Show simple item record

Buddisht paradigm on health and healing in Thai society

dc.contributor.authorวิชิต เปานิลth_TH
dc.contributor.authorWichit Paunilen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:20Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:02Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:20Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:02Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs0962en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1687en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้สำรวจพระคัมภีร์พื้นฐานในพุทธศาสนาเพื่อดูว่าเมื่อพิจารณาพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นกระบวนทัศน์แล้ว กระบวนทัศน์พุทธศาสนาจะมีหลักการอย่างไร มีความแตกต่างจากกระบวนทัศน์อื่นอย่างไร ภายใต้กระบวนทัศน์นี้มีทัศนะต่อสุขภาพและการรักษาโรคอย่างไร และจะมีความเหมาะสมในการใช้แก้ปัญหาสุขภาพในสังคมไทยได้มากน้อยเพียงใด ในบทแรกนอกจากจะกล่าวถึงความเป็นมา คำถามการวิจัย และขอบเขตการศึกษาแล้ว ยังได้ให้รายละเอียดของระเบียบวิธีวิจัยซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ การศึกษาพระไตรปิฎกและตำราสำคัญๆ ของพุทธศาสนา เพื่อค้นหาหลักการของกระบวนทัศน์พุทธศาสนาและศึกษาทัศนะในด้านสุขภาพของพุทธศาสนา ส่วนที่สองเป็นการศึกษาภาคสนามเพื่อดูว่ากระบวนทัศน์พุทธศาสนาที่พบในคัมภีร์นั้นจะถูกนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงอย่างไร ส่วนบทที่ 2 เริ่มด้วยการทำความเข้าใจในรายละเอียดเรื่องกระบวนทัศน์ว่าคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรในการนำมาทำความเข้าใจปัญหาสุขภาพ และมีความเป็นไปได้เพียงใดในการนำกระบวนทัศน์พุทธศาสนามาเป็นกรอบในการแก้ปัญหาสุขภาพในสังคมไทย จากนั้นในบทที่ 3 ได้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของลัทธิความเชื่อของคนที่อาศัยอยู่ในภาคพื้นสุวรรณภูมิ ตั้งแต่อดีตว่าเริ่มพบว่ามีความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังตาย ตั้งแต่หลักฐานทางโบราณคดีชิ้นแรกๆ ในพื้นที่ต่างๆ จนเมื่อเกิดมีชุมชนหมู่บ้านและเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนที่อยู่ห่างไกล ได้พบหลักฐานว่าตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 8 เริ่มมีการนำความเชื่อทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูนิกายต่างๆ และพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายานอีกหลายลัทธิเข้ามาในพื้นที่ ต่อเมื่อสถาปนาราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้นจึงรับเอาพุทธศาสนาเถรวาทมาเป็นแกนหลักของสังคมไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน ความเชื่อในพุทธศาสนาจึงกลายมาเป็นกรอบพื้นฐานในการทำความเข้าใจโลก ชีวิต และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในสังคมไทยเข้าด้วยกัน เป็นพื้นฐานในการสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ในการปกครอง จัดระบบการศึกษา การดูแลสุขภาพ ช่วยสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ที่แสดงออกร่วมกันในนามวิถีชีวิตและภูมิปัญญาไทยอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อวัฒนธรรมสุขภาพในสังคมไทย ได้แสดงไว้เป็นการเฉพาะในบทที่ 4 โดยชี้ให้เห็นว่าคติความเชื่อของพุทธศาสนาได้ผสมผสานเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับชีวิตและการเจ็บป่วยที่มีอยู่ในแต่ละชุมชนได้อย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องผี เรื่องขวัญ เรื่องโหราศาสตร์ดวงดาวต่างๆ โดยคติของพุทธศาสนาจะได้รับการยกไว้เหนือกว่าความเชื่อเหล่านี้ทั้งปวง แต่ก็ไม่ได้ขัดแย้งกันจนทำให้ความเชื่อดั้งเดิมสูญสิ้นไป ในด้านการดูแลสุขภาพตั้งแต่อดีตพุทธศาสนาได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ โดยมีพระเป็นผู้สืบทอด วัดเป็นสถานที่เก็บตำรายา เป็นแหล่งความรู้ที่ผู้ต้องการจะเป็นหมอต้องไปบวชเรียนศึกษาเอา ความเชื่อในพุทธศาสนาจึงสัมพันธ์อยู่อย่างใกล้กับหมอพื้นบ้านและตำรายาไทย พิธีกรรมและสัญลักษณ์ในพุทธศาสนาก็ถูกนำมาใช้เพื่อสุขภาพด้วย เช่น การสวดพระปริตร สวดโพชฌงค์ สวดภาณยักษ์ การทำบุญสังฆทานสะเดาะเคราะห์ หรือขอพรจากพระพุทธรูป นอกจากนี้หลักการในพุทธศาสนาบางอย่าง เช่น การทำสมาธิ การแผ่เมตตา ยังถูกศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาสุขภาพภายใต้ระบบการแพทย์กระแสหลักด้วย ในบทที่ 5 เป็นการสำรวจข้อมูลในพระไตรปิฎกเพื่อสรุปออกมาเป็นกระบวนทัศน์พื้นฐานของพุทธศาสนา โดยนำเสนอตั้งแต่ประเด็นการรับรู้ต่อโลกและสรรพสิ่งต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากกระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ โดยพุทธศาสนาจะกล่าวถึงโลกนี้ใน 2 ระดับเสมอ คือ ในระดับสมมติสัจจะ คือโลกที่รับรู้กันอยู่ทั่วไป ที่รวมไปถึงเทวดา พรหม และภพภูมิอื่นๆ กับในระดับของปรมัตถสัจจะ ที่จะกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ในฐานะที่เป็นกระแสของเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฎของธรรมชาติล้วนๆ ไม่ได้มีตัวตนของใคร หลักธรรมของพุทธศาสนาจะพูดถึงโลกสมมติเพื่อที่จะโยงเข้าไปสู่โลกปรมัตถ์เป็นหลัก โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การเข้าถึงปรมัตถสัจจะ ซึ่งจะทำให้มีชีวิตที่พ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวงตลอดไป ส่วนในบทที่ 6 เป็นการสำรวจพระไตรปิฎกเพื่อดูว่าพุทธศาสนามองสุขภาพและการรักษาโรคอย่างไร ซึ่งพบว่าขอบเขตความหมายของสุขภาพตามนัยของพุทธศาสนากว้างขวางกว่าที่วงการแพทย์ในปัจจุบันเข้าใจอยู่มาก สุขภาพสมบูรณ์ในความหมายที่กว้างที่สุดของพุทธศาสนา หมายถึงการหมดสิ้นแห่งโรคทั้งปวงไม่ว่าโรคทางกายหรือโรคทางใจ นั่นคือ นิพพาน การหมดสิ้นจากโรคทางกายนี้ไม่ได้หมายความว่าพระอรหันต์จะไม่เจ็บป่วยทางกาย แต่ถึงแม้ท่านจะมีความเจ็บป่วยทางร่างกายแต่ท่านก็จะไม่เกิดทุกข์จากการเจ็บป่วยนั้นเลย พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการปลอดโรคทางใจสูงมาก การดูแลร่างกายเพื่อให้ปลอดจากโรคทางกายก็เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติธรรมอันจะนำไปสู่การปลอดโรคทางใจอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง แม้เมื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยไม่ได้แล้วหรือจะเสียชีวิต ท่านก็ยังให้ใช้ประโยชน์ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตนั้นเพื่อการละความยึดมั่นให้ถึงที่สุดเมื่อให้นิยามของการป่วยและมีเป้าหมายในความสนใจดังกล่าว สาเหตุของการป่วยในพุทธศาสนาจึงเน้นที่สาเหตุของการป่วยทางใจคือกิเลส รวมทั้งสาเหตุจากปัจจัยที่หนุนเนื่องมาแต่อดีตตามหลักกรรม ส่วนการจะรักษาให้หายป่วยก็ต้องทำโดยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง แต่หากกล่าวถึงเฉพาะการเจ็บป่วยทางกาย พุทธศาสนามองว่าความเจ็บป่วยคือสิ่งธรรมดาของชีวิต แต่ไม่ใช่ให้ปล่อยปละละเลยไม่สนใจร่างกาย แต่มาช่วยย้ำเตือนไม่ให้ประมาท ให้เร่งทำความเพียรถือว่าเป็นทุกขเวทนาที่ต้องกำจัดเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติธรรม ในพระวินัยของพระภิกษุมีบทบัญญัติมากมายที่ช่วยให้ภิกษุมีสุขภาพดี เช่น พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงประโยชน์ต่อสุขภาพของการฉันมื้อเดียว การเคี้ยวไม้สีฟัน หรือการเดินจงกรม มีข้อบัญญัติให้ต้องดูแลความสะอาดของที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งมีข้อบัญญัติให้ช่วยกันดูแลพยาบาลภิกษุที่อาพาธ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุอาพาธรักษาตัวด้วยวิธีต่างๆ และทำอะไรหลายอย่างที่ภิกษุปกติทำไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อบรรเทาทุกขเวทนาและให้หายป่วยโดยเร็ว แต่ต้องไม่ขัดต่อหลักพื้นฐานคืออริยมรรคมีองค์ 8 และอยู่บนพื้นฐานของการเป็นผู้เลี้ยงชีพง่าย เป็นชีวิตที่มีภาระน้อย นอกจากนี้ยังมีพุทธวิธีที่ใช้ในการรักษาการเจ็บป่วยโดยเฉพาะด้วย เช่น สวดโพชฌงค์ ใช้สติปัฏฐาน ใช้ความเพียร ใช้สัญญา ๑๐ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้กล่าวว่าจะใช้ได้ในทุกรณีในบทที่ 7 ได้นำเสนอกรณีศึกษาวิถีชีวิตของผู้ที่สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม ที่เข้าใจหลักธรรมสอดคล้องกับกระบวนทัศน์พุทธศาสนา โดยศึกษาจาก 7 ท่าน ประกอบด้วย ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ ศ. ระพี สาคริก ป้าหมอ (ชื่อสมมติ) คุณกำพล ทองบุญนุ่ม และพี่แมว (ชื่อสมมติ) ซึ่งโดยภาพรวมแล้วท่านเหล่านี้ก็มีชีวิตเช่นเดียวกับคนทั่วไปในแต่ละยุคสมัย ความสนใจในการศึกษาปฏิบัติธรรมเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้มีจุดหักเหของชีวิตที่ชัดเจน ท่านเหล่านี้มองโลกและชีวิตโดยใช้กระบวนทัศน์พุทธศาสนาที่แม้จะมีความลึกซึ้งในความเข้าใจหลักการที่แตกต่างกันบ้าง แต่ทุกท่านเห็นว่ากระบวนทัศน์พุทธศาสนาช่วยทำให้ท่านมีชีวิตที่มีความทุกข์น้อยลงมาก โดยเฉพาะในกรณีคุณกำพลที่ประสบอุบัติเหตุจนพิการตั้งแต่คอลงมา ที่ท่านกล่าวว่าสามารถกลับมามีชีวิตที่มีความสุขได้อีกครั้งด้วยการปฏิบัติธรรม ในประเด็นทางสุขภาพ ทั้ง 7 ท่าน ใช้วิธีการดูแลสุขภาพที่ต่างกันโดยท่านอาจารย์พุทธทาสยังคงชอบใช้สมุนไพรที่ท่านคุ้นเคย ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกจะใช้วิธีการแผนปัจจุบันเป็นหลัก ป้าหมอเปลี่ยนจากที่เคยใช้แต่ยาแผนปัจจุบันมาดูแลตัวเองมากขึ้นและใช้วิธีการที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น ส่วนพี่แมวกล้าที่จะปฏิเสธการรักษาโรคมะเร็งด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วหันกลับมาดูแลสุขภาพตนเอง แต่ในท่ามกลางความแตกต่างนั้นทุกคนมีท่าทีต่อสุขภาพและการรักษาใกล้เคียงกัน คือดูแลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะไม่พยายามเดือดร้อนดิ้นรนจนทำให้ทุกข์ ถ้าจะต้องตายก็ถือว่าเป็นธรรมดาของชีวิต อย่างไรก็ตามการมีทัศนะต่อการรักษาอย่างนี้ก็มีปัญหาอยู่ไม่น้อยในการปฏิบัติในสังคม ดังเช่นกรณีของอาจารย์พุทธทาสที่ท่านมีจุดยืนอย่างชัดเจนว่าไม่อยากหอบสังขารหนีความตาย แต่ก็ยังถูกระบบการแพทย์กระทำจนไม่สามารถสิ้นชีวิตไปอย่างธรรมชาติตามที่ท่านประสงค์ได้ นอกจากนี้ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้ศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้ายที่ดำเนินการโดยพระภิกษุ ที่ศูนย์เพื่อนชีวิต จ. เชียงใหม่ ที่แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างการประยุกต์ใช้การบวนทัศน์พุทธศาสนาในการดูแลผู้ป่วยได้ในอีกรูปแบบหนึ่งในบทที่ 8 บทสุดท้าย เป็นการสรุปภาพรวมเพื่อแสดงให้เห็นว่าหากพิจารณาพุทธศาสนาตามแนวคิดเรื่องกระบวนทัศน์แล้ว จะพบว่ากระบวนทัศน์พุทธศาสนามีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างจากกระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์และกระบวนทัศน์องค์รวมอย่างชัดเจน โดยได้แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างในหัวข้อต่างๆ เช่น ทัศนะต่อความจริง จุดสนใจที่แตกต่างกัน มุมมองต่อปัญหาที่แตกต่างกัน วิธีการที่ใช้แก้ปัญหาที่ต่างกัน และมีทัศนะต่อสุขภาพแตกต่างกัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้สรุปเหตุผลแสดงความเหมาะสมที่ควรนำกระบวนทัศน์พุทธศาสนามาใช้แก้ปัญหาสุขภาพในสังคมไทยไว้ เช่น เพราะปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาเรื่องกระบวนทัศน์ และกระบวนทัศน์พุทธศาสนามีความชัดเจน สอดคล้องกับสังคมไทย มีตัวอย่างในการปฏิบัติจนได้ผลอย่างชัดเจน ในช่วงท้ายได้เสนอแนวทางการนำกระบวนทัศน์พุทธศาสนามาใช้ในสังคมไทยไว้เป็นขั้นตอน รวมทั้งแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent6425310 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectBuddhismen_US
dc.subjectHealth problems -- Thaien_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.subjectปัญหาสุขภาพ -- ไทยen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleพุทธกระบวนทัศน์เพื่อสุขภาพและการเยียวยาในสังคมไทยth_TH
dc.title.alternativeBuddisht paradigm on health and healing in Thai societyen_US
dc.description.abstractalternativeBuddhist Paradigm on Health and Healing in Thai SocietyThe aims of this study try to consider Buddhism as a paradigm and to investigate its capability to deal with health problems especially in Thailand by using documentary and field research. Documentary research is applied as a method for studying the Tipitaka—the three divisions of the Buddhist cannon—and other Buddhist important texts to identify its paradigm. A field research is used for gathering lives experiences of some Buddhists to know the significance of Buddhist paradigm on their lives and health behavior. The report composes of 8 chapters. The first chapter gives the outline of research methodology. Chapter 2 presents the concept of paradigm, which starts by showing that all of our global crisis including economical, environmental, social, and health crisis originate by the same foundation that is the misunderstanding of nature of our life and the world. I demonstrate that limitations of knowledge and technologies in health come from its scientific or, more specifically, biomedical paradigm. Another concept of health paradigm, holistic medicine, is described in this chapter as well.Chapter 3 is results from the literature review about history of Buddhism in the region what is now Thailand. Archeologists found that Buddhism was brought into this area since the third century. Around the 6th century, Theravada and Mahayana Buddhism as well as Hinduism were accepted through the entire region. During the 13th century, the first Thai kingdom—Sukhothai—Theravada Buddhism from Ceylon (Sri Lanka) was selected to be the only religion of native Tai-speaking people. After that, Buddhist worldview has been gradually integrated with local belief systems and then became the basic Thai culture and worldview. Buddhist beliefs incorporate in all parts of Thai culture while Lord Buddha always places at the top level of all refuges.Chapter 4 focuses on Buddhist-related health culture. I show the impacts of Buddhist paradigm on the ways of practicing health and healing in Thailand. Buddhist temples used to be centers of all local wisdom in each community. They were places where traditional healing techniques have been studied and practiced. Most of Thai traditional healers get their knowledge and experiences while they were monks. Thus, some sacred Bali words and rituals were normally used in the processes of their practices. Some rituals relating to Buddhist monks, moreover, such as Parita Sutta and Pojchong chanting, or the offering dedicated to the Sangha (Sańghadana) are sometime specifically used for health proposes. Chapter 5 contains the essences of Buddhist paradigm extracted from the Tipitaka. Meanings of the world, nature, and all creatures including humankind in Buddhist view quite differ from those of scientific understandings. For Buddhism, the ultimate goal of humankind is nirvana—the extinction of all defilements and suffering. Therefore, all of Buddhadhama—the Buddha teachings—gears to this goal while mention very few about the origins of the earth or the universe. The condition of all things, in Buddhadhamma, is seen as an integrated form. They are composed of and depending on various elements and their features. In general, the composition of human can be divided in many different ways depending on a specific goal, but the most common way is separated into the physical aspect and, the more important part, mental aspect or mind. The common characteristics of all beings are Tilakkhaņa: impermanence, suffering, and non-self.Buddhist perspectives on health and healing are presented in chapter 6. The perfect health in Buddhist paradigm is the state of free from all mind sufferings, nirvana. From this point, the meanings of disease, illness, or sickness include all kinds of suffering in both mind and body. Meanwhile, aging, illness, and death are seen as commonly inescapable events for everyone. When people have some health problems, they should not add on more mental sufferings. Everyone has a responsibility to take care him/herself not only for plays or happiness, but also for the ultimate goal of complete health. Many items in Vinaya Tipitaka—the codes of Buddhist monastic disciplines—were set for a comfortableness of sick monks while protecting the others from diseases. The Buddha has never refused any healing techniques those are not harmful to the Noble Eightfold Path (Magga). Chapter 7 presents results of my field works. Seven people who applied Buddhist paradigm in their ways of lives were interviewed about their lives and health experiences. I found that Buddhist paradigm has gradually changed their lives and worldviews. Their lifestyles are easier as well as less suffering than those of people who studies and practices less in Buddhism. Although all of them still have physical health problems as others, their attitudes on living or coping with diseases were differed. In their views, health problems are not necessary to get rid of immediately. They looked for appropriate ways to cure the diseases with peaceful minds while concerned nature of lives. Their methods of healing seem to be more in natural ways and less depending on expensive technologies. In addition, I present another case of a small hospice to severe Aids patients. It runs by 2 monks and a few staffs. They have applied Buddhadhamma, rituals, and some modern medicines to treat the patients. This case shows another aspect of Buddhism on health and healing in Thai society. The last chapter, I try to conclude that Buddhism can be seen as a paradigm. This paradigm has its own realities about life and the world differed from scientific and holistic paradigms. By comparing with other paradigms, people who apply Buddhist paradigm into their lives seem to have less suffering when they get health problems. In this chapter I also make an effort to show that Buddhist paradigm is still suitable, valuable, and possible to solve health problems in Thailand. It is useful and reasonable to re-implement Buddhist paradigm to Thai society. The strategies for re-implementation are discussed as well.en_US
dc.identifier.callnoHM40 ว549พ 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค011en_US
dc.subject.keywordParadigmen_US
dc.subject.keywordHealthen_US
dc.subject.keywordสุภาพen_US
dc.subject.keywordกระบวนทัศน์en_US
.custom.citationวิชิต เปานิล and Wichit Paunil. "พุทธกระบวนทัศน์เพื่อสุขภาพและการเยียวยาในสังคมไทย." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1687">http://hdl.handle.net/11228/1687</a>.
.custom.total_download306
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs0962.pdf
Size: 4.875Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record