1644en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยด้านความรุนแรงและจัดวางระบบฐานข้อมูลงานวิจัยด้านนี้ในระบบ World Wide Web งานวิจัยที่ศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524-2544 จำนวน 190 เรื่อง ผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสังเคราะห์โดยใช้หลักการวิจัยด้านความรุนแรงและการวิจัยสุขภาพสตรีเป็นกรอบแนวคิด ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาความรุนแรงในทุกด้าน ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ทำการศึกษาซ้ำเกี่ยวกับปัจจัยและสาเหตุของการใช้ความรุนแรง ขนาดของปัญหา ความคิดเห็น ทัศนคติ ที่มีต่อผู้กระทำความรุนแรงและเหยื่อของความรุนแรง ตลอดจนรูปแบบการดูแลช่วยเหลือ ผลการวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงต่อตนเอง ชี้ให้เห็นว่าอัตราการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มสูงขึ้น กลุ่มวัยรุ่นและผู้หญิงที่ฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มีมูลเหตุมาจากความเครียดที่เกิดจากปัญหาครอบครัว ขาดทักษะในการจัดการกับปัญหาและความเครียด ตลอดจนปัญหาการเข้าถึงแหล่งให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพเมื่อประสบปัญหาวิกฤต ปัญหาการฆ่าตัวตายยังไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไขอย่างจริงจัง ดังนั้น งานวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการและทักษะในการเผชิญปัญหาจึงเป็นสิ่งจำเป็น การวิจัยเกี่ยวกับทารุณกรรมเด็ก พบว่า เด็กเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว ถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เห็นการใช้ความรุนแรง จะพัฒนาเป็นผู้กระทำความรุนแรงต่อไป ปัญหาการทารุณกรรมเด็กในสังคมไทยยังไม่ได้รับความสนใจและตระหนักมากเท่าที่ควร การศึกษาส่วนใหญ่ระบุว่า ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง จึงควรผลักดันด้านกฎหมายให้เด็กได้รับการคุ้มครองจากการทารุณกรรมโดยพ่อแม่ ผู้ปกครองและควรมีระบบและมาตรการที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการปกป้องสิทธิเด็ก สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงในชีวิตคู่ พบว่า แนวโน้มการวิจัยในช่วงปี พ.ศ. 2540-2544 มีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดของความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากรากฐานเรื่องเพศ (Gender based violence) มาตรฐานทางเพศสองระดับและอิทธิพลของระบบวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง แต่การวิจัยในลักษณะนี้ยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับการวิจัยเพื่อค้นหาปัจจัยและสาเหตุของการที่ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรง ตลอดจนผลกระทบต่อเหยื่อความรุนแรงที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดการมองปัญหาความรุนแรงที่ปลายเหตุและไม่ได้เจาะลึกถึงรากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง ผลการวิจัยถูกนำไปใช้ประโยชน์น้อยมากในการผลักดันให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขด้านกฎหมายและระบบการให้บริการ ตลอดจนหามาตรการเพื่อพิทักษ์สิทธิและความปลอดภัยของผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง งานวิจัยด้านนี้จึงควรได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนัก และปรับวิธีคิด การมองปัญหาของสังคมใหม่ เนื่องจากการวิจัยในช่วงแรกเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศมุ่งศึกษากับชายผู้กระทำผิดทางเพศ ดังนั้นผลการวิจัยจึงบ่งชี้ข้อมูลเพียงด้านเดียวเกี่ยวกับการข่มขืนโดยบุคคลอื่น แม้ว่านักวิชาชีพที่ให้การช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศได้ประเมินแล้วพบว่าปัญหาการใช้ความรุนแรงทางเพศนั้นส่วนใหญ่กระทำโดยบุคคลที่รู้จัก แต่การศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับความรุนแรงที่กระทำโดยบุคคลใกล้ชิด สามีและคนรัก ยังมีจำนวนน้อยมากทำให้ขาดข้อมูลหลักฐานยืนยันสถานการณ์ของปัญหาที่แท้จริง ผลการวิจัยหลายเรื่องได้สะท้อนความเชื่อและทัศนคติแฝงของนักวิจัยที่ตอกย้ำระบบวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่ การยอมรับมายาคติและการยอมรับวิธีปฏิบัติตามบทบาทชายหญิงที่อยู่บนมาตรฐานสองระดับในสังคมไทย นอกจากนี้ งานวิจัยหลายเรื่องยังบ่งชี้ให้เห็นข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย การบริการทางการแพทย์และทางสังคมต่อเหยื่อของความรุนแรง ดังนั้นการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพจึงควรได้รับการสนับสนุน สำหรับการวิจัยความรุนแรงในวัยรุ่น พบว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องและขาดความอบอุ่นในครอบครัว ส่วนผลการวิจัยความรุนแรงในสังคมและด้านอื่นๆ บ่งชี้ให้เห็นภาพรวมว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อทั้งผู้หญิงและเด็กนั้นเกิดจากโครงสร้างที่เอื้ออำนวย ข้อจำกัดของกฎหมายหรือข้อปฏิบัติในสังคมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างชอบธรรม ซึ่งเป็นวงจรอุปสรรคต่อการป้องกันแก้ไขและยุติปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย ผู้วิจัยมีความเห็นว่า การศึกษาปัญหาความรุนแรงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นผู้ที่ถูกวิจัยควรได้รับการปกป้องสิทธิและคุ้มครองให้ปลอดภัยจากผลกระทบของการวิจัยต่อสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม การศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า งานวิจัยด้านความรุนแรงในสังคมไทยยังคำนึงถึงประเด็นนี้น้อยมาก จึงควรมีการสร้างจิตสำนึกของนักวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectViolence--Databaseen_US
dc.subjectความรุนแรง--ฐานข้อมูลen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectวิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research)th_TH
dc.subjectความรุนแรงต่อสตรีth_TH
dc.subjectViolenceen_EN
dc.subjectChild Abuseen_EN
dc.titleการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสังเคราะห์งานวิจัยด้านความรุนแรงในสังคมไทยen_US
dc.title.alternativeThe development of violence research database and the synthesis of research on violence issues in Thai societyen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to analyze and synthesize research on violence issues conducted in the last twenty years (1981-2001) and to place the information into the violence research database initiated on the World Wide Web, http://www.violence.au.edu The 190 research papers were reviewed and classified according to WHO violence classification and subsequently analyzed using qualitative data analysis methods. The content analysis was done and the essence of the research was synthesized by applying the concepts of violence research and women’s health research as the frameworks. The results reveal that most of the existing researches are quantitative and repetitive studies on the causes and factors contributing to the violence occurrences. The survey of incidence and prevalence of the issues, and the attitudes toward violence perpetrators and survivors as well as the characteristics of available services or resources are substantial. Self directed violence research was mainly focused on suicide and attempted suicide cases. Stress from unsolved family problems is the major factor contributing to the rising of suicide among teenagers and adult women. These research findings also reveal that the Thai people lack effective coping skills and seek no assistance when facing with crisis. The limitation of available resources is also problematic. The studies on child abuse and neglect found that children who are witness violence or were raised by abusive parents are likely to be abusers. Thai society lack knowledge and awareness toward this issue and have no effective legal system to isolate children from abusive family and concretely protect children’s rights. The research on violence against women in intimate relationships and/or domestic violence especially those were conducted in 1997 to date reveal that researchers have more insight about gender based violence. Nevertheless, the studies affirming the impact of sex role stereotype and gender double standard that is rampant in Thai patriarchal society are very rare although the concepts were mentioned in certain domestic violence studies. The study to develop problem solving solutions, the improvement of resources and legal systems must be sponsored as priority. Sexual violence research is the most prevalent especially on the issues of stranger rapes. The sensitive nature of this issue kept the researcher from studying about acquaintance rape and misled the extent and characteristics of the problems. Although the empirical research reveals that acquaintance rapes are more common in Thai society, the numbers of scientific research in this area are limited. The results of existing research on sexual violence reflect researcher’s rape myth acceptances and bias attitudes toward rape survivors because of the influence of sex role stereotype and gender double standard socialized in Thai patriarchal society. Gender based violence research and the study of empowerment the women to flight against violence must be continuously supported. The research on adolescent violence, social violence and other forms of violence reveal the common root of problems regarding the limitation of appropriate social and legal system in preventing, diminishing and/or eliminating of the violence issues. Beside the research findings, ethical consideration and principle of human subjects protection in violence research should be seriously enforced among research scientists and constantly pronounced by Thai scientific research community.en_US
dc.identifier.callnoHV6001 น421ร 2546en_US
dc.identifier.contactno45ข001en_US
dc.subject.keywordRapeen_US
dc.subject.keywordSuicideen_US
dc.subject.keywordViolence Against Womenen_US
dc.subject.keywordGender Based Violenceen_US
dc.subject.keywordGender Double Standarden_US
dc.subject.keywordฐานข้อมูลen_US
dc.subject.keywordทารุณกรรมเด็กen_US
dc.subject.keywordข่มขืนen_US
dc.subject.keywordครอบครัวen_US
dc.subject.keywordความรุนแรงทางเพศen_US
dc.subject.keywordมาตราฐานทางเพศสองระดับen_US
dc.subject.keywordความรุนแรงen_US
dc.subject.keywordฆ่าตัวตายen_US
.custom.citationนันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ and Nantaphan Chinlumprasert. "การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสังเคราะห์งานวิจัยด้านความรุนแรงในสังคมไทย." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1644">http://hdl.handle.net/11228/1644</a>.
.custom.total_download301
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year18

Fulltext
Icon
Name: hs0959.pdf
Size: 718.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record