Show simple item record

Songkhla drug system

dc.contributor.authorสุรฉัตร ง้อสุรเชษฐ์th_TH
dc.contributor.authorSurachat Ngorsurachesen_US
dc.contributor.authorณรงค์ศักดิ์ สิงห์ไพบูลย์พรth_TH
dc.contributor.authorอรรถพล ศรเลิศล้ำวาณิชth_TH
dc.contributor.authorยูซูฟ นิมะth_TH
dc.contributor.authorNarongsak Singhpaiboonpornen_US
dc.contributor.authorAttaporn Sornlertlumvanichen_US
dc.contributor.authorU-soop Nimaen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:39Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:37:13Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:39Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:37:13Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1146en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1725en_US
dc.description.abstractโครงการศึกษาระบบยาในจังหวัดสงขลานี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาหาปัญหาในระบบยาของโรงพยาบาลในจังหวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีขอบเขตกว้างในระบบยา ทั้งในแง่ของมูลค่าและปริมาณของยาในระบบ ในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบยานั้นจะอาศัยแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากเภสัชกรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในโรงพยาบาล 21 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งจะใช้การสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หาปัญหาในระบบยา ผลการศึกษาปัญหาพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกลับมาจากโรงพยาบาลทั้งหมด 10 แห่ง และมีเภสัชกรจากโรงพยาบาล 19 แห่ง เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม จากข้อมูลทั้งหมดทำให้สรุปได้เป็นประเด็นปัญหาดังนี้ 1. การคัดเลือกยา ปัญหาความเข้มแข็งหรือประสิทธิภาพของคณะกรรมการยาและการบำบัดของโรงพยาบาลยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกยา โดยที่ปัญหาเหล่านี้เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลเพื่อเสนอคณะกรรมการ จนถึงการประชุมของคณะกรรมการยาและการบำบัด ซึ่งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือปัญหาของยานอกระบบ ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นยาที่มีใช้ในโรงพยาบาล หรือเป็นยาที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการยาและการบำบัด แต่มีในโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์เลือกใช้ได้ ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อระบบยาในหลายประเด็น เช่น ปัญหาเรื่องความเสมอภาคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกัน ปัญหาการหลีกเลี่ยงการนำยาเข้าโรงพยาบาลโดยไม่ผ่านคณะกรรมการยาและการบำบัด เป็นต้น2. การจัดหายาปัญหาในการจัดหายา จะมีหลายประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบที่บังคับให้โรงพยาบาลซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรม แต่องค์การเภสัชกรรมเองมีปัญหาในเรื่องราคายา ซึ่งพบว่ายาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมบางรายการมีราคาแพงกว่ายาที่ผลิตจากบริษัทอื่น และการบริหารจัดการบางอย่างขององค์การเภสัชกรรมมีปัญหา เช่น ปัญหายาขาดแต่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าให้กับผู้ซื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อยาร่วมกันในระดับจังหวัด ในเรื่องของทรัพยากรบุคคลไม่เพียงพอหรือการขาดข้อมูลข่าวสารที่จะนำมาใช้ตัดสินใจ ปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพยาก็เป็นปัญหาที่สำคัญในการจัดหายาของโรงพยาบาล เนื่องจากงบประมาณในการจัดหายามีจำกัด ทำให้โรงพยาบาลต้องจัดหายาที่มีราคาค่อนข้างถูก และโรงพยาบาลต้องการควบคุมคุณภาพยาที่จัดหา แต่ยังไม่สามารถทำได้เต็มที่เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลผู้ส่งยาเพื่อตรวจสอบคุณภาพและจำนวนผู้รับวิเคราะห์คุณภาพยาก็ไม่เพียงพอ 3. การกระจายยา ปัญหาที่สำคัญจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการกระจายยาไปยังศูนย์สุขภาพชุมชนในแง่บทบาทของเภสัชกรในศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งยังไม่ชัดเจน รวมทั้งยังไม่มีข้อมูลเรื่องการจัดเก็บยาว่ามีความเหมาะสมอย่างไร 4. การใช้ยา นอกเหนือจากปัญหาการใช้ยาทั่วไป เช่น ปัญหาการสั่งจ่ายยาไม่สมเหตุสมผลในแง่ของผลการรักษาทางคลินิกแล้ว ยังมีปัญหาในเรื่องความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ และความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกันด้วย เช่น ปัญหาการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติให้กับผู้ป่วยที่จ่ายเงินเอง หรือผู้ป่วยที่ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการมากกว่าผู้ป่วยที่ใช้สิทธิอื่นๆ ซึ่งยาเหล่านี้มักจะเป็นยาราคาแพงที่มีอยู่ในโรงพยาบาลจึงอาจทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยสรุปการศึกษาระบบยาในจังหวัดสงขลานี้ สะท้อนให้เห็นปัญหาที่มีในระบบยาในโรงพยาบาลของจังหวัดสงขลา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่มีคู่กับระบบยามาเป็นเวลานาน เช่น ปัญหาประสิทธิภาพของคณะกรรมการยาและการบำบัดในการคัดเลือกยา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย หรือตามนโยบายที่รัฐกำหนด เช่น ปัญหาข้อมูลข่าวสารที่ไม่เพียงพอ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของพระราชบัญญัติประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือปัญหาจากการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้โรงพยาบาลในสังกัด จัดซื้อยาร่วมกันในระดับจังหวัด เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent650862 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectDrug--Songkhlaen_US
dc.subjectDrug Approvalen_US
dc.subjectDrug Utilizationen_US
dc.subjectDrug Delivery Systemsen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectยาen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleระบบยาในจังหวัดสงขลาth_TH
dc.title.alternativeSongkhla drug systemen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this project was to search for problems of drug system in Songkhla hospitals, which is major portion of drug system in terms of both expenditure and quantity. Questionnaire mailed survey was used to collect data from pharmacists who were in charge of drug system in 21 hospitals. These included both public and private owned hospitals. Also, focus group technique was used to search for the problems in the drug system. A total of ten hospital pharmacists sent the survey back and pharmacists from 19 hospitals participated in the focus group. From all data, the conclusions were as followed 1. Drug Selection An important problem in drug selection process was the problematic performance of the hospital patient and therapeutic committee (PTC). It started from the beginning process when the data was gathered for submitting to the committee and continued to the committee meeting. They had an impact on the performance of hospital drug selection. Another potential problem was the problem of non-officially listed drugs in the hospitals, which were drug products that were not selected through the PTC but they were available in the hospitals. It affected the drug system in various perspectives such as equity problems among different patient types of payment or problems of avoiding regular drug selection process. 2. Drug Procurement Various problems related to the procurement process were identified. First, the hospitals were forced to buy drug products manufactured by the Government Pharmaceutical Organization (GPO). Some of the GPO’s products were more expensive. The GPO also provided poor services such as they did not notify in advance when some products were out of stock. Second, the human and information resources were scarce for decision making in drug purchasing groups, which was a government policy. Another problem was the quality of drug products. Under resource constraint, less expensive products were procured. They were required the quality assurance at the hospital end. However, limited resources were available for the hospitals themselves and the number of analyzing agencies were also inadequate. 3. Drug Distribution An important problem regarding the drug distribution was the distribution toward the primary care units (PCU). The pharmacists’ roles at the PCU were ambiguous. Also, data of drug storage appropriation at the PCU did not exist.Drug UseOther than general drug use problems such as clinical outcomes of irrational drug use, economic efficiency and equity among the different patient types of payment were the problems in the drug system. For instance, non-essential drugs, which were usually more expensive, were likely prescribed for patients who paid out-of-pocket or were covered by the government. They eventually created unnecessary high national drug expenditures.In conclusion, this study reflected various problems in Songkhla hospital drug system. Some of them were long time problems such as the problem of PTC in drug selection process. However, there were also contemporary problems which occurred from either technological change or government policy change, such as the scarcity of information, the impact from the universal health insurance coverage (UC) and the drug purchasing group policies.en_US
dc.identifier.callnoWB340 ส847ร 2547en_US
dc.identifier.contactno47ค029en_US
dc.subject.keywordDrug Selectionen_US
dc.subject.keywordDrug Procurementen_US
dc.subject.keywordDrug Distributionen_US
dc.subject.keywordDrug Useen_US
dc.subject.keywordระบบยาen_US
dc.subject.keywordการคัดเลือกยาen_US
dc.subject.keywordการจัดหายาen_US
dc.subject.keywordการกระจายยาen_US
dc.subject.keywordการใช้ยาen_US
.custom.citationสุรฉัตร ง้อสุรเชษฐ์, Surachat Ngorsuraches, ณรงค์ศักดิ์ สิงห์ไพบูลย์พร, อรรถพล ศรเลิศล้ำวาณิช, ยูซูฟ นิมะ, Narongsak Singhpaiboonporn, Attaporn Sornlertlumvanich and U-soop Nima. "ระบบยาในจังหวัดสงขลา." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1725">http://hdl.handle.net/11228/1725</a>.
.custom.total_download251
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1146.pdf
Size: 358.8Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record