Show simple item record

เครือข่ายทางสังคมภาคตะวันออกกับการสร้างเสริมพลังผู้บริโภค

dc.contributor.authorสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:24Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:42:42Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:24Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:42:42Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifierOn loan at HSRI libraryen_US
dc.identifier.otherhs1335en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1822en_US
dc.description.abstractการศึกษาเครือข่ายทางสังคมภาคตะวันออกกับการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการ รูปแบบ กลวิธี บทบาทหน้าที่และแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายทางสังคมทั้งในรูปของกลุ่ม/ชมรมที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในภาคตะวันออกรวมทั้งเพื่อดูถึงผลการดำเนินงานของเครือข่าย ฯ ดังกล่าว อันจะนำไปสู่การสังเคราะห์หารูปแบบ กลไกและแนวทางการทำงานที่เอื้อให้เกิดการเสริมสร้างพลังผู้บริโภค ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากพื้นที่โดยการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเครือข่ายหรือกลุ่มที่เลือกมาเป็นกรณีศึกษานี้เป็นการเลือกมาเพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มที่ดำเนินงานที่แสดงถึงพลังของกลุ่ม/เครือข่ายในการพิทักษ์สิทธิ ผลการศึกษาในด้านความเป็นมาและโครงสร้างการบริหารจัดการของกลุ่ม พบว่า กลุ่มหรือชุมชน มีจุดร่วมเหมือนกันคือ การรักษาสิทธิ พิทักษ์สิทธิของสมาชิก และการกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้จักคุ้มครองสิทธิของตน ซึ่งลักษณะสำคัญของกลุ่มมีดังนี้ (1)กลุ่มที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหา ที่สมาชิกกลุ่มเผชิญอยู่ (2)กลุ่มเกิดจากกระแสความรุนแรงของปัญหาที่มากขึ้น (3)กลุ่มที่เกิดจากการพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มเอง (4)กลุ่มที่เกิดจากนโยบายของรัฐ (5)กลุ่มเกิดจากกระแสความต้องการของสังคม (6)กลุ่มที่สร้างทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งผลของการดำเนินงานที่กระตุ้นและเสริมสร้างพลัง ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยรวม ดังนี้ (1) เรียนรู้ถึงประโยชน์ในการรวมกลุ่มและพลังกลุ่มในการพิทักษ์สิทธิ (2)เกิดกระบวนการเรียนรู้ การเชื่อมประสานกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในลักษณะข้ามเครือข่าย ข้ามพื้นที่ (3)สมาชิกเกิดวินัยและความรับผิดชอบในการบริหารจัดการ โดยการทำให้สมาชิกและผู้บริโภคเห็นถึงเป้าหมายและประโยชน์ที่จะเกิดร่วมกัน (4)การทำให้เกิดการยอมรับจากสาธารณชนมากขึ้น โดยเฉพาะในเครือข่ายผู้ติดเชื้อและและผู้ป่วยเอดส์ (5)การบริหารจัดการ และการขับเคลื่อนกลุ่ม เครือข่ายจากการต่อสู้ด้วยความรุนแรง สันติวิธี (6)การขยายตัวของกลุ่ม เครือข่าย การมีจำนวนผู้เข้าร่วมและสมาชิกเพิ่มขึ้น โดยพบว่ากลุ่มส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษามีการขยายตัวมากขึ้น และ (7)เกิดการพึ่งพาตนเอง ตระหนักในศักยภาพของตนเองมากขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะจากการถอดบทเรียนต่อแนวทางในการเสริมสร้างพลังผู้บริโภค สามารถแบ่งได้ 2 ประเด็น คือ แนวทางการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในภาคตะวันออก บริบททางสังคม ลักษณะภูมิประเทศ วิถีชีวิตของสังคม และผู้บริโภคในภาคตะวันออกส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แนวทางการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในสังคมไทย ต้องทำใน 2 มิติ คือ การให้โอกาสผู้บริโภคสามารถเข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ โดยรัฐจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้ให้ประชาชนทราบและเรียนรู้ที่จะปกป้องตนเอง ก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ขณะเดียวกันกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) ต้องมีการสร้างและสอนเด็กและเยาวชนตั้งแต่เยาว์วัยให้รู้จัก และเข้าใจในการเลือก ตัดสินใจ ในการบริโภคที่ปลอดภัย รวมทั้งการสร้างหลักสูตรที่เสริมสร้างให้เด็กเรียนรู้ที่จะรักษาและพิทักษ์สิทธิของตนเอง และส่วนรวมโดยไม่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพen_US
dc.subjectผู้บริโภคen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleเครือข่ายทางสังคมภาคตะวันออกกับการสร้างเสริมพลังผู้บริโภคen_US
dc.identifier.callnoWA288 ค499en_US
dc.subject.keywordการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคen_US
dc.subject.keywordเครือข่ายทางสังคมภาคตะวันออกen_US
dc.subject.keywordชมรมผู้บริโภคen_US
.custom.citationสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. "เครือข่ายทางสังคมภาคตะวันออกกับการสร้างเสริมพลังผู้บริโภค." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1822">http://hdl.handle.net/11228/1822</a>.
.custom.total_download0
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0


Fulltext

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record