Show simple item record

A situation on environment and health in Thailand

dc.contributor.authorพัฒนา มูลพฤกษ์en_US
dc.contributor.authorPatana Mulpuken_US
dc.contributor.authorดนยา วงศ์ศิริกุลen_US
dc.contributor.authorปรีชา ลอเสรีวานิชen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:16Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:45:39Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:16Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:45:39Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0719en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1807en_US
dc.description.abstractการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพในประเทศไทยการเพิ่มประชากรของประเทศไทยจาก 26 ล้านคนเป็น 62 ล้านคนในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มีการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง ประชากรเมืองของประเทศมีประมาณ 15 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการย้ายถิ่นที่สำคัญ ซึ่งคาดว่าปัจจุบันมีประชากรถึง 10 ล้านคน ทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมากมาย ตั้งแต่การพัฒนาที่ดิน การเกษตร การปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพลังงาน การอุตสาหกรรม การคมนาคม การท่องเที่ยว รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นสิงแวดล้อมทางกายภาพ เคมี ชีวภาพและสังคม กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองใหญ่จึงมีปัญหามลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง มลพิษทางน้ำ มลพิษในดิน สารอันตราย ของเสียอันตราย มูลฝอย ความปลอดภัยของอาหาร ที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ และสถานที่ทำงานไม่สะอาดปลอดภัย สารมลพิษที่ปนเปื้อนในตัวกลางเหล่านี้อาจจะเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางไม่ว่าจะเป็น ทางปาก ทางการหายใจ และสัมผัสทางผิวหนัง อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยตั้งแต่ การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เจ็บป่วยมาก ทุพพลภาพ พิการ การบาดเจ็บ หรือจนขั้นเสียชีวิต รวมถึงการทำลายคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะ ชนิด ปริมาณ และระยะเวลา รวมถึงช่องทางของการสัมผัสสารมลพิษ ในตัวกลางหรือในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน การตายด้วยสาเหตุสำคัญของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2534-2541 พบว่าโรคหัวใจเป็นสาเหตุของการป่วยตายที่มีอัตราสูงเป็นอันดับหนึ่งมาโดยตลอด รองลงมาได้แก่ โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ-การเป็นพิษ โรคความดันเลือดสูง-หลอดเลือดในสมอง การบาดเจ็บ/การฆ่าตัวตาย/ การถูกฆ่า โรคปอดอักเสบและโรคอื่นๆของปอด โรคเกี่ยวกับตับและตับอ่อน โรคไตอักเสบ/ไตพิการ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการป่วยด้วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังที่มีอัตราการเจ็บป่วยสูงที่สุดคือ โรคอุจจาระร่วง รองลงมาได้แก่ ปอดบวม ไข้เลือดออก อาหารเป็นพิษ มาลาเรีย บิด ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และหัด ตามลำดับ สาเหตุของการตาย หรือสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 10 อันดับแรกนั้น จะเห็นว่ามีหลายโรคที่เกิดจากการสัมผัสมลพิษ ไม่ว่าสารมลพิษจะอยู่ในรูปกายภาพ เคมี ชีวภาพ และสังคมที่ปนเปื้อนอยู่ในตัวกลางสิ่งแวดล้อมต่างๆ และบางครั้งการเจ็บป่วยและการตายอาจจะเกิดจากสารมลพิษหลายอย่างและยังอาจจะเกิดจากสาเหตุในปัจจัยแรงผลักดันหลายๆ ด้าน ข้อมูลยืนยันถึงสาเหตุการเจ็บป่วยและเสียชีวิตอันเนื่องมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นจึงค่อนข้างยากต่อการที่จะระบุให้ชัดเจนลงไปได้ เช่น โรคมะเร็งนั้นไม่ว่าจะเป็นที่อวัยวะใดของร่างกายก็ตามก็ยังไม่สามารถที่จะยืนยันหรือหาข้อสรุปที่แน่นอนและชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยใด การศึกษาวิจัยจึงมักกระทำในเชิงคาดการณ์และอาศัยผลจากการศึกษาทดลองในสัตว์ทดลองแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับการเกิดโรคกับคน การวิจัยที่เชื่อมโยงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสาเหตุของปัญหาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพยังไม่สามารถทำให้เกิดความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ในข้อมูลพอที่จะนำมาใช้อ้างอิงen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent4513684 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectEnvironmenten_US
dc.subjectสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพen_US
dc.subjectสิ่งแวดล้อม -- ไทยen_US
dc.subjectการประเมินผลกระทบทางสุขภาพen_US
dc.titleสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeA situation on environment and health in Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeA Situation on Environement and Health in Thailand The population of Thailand has increased from 26 million to 62 million in the past 40 years. The increase had led to tremendous activities in economic and social development such as the development of land, agriculture and farming, fishery, energy, industries, transportation and tourism. These developments resulted in climatic change and environmental problems including physical chemical biological and social environment. Unplanned industrialization and urbanization, and the influx of rural population into cities had created environmental pollution and social stress in those area. Bangkok, the capital city with an estimated population of 10 million, and provinces in vicinity are facing problems of air, water, land, and noise pollution, hazardous substances and waste, food hygiene, unsafe housing and workplace. These environmental pollutants may enter human body either by eating, breathing, or skin contact. Health impact may vary from annoyance to discomfort, mild symptoms, severe illnesses, injury, disability, or death, depending on several factors such as type and amount of pollutants, exposure time and route of entry. Mortality statistics of Thai population during B.E. 2534 – 2541 indicated that hearth disease was the highest cause of death throughout the period, followed by cancers, accidents, poisoning-intoxication, blood hypertension and stroke, injury/suicide/murdered, pneumoconiosis and other lung diseases, liver and pancreas diseases, and kidney disease. For infectious diseases, the highest illness was diarrhea, followed by pneumonia, hemorrhagic fever, food poisoning, malaria, salmonellosis-shigellosis, influenza, tuberculosis, sexually transmitted diseases, and measles. Among these leading deaths and illnesses, there are several diseases that could be caused by exposure to either individual or multiple pollutants of physical, chemical, biological form and social factors. However, it is always difficult to pin point the exact causative environmental or social factors. This is due to the incomplete or unknown exposure history and the complexity of dose-response mechanisms of those factors on physiological change and etiologies of diseases, cancer, for example. Nevertheless, the results from animal studies could be cautiously extrapolated to human for the sake of prevention and control of adverse health effects and sustainable socio-economic development.en_US
dc.identifier.callnoWA30 พ532ก 2543en_US
dc.subject.keywordสถานการณ์สิ่งแวดล้อมen_US
.custom.citationพัฒนา มูลพฤกษ์, Patana Mulpuk, ดนยา วงศ์ศิริกุล and ปรีชา ลอเสรีวานิช. "สถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพในประเทศไทย." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1807">http://hdl.handle.net/11228/1807</a>.
.custom.total_download394
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year10

Fulltext
Icon
Name: hs0719.pdf
Size: 3.997Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record