Show simple item record

Health and Safety in Social Perspective

dc.contributor.authorมหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งภาควิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:17Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:22Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:17Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:22Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0340en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1682en_US
dc.description.abstractสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานมิติทางสังคมศาสตร์การศึกษาวิจัยเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานของไทยที่ผ่านมานั้น เป็นการศึกษาที่แยกส่วนและลดส่วน การแยกส่วนหมายถึง การแยกปัญหาของร่างกายออกจากจิตใจ และสังคมเป็นปัญหาแต่ละปัญหาไป ทำให้มองไม่เห็นว่าหลาย ๆ ปัญหามีที่มาอันเดียวกัน การศึกษาแบบลดส่วนหมายถึงการเน้นที่สิ่งแวดล้อมและตัวของแรงงานมากกว่าสาเหตุของปัญหาทั้งระบบแบบองค์รวม จึงมองไม่เห็นว่า สุขภาพและความปลอดภัยนั้นเป็นผลผลิตของ สถาบันงาน ซึ่งมีการแบ่งงานและประสานงานกันในการผลิตทำให้เกิดสถานภาพต่าง ๆ และบรรทัดฐานและความสัมพันธ์ทางการผลิตขึ้นมา โครงสร้างและพลวัตรของสถาบันนี้จึงเป็นหัวใจของปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงาน โครงสร้างและความสัมพันธ์ของการผลิตแบบทุนนิยมเลือกที่จะเน้นความชำนาญ เฉพาะทาง มีการแบ่งงานกันทำอย่างละเอียด มีการใช้เทคโนโลยีสายพานการผลิตที่ควบคุมจังหวะการทำงาน มีการทำงานผลัดงานกะ มีการบริหารงานบุคลากรด้วยระบบราชการที่ควบคุมทุกมิติของชีวิตใน สถานประกอบการไม่ว่าจะเป็นการกิน การพักผ่อนการแต่งกาย การรวมกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นต้น ความสัมพันธ์ของการผลิต ผลักดันให้แรงงานกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร ผลที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปัญหากับสุขภาพและความปลอดภัย เช่นทำให้เกิดความเครียด และการปวดเมื่อยจากงานที่ซ้ำซาก และหยุดทำไม่ได้ นำไปสู่อุบัติเหตุ ทำให้เกิดโรคจากการสัมผัสวัตถุดิบนานเกินไป ทำให้เกิดโรค เช่น ฝุ่นฝ้าย ตะกั่ว เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวท่ามกลางฝูงชน ดังนั้น จะเห็นว่าความสัมพันธ์ของการผลิตแบบทุนนิยม กระบวนการผลิตและกระบวนการในการควบคุมแรงงานที่เป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัย วัตถุดิบ เครื่องมือ และตัวแรงงานเองเป็นปัญหารอง เนื่องจากความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เกิดขึ้นในสถาบันงาน เป็นสาเหตุของปัญหา การปรับความสัมพันธ์ทางการผลิตจึงเป็นทางออก ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง เช่น ด้านผู้ประกอบการ ผู้ใช้แรงงานรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ในด้านของตัวแรงงานเองนั้นโดยทางทฤษฎีแล้วสหภาพแรงงานควรจะมีบทบาทใน เรื่องนี้มากที่สุด เพราะว่าเป็นเรื่องความเป็นความตายของเขาเอง แต่สิ่งที่พบก็คือแรงงาน ก็ไม่อาจฝากความหวังในเรื่องนี้กับสหภาพแรงงานได้เพราะว่าสหภาพแรงงานใน ขณะนี้นั้นอ่อนแอ และไม่สนใจในปัญหาสุขภาพและความปลอดภัย วรรณกรรมด้านแรงงานนี้ชี้ชัดว่าสหภาพแรงงานถูกทำให้อ่อนแอลงมิใช่อ่อนแอเอง การทำให้สหภาพแรงงานเข้มแข็งและสนใจในปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยอีกครั้ง จึงเป็นสิ่งจำเป็น การปรับความสัมพันธ์ทางการผลิตโดยการแทรกแซงของรัฐนั้นเป็นสิ่งสำคัญอีก สิ่งหนึ่ง เพราะว่ารัฐเข้ามากำกับและควบคุมการเคลื่อนไหวของแรงงานโดยตลอด เพื่อทำให้แรงงานให้ความร่วมมือในการผลิตมากที่สุด เพื่อเศรษฐกิจจะได้เติบโตซึ่งผิดเป็นการเติบโตซึ่งผลักภาระให้กับแรงงานและสังคม รัฐควรเชื่อว่าแรงงานที่มีฝีมือที่มีความสามารถและที่มีอำนาจต่อรอง อาจนำมาทั้งการเติบโตและสุขภาพของสังคมได้ เพราะไม่เช่นนั้นมาตรการที่รัฐพยายามออกมา เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ กฎหมายความปลอดภัย แต่สิ่งเหล่านี้นอกจากจะไม่ค่อยได้ผลแล้ว ยังเป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการในการทำร้ายแรงงานอีก เช่น การไม่บรรจุคนงานให้เป็นคนงานประจำ เป็นต้น การปรับความสัมพันธ์ทางการผลิตโดยองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคบิสซิโนซิส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงเกือบทั้งหมดนั้น มีการเคลื่อนไหวที่สามารถแปรเปลี่ยนปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนงานแต่ละคนให้เป็น ปัญหาของกลุ่ม แล้วเป็นปัญหาทางกฎหมายและปัญหาการเมือง และนำไปสู่กระแสการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อสร้างบรรทัดฐานในเรื่องสุขภาพและ การทำงานที่สำคัญได้ ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ สถาบันทางสังคมทุกสถาบันจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูป รวมทั้งสถาบันงานนี้ด้วยเพื่อแปรเปลี่ยนงานที่สร้างความมั่งคั่งให้คนกลุ่มเดียว แต่สร้างปัญหาสุขภาพให้กับคนส่วนใหญ่มาเป็นงานที่สร้างความมั่งคั่ง ให้กับ สังคม และคนส่วนใหญ่พร้อมกับให้สุขภาพและการเติบโตของชีวิตที่ดีกับแรงงานด้วยen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent10503464 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectConsumer Product Safetyen_US
dc.subjectPreventive Health Servicesen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.titleสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานมิติทางสังคมศาสตร์en_US
dc.title.alternativeHealth and Safety in Social Perspectiveen_US
dc.identifier.callnoWA20.5 ส241 2541en_US
dc.subject.keywordสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานen_US
dc.subject.keywordมิติทางสังคมศาสตร์en_US
dc.subject.keywordสุขภาพและอนามัยen_US
dc.subject.keywordแรงงานen_US
.custom.citationมหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งภาควิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข. "สุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานมิติทางสังคมศาสตร์." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1682">http://hdl.handle.net/11228/1682</a>.
.custom.total_download147
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs0340.pdf
Size: 10.49Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record