Show simple item record

The dissemination on and the campaign for public policy in Chiang Mai city

dc.contributor.authorดวงจันทร์ อาภาวัชรุฒม์ เจริญเมืองth_TH
dc.contributor.authorDuongchan Arpavatjrut Chareonmuangen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:31Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:48:08Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:31Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:48:08Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1133en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1834en_US
dc.description.abstractโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีจุดประสงค์ที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะแก่ประชาชนชาวเชียงใหม่ และกระตุ้นให้ประชาชนชาวเชียงใหม่ผลักดันนโยบายสาธารณะที่ตนเห็นว่าน่าจะได้รับการแก้ไข ผ่านผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงที่จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ มีระยะการดำเนินงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และขอขยายเวลาจนถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อสรุปบทเรียนและผลักดันนโยบายสาธารณะ ในการทำงานได้แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ช่วงที่ 1 (พ.ค. – ก.ย. 2546 ) เป็นการจัดเตรียมงานเพื่อการรณรงค์ ประสานงานองค์กรเครือข่ายที่เข้ามาเป็นภาคีรณรงค์ ได้แก่ อาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเชียงใหม่ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และภาควิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ในช่วงนี้มีการทำแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้เปรียบเทียบว่า ก่อนและหลังการรณรงค์ประชาชนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ปรากฏว่ามีประชาชนที่เข้าใจนโยบายสาธารณะอย่างถูกต้องร้อยละ 56 นอกจากนี้จากการทำแบบสอบถามยังได้ทราบประเด็นที่ประชาชนเห็นว่าเป็นปัญหา เพื่อจะได้นำไปสู่การผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะต่อไป ในช่วงนี้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “เยียะจะใด เจียงใหม่ถึงจะดี” โดยกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการระดมความคิด ทำให้ทราบว่านโยบายสาธารณะที่ประชาชนต้องการให้มีหรือให้แก้ไขคืออะไรบ้าง ในกระบวนการรณรงค์ให้ความรู้ประชาชน มีการจัดกิจกรรมประกวดโปสเตอร์และเรียงความ โดยหวังว่าการประกวดจะทำให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านทางเด็กนักเรียน เป็นการกระตุ้นให้ผู้ปกครองหันมาสนใจทั้งนโยบายสาธารณะและการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ช่วงที่ 2 (พ.ย. – ธ.ค. 2546) ได้จัดประชุม “อู้ฟู่เรื่องเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 3 : อู้กั๋นบ่แล้วบ่หาย กับนโยบายสาธารณะ” เพื่อระดมความเห็นว่า นายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงที่ประชาชนต้องการเป็นอย่างไร ปัญหาใดที่อยากให้ได้รับการแก้ไขเร่งด่วน มีการจัดประชุมกลุ่มย่อย การรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ทั้งที่เป็นกลุ่ม และรายบุคคลตามชุมชนต่างๆ ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ช่วงที่ 3 (ช่วง ม.ค. – ต้น ก.พ. 2547) รณรงค์อย่างเข้มข้นก่อนการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง จัดทำโปสเตอร์ แผ่นพับ สปอตวิทยุ ป้ายผ้า และใบปลิว เพื่อแจกจ่ายและรณรงค์ให้ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากๆ โดยพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะที่ดี โดยในช่วงนี้ มีการจ้างให้สถานีวิทยุต่างๆ เปิด สปอตวิทยุรณรงค์ให้ประชาชนทราบว่า จะมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมื่อไหร่ มีการทำแบบสอบถามครั้งที่ 2 หลังจากที่มีการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ และการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงไปแล้วหลายเดือน ทำให้ทราบผลจากแบบสอบถามว่า ประชาชนมีความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56 เป็นร้อยละ 60 (ที่ตัวเลขปรากฏน้อยเนื่องจากประชาชนไปเลือกคำตอบทุกข้อ แทนการเลือกคำตอบว่าถูกทุกข้อ) ประชาชนร้อยละ 75 ของผู้ตอบแบบสอบถามทราบว่าจะมีการเลือกตั้งนายเทศมนตรีโดยตรง เพิ่มจากการทำแบบสอบถามครั้งที่ 1 ที่มีผู้ตอบว่าทราบเพียงร้อยละ 33 จากแบบสอบถามครั้งที่ 2 ประชาชนร้อยละ 49 บอกว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ประมาณร้อยละ 49 ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ในช่วงนี้มีการเสวนา “เลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง – เชียงใหม่จะไปทางไหน” เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน ผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อผลักดันผ่านผู้สมัครรับลเอกตั้ง ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง แต่เดิมรายการวิทยุ “ร่วมด้วยช่วยกัน” โดยการประสานงานจากโครงการนี้ จะเชิญผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคน เพื่อมาแถลงนโยบายสาธารณะของตนเป็นรายการสด แต่เมื่อตรวจสอบไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่แล้วถูกทัดทาน เพราะคณะกรรมการฯ เกรงว่า หากผู้สมัครพูดในลักษณะที่เข้าข่ายการให้สัญญา อาจมีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง รายการพิเศษนี้จึงถูกยกเลิกไป ช่วงที่ 4 (ช่วง ก.พ. – มี.ค. 47) หลังการรณรงค์ได้ข้อสรุปปัญหา/อุปสรรคของการดำเนินงานและบทเรียนสำหรับการดำเนินงานในเมืองอื่นๆ และดำเนินการผลักดันนโยบายสาธารณะที่ประชาชนเห็นว่าเป็นปัญหาต่อผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง และเขียนสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ โดยได้จัดการประชุมที่สานต่อการคัดค้านการก่อสร้างอาคารเทศบาลนครเชียงใหม่หลังใหม่ ที่จะสร้างริมแม่น้ำปิง ซึ่งโครงการนี้ประชาชนชาวเชียงใหม่ได้คัดค้านไปตั้งแต่ปีที่แล้ว และมีการศึกษาผลกระทบสุขภาพอันเนื่องจากอาคารสูงไปแล้ว นอกจากนี้ ยังได้ใช้งบประมาณบางส่วนในการจัดพิมพ์เชียงใหม่ปริทัศน์ฉบับพิเศษเรื่องดอยหลวงเชียงดาว หลังการเลือกตั้งโครงการฯ ได้ร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะในวาระที่มีการเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยโครงการศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศของประชาชนในเมืองเชียงใหม่ และโครงการเมืองยั่งยืน สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้จัดประชุม “นโยบายสาธารณะ เชียงใหม่จะไปทางไหน” เพื่อระดมสมองเกี่ยวกับสถานการณ์นโยบายสาธารณะที่เข้ามาในเมืองเชียงใหม่ และท่าทีขององค์กรประชาชนต่อนโยบายเหล่านั้น จากการวิจัยของโครงการนี้พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลลดจำนวนลง และจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็ลดจำนวนลงด้วยเล็กน้อย เนื่องจากชนชั้นกลางอพยพออกไปอยู่ชานเมืองมากขึ้น คนเชียงใหม่มีลักษณะนิสัยที่ไม่กล้าขัดแย้งกับผู้อื่น และไม่ค่อยกล้าเสนอปัญหาต่อผู้บริหาร จนมีคำพูดติดปากว่า “เอาเปิ้นว่าเต๊อะ” ในการประกาศรับเลือกตั้ง ผู้ที่มีคุณสมบัติดีแต่ไม่มีเงิน ไม่กล้าลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อมาบริหารเมือง เพราะเห็นว่าผู้ที่เล่นการเมืองต้องใช้เงินมาก เนื่องจากเห็นนักการเมืองทุกระดับต้องเกื้อกูลประชาชนอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาฐานเสียง เมื่อไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่โดดเด่นจึงทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีสีสัน และมีผู้ออกไปใช้สิทธิน้อยกว่าการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ทั้งๆ ที่มีการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง จากการลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้และสัมภาษณ์ข้อมูลจากประชาชน รวมทั้งจากการทำแบบสอบถามทั้งสองครั้งสามารถประมวลได้ว่า ประชาชนมีความเข้าใจว่านโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ และเป็นนโบายที่ทั้งรัฐบาลกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนสามารถกำหนดนได้ ความเข้าใจที่ถูกต้องนี้หลังจากที่มีการรณรงค์แล้วมีมากกว่าก่อนการรณรงค์ เนื่องจากในการทำแบบสอบถามไม่สามารถควบคุมกลุ่มตัวอย่างให้เป็นกลุ่มเดียวกันทั้งสองครั้ง จึงไม่อาจใช้ผลการทำแบบสอบถามเป็นตัวชี้วัดพียงตัวเดียวว่า ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเท่าไหร่เกี่ยวกับประเด็นที่รณรงค์ ต่อประเด็นที่ถามเกี่ยวกับผู้ที่ประชาชนเห็นว่าควรเป็นนายกเทศมนตรี ซึ่งใช้วิธีกำหนดชื่อให้เลือกและใช้คำถามแบบปลายเปิด พบว่า ประชาชนเลือกนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ มากที่สุดทั้งสองครั้ง ส่วนคนที่ได้คะแนนเสียงรองลงมาเปลี่ยนแปลงไปตามวิธีการทำแบบสอบถาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการถามแบบเปิดว่า ผู้ใดสมควรได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีโดยตรงคนแรกของเมืองเชียงใหม่ มีผู้เสนอชื่อนายบุญเลิศ และนายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร และ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และชื่อคนอื่นๆ กระจัดกระจาย แต่คำตอบจำนวนมากที่สุดกลับเป็นคุณสมบัติของผู้สมัครที่พึงปรารถนา การเสนอลักษณะนี้สะท้อนว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามนึกไม่ออกว่า ผู้ที่ตนเห็นว่าน่าจะเป็นผู้บริหารจัดการเมืองเชียงใหม่มากที่สุดคือใคร จึงไม่สามารถระบุชื่อได้ ปัญหาเร่งด่วน 5 ลำดับแรกที่ประชาชนต้องการให้มีการแก้ไขจากการทำแบบสอบถามและการลงพื้นที่ คือ ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาขยะ ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหายาเสพติด ปัญหาอากาศเสีย ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนแถลง ไม่มีใครพูดถึงปัญหาวัยรุ่นและยาเสพติด ส่วนใหญ่เน้นปัญหากายภาพ โดยเฉพาะปัญหาจราจรติดขัด โครงการวิจัยชิ้นนี้ได้วิเคราะห์ว่าการที่ประชาชนมาใช้สิทธิน้อยเพราะสาเหตุดังนี้คือ หนึ่ง ไม่มีผู้สมัครที่โดดเด่นที่จะสามารถดึงให้คนชั้นกลางที่ไม่ยอมใช้สิทธิ ออกมาใช้สิทธิ แม้แต่จะมากาช่องไม่เลือกใคร เพราะประชาชนกลุ่มนี้เห็นว่า ไม่มีประโยชน์ที่ตนจะไปใช้สิทธิ เพราะไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ สอง ชนชั้นกลางจำนวนมากอพยพออกไปอยู่ชานเมืองเพราะสภาพแวดล้อมในเมืองเสื่อมถอย ทำให้ประชากรในทะเบียนบ้านลดลง คนกลุ่มนี้แม้ว่าจะสนใจปัญหาบ้านเมือง แต่ก็ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือแม้แต่ลงคะแนนเสียงได้ สาม ประชาชนจำนวนหนึ่งคิดอย่างคนที่มีจิตใจไม่สู้ว่า ผู้บริหารชุดก่อนได้เอื้อประโยชน์ให้หัวคะแนนและชาวบ้าน โดยการพาไปเที่ยวต่างจังหวัด และแจกสิ่งของอยู่เป็นประจำ ถึงจะไปเลือกผู้สมัครคนอื่น ก็สู้คะแนนเสียงไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปลงคะแนนเสียง สี่ ผู้สมัครคนอื่นๆนอกจากตัวนายกเทศมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้นไม่เป็นที่รู้จัก เพราะไม่ได้ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม หรือมีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักของประชาชน เพราะจะปรากฏตัวเมื่อมีการประกาศให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และจะหายไปหลังจากที่พ่ายแพ้ ไม่มีใครทำงานอย่างต่อเนื่องให้ประชาชนแม้แต่คนเดียว จากการลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้คนกลุ่มต่างๆพบว่า ประชาชนจำนวนมากไม่สนใจปัญหารอบตัว สนใจเฉพาะเศรษฐกิจเรื่องปากท้อง และมีแนวคิดแบบผู้รับเหมาทำแทน คือคอยให้คนอื่นมาแก้ปัญหา ไม่คิดลุกขึ้นสู้ด้วยตัวเอง แต่จะสนใจปัญหาเมื่อกระทบตัวเองโดยตรง นอกจากนั้น กลุ่มหนึ่งไม่สนใจการเมือง ถือว่าเป็นเรื่องหนัก และไม่คิดว่าการเมืองสามารถส่งผลต่อนโยบายสาธารณะซึ่งกระทบวิถีความเป็นอยู่ของตน บางกลุ่มสนใจการเมือง แต่ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การเมือง เพราะเกรงจะมีภัยมาถึงตัว ประการสำคัญคือ ประชาชนตามร้านค้าต่างๆ ไม่ค่อยให้ความร่วมมืออาสาสมัครที่ลงไปให้ความรู้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกรงจะมาขายสินค้า หรือหลอกลวงเรื่องต่างๆ สื่อที่เข้าถึงประชาชนมากที่สุดจากการรณรงค์ในครั้งนี้ ตามแบบสอบถามที่ได้รับ คือ แผ่นพับที่นำไปแจกประชาชนกลุ่มต่างๆ รองลงมาคือ วิทยุ การบอกเล่า หนังสือพิมพ์ จากเจ้าหน้าที่ที่ลงไปให้ความรู้ และจากการประชุมตามลำดับ แม้ว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงคราวนี้มีน้อยกว่าคราวก่อน แต่ก็เป็นเพราะปัจจัยต่างๆตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และจำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ได้เป็นตัวชี้วัดอย่างเดียวว่า การรณรงค์ของโครงการนี้ล้มเหลว เพราะจำนวนผู้ที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะมีมาก เห็นได้จากการจัดงานหลังจากที่มีการเลือกตั้งไปแล้ว มีภาคีร่วมจัดมากขึ้น และมีผู้ขอเข้าร่วมประชุมมากกว่าเป้าหมาย นอกจากนี้ คำว่า นโยบายสาธารณะถูกนำไปใช้มากขึ้น โดยกลุ่มนักวิชาการและสื่อมวลชน และมีผู้ที่สนใจผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆมากขึ้น แต่คำว่า “นโยบายสาธารณะ” เป็นคำที่ต้องการการแปลความหมาย เป็นศัพท์ที่ฟังดูเป็นทางการ ชาวบ้านทั่วไปฟังแล้วก็ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ จึงน่าจะมีการบัญญัติศัพท์ที่ฟังง่าย สามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องแปลหรือตีความมาก ยิ่งเป็นคำไทยแท้ยิ่งจะสามารถสื่อความหมายถึงประชาชนทุกกลุ่มได้ง่าย ในการทำวิจัยชิ้นนี้ ปัญหาหนึ่งที่พบคือ คุณภาพของผู้ที่สมัครมาทำงาน ทั้งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร โดยส่วนใหญ่แล้วเกือบจะไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องการปกครองท้องถิ่นและระบบการเลือกตั้งแบบเดิมกับแบบใหม่ ยิ่งนโยบายสาธารณะหรือปัญหาของเมืองยิ่งไม่เคยสนใจใส่ใจ ทำให้ต้องเสียเวลาในการให้ความรู้คน นอกจากความรู้ (knowledge) แล้ว ความมุ่งมั่นและอดทนต่อการทำงานหนักก็มีน้อยกว่าคนรุ่นเก่า เนื่องจากในขณะเรียนอยู่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ทำกิจกรรม เมื่อมาทำงานจริงจึงขาดประสบการณ์เรื่องการจัดลำดับความสำคัญของงาน และขาดภาวะผู้นำ ทั้งนี้ อาจมาจากทั้งการอบรมบ่มเพราะจากทางบ้าน ระบบการศึกษา รวมทั้งกระแสสังคมที่ทำอะไรก็มีแต่ความรวดเร็ว ไม่ต้องรอคอย ทำให้คนรุ่นใหม่ขาดความอดทน และเป็นอุปสรรคหนึ่งในการรณรงค์ ที่ต้องใช้ความอดทน และประสบการณ์ไหวพริบในการทำงาน ในส่วนของประชาชนพบว่ายังขาด “สำนึกของความเป็นพลเมือง” ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่ใหม่จำนวนมากไม่มีความผูกพันต่อเมือง มีความรู้เรื่องเมืองที่ดีๆ น้อย และเข้าใจว่า เมืองทุกเมืองต้องมีปัญหารถติด สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยที่ไม่ทราบว่า มีบางเมืองในโลกที่มีการบริหารจัดการดี มีการกำหนดนโยบายสาธารณะมาจากภาคประชาชน และรัฐกับประชาชนร่วมมือกันในการดูแลบ้านเมืองได้อย่างดี ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุขมีประเด็นหลักสามประเด็น ประเด็นแรก มีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบมากเกินไป ทำให้เกิดความสับสนทั้งในเรื่องแนวทางการปฏิบัติ และในเรื่องการประสานงาน ประเด็นที่สอง ความล่าช้าของการโอนเงินแต่ละงวดไม่สัมพันธ์กับการทำงานจริง ประเด็นที่สามคือ การทำงานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ซึ่งในตอนแรกกำหนดให้มีทีมงานอีกสองทีมที่จะช่วยวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์ในการทำงาน แม้เมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุด อีกทั้งสองทีมยังไม่ได้รับการเซ็นสัญญาและในที่สุดก็ยกเลิกการทำงานไปทั้งหมด บทเรียนสำหรับเมืองอื่นในการรณรงค์ คือต้องมีหัวหน้าโครงการที่สามารถให้เวลากับการรณรงค์อย่างเต็มที่ เพราะเป็นงานที่ต้องทำเต็มเวลาและต่อเนื่อง ต้องมีคณะทำงานที่เข้มแข็ง และประการสำคัญคือ ต้องมีผู้สมัครรับเลือกตั้งหน้าใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีพอที่จะโดนใจชนชั้นกลางให้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง การรณรงค์จึงจะมีสีสัน และนำไปสู่การผลักดันนโยบายที่ดีของเมืองต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1879656 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectPublic Health Administrationen_US
dc.subjectUrban Healthen_US
dc.subjectHealthy Public Policyen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการให้ความรู้และผลักดันนโยบายสาธารณะเมืองเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeThe dissemination on and the campaign for public policy in Chiang Mai cityen_US
dc.description.abstractalternativeThe Project on the Dissemination on and the Campaign for Public Policy in Chiang Mai City is an action research project conducted by the Urban Development Institute Foundation (UDIF) supported by the Health System Research Institute (HSRI). Its objectives are: to disseminate information about public policy to the residents of Chiang Mai; to stimulate Chiang Mai residents to call for public policy that can solve their problems; and to propose their public policy to the candidates who run for the first elected mayor of Chiang Mai to be elected in February. The study period of this project was from May 2003 to February 2004. This project was divided into 4 phrases. The First phrase (May-September 2003) was to prepare for the campaigning process, to coordinate with the lecturers from other organizations joined as the campaign network. They were from the Department of Architectural Technology, The Rajmongkol Technical Institute, Chiang Mai Campus; The Department of Geography, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University; and the Faculty of Nursing, Payup University. The first questionnaire was conducted to get baseline information to be used as one of the indications for the success of the project, to be evaluated at the end of the project. We wanted to know whether the residents of Chiang Mai have clear understanding about public policy – what it is and who can form public policy of the city. About 56 % of those who answered had correct understanding about public policy. Moreover, people proposed several problems should be addressed as the city’s public policies to solve them. During this phrase, a workshop was organized by volunteers who were students at high school and college levels. The name of the workshop was “Yiea Ja Dai Jiang Mai tueng ja dee” meaning “How to make Chiang Mai (Jiang Mai) better?” The German “Objective Oriented Planning Process” (ZOPP) was used as brainstorming process. Participants from various occupations, including academics, housewives, community leaders, non-government organization workers, private sector, media, people’s organization, elderly, etc., were invited. Many socio-economic and physical problems were addressed at this workshop. Our campaign process included the poster and essay contests on public policy and the direct election of mayor. We hoped that information would be passed on from students to parents to raise their awareness. The Second Phrase (November – December 2003) we organized “The 3rd Oo-fuu Ruang Muang Chiang Mai: Oo Gun Bolaew Bohai Gup Nayobai Satarana” meaning public forum to repeatedly discuss about public policy. This forum was to collect information about the quality of directly elected mayor in Chiang Mai residents’ mind and the problems that people thought should be solved immediately. Small group meetings and the campaigning with organized groups and individuals were done on the citywide basis. The Third Phrase (January-Early February 2004) was the time to launch intense campaign for the first direct election of mayor of Chiang Mai. Posters, leaflets, radio spots, banners, and handout were produced and disseminated to the public to announce the election day. Voters were encouraged to exercise their votes and to consider the candidates’ healthy public policies as factors to vote for. Radio time was bought to turn on the spot. The project hired some radio programs to turn on our radio announcements produced to invite people to vote on 1st February for the first direct election of mayor. We also pointed out that the voters should consider public policies that each candidate offered whether they are healthy policies or not. The second questionnaire was conducted during this period. After the campaign on public policy and direct election of mayor was lunched several months ago, people have had better understanding about both issues and how they were related. About 75% of the answer sets returned knew the date of the Direct Election of Mayor and had correct understanding about public policy. About 49% of the answers said they would go to vote and the same percentage had no intention to vote. Before the election, a public forum on “Direct Election of Mayor – Which Direction is Chiang Mai going?” was organized. The aims of organizing this forum were to analyze urban problems and their impacts and the strengths and weaknesses of the existing mayor system. Formally before the election the “Ruam Duay Chuay Gun” (Let’s Help) radio program planned to invite all candidates to broadcast their public policies so that more general public knew their thoughts. However, the Election Watch Committee banned this special program. They were afraid that if the candidates presented their ideas which sounded like they promised to do something, it might be illegal. The 4th period (February – March, 2004) post election period. This study was evaluated, analyzed and lessons were drawn for other cities. Public policies that would solve critical problems were continuously presented to policy makers so as to implement them. Final report was finished and submitted to funding agency. Extra activities were the co-organization of public forum on “Chiang Mai Muang Ngam and the High Rise Building” (Beautiful Chiang Mai and the Impact of High Rise Building). The resolution of the meeting was to protest the construction project of the new Municipal Office. Based on the health impact assessment, conducted last year, revealed that negative impacts high rise buildings caused on social, mental and spiritual impacts to Chiang Mai society. In addition, we published the special issue of Chiang Mai Journal on the Cable Car Project to Doi Luang Chiang Dao to call for the ban of the project. After the election, our project joined the research projects of the Social Research Institute, Chiang Mai University namely the Study of People’s Participation in the Solving of Air Pollution Problem in Chiang Mai Urban Area and the Sustainable Cities Project in meeting with the governor of Chiang Mai. The purpose of the meeting was to present information of the critical air pollution in Chiang Mai urban area and its health impact and call for strong action from the management. This project also organized a meeting on “Public Policy Which way is Chiang Mai heading to” to brainstorm about new public policy in Chiang Mai and the reaction of people’s organizations to these policies. It is important to notice that statistics showed the decline of number of population and the number of voters due to more out-migration of the middle income families to the suburban area. In general, Chiang Mai people are submissive and have no courage to argue with others or present their ideas to policy makers. Popular phrase has been “Let the other decide”. Those who have good quality but do not have much money dare not run for the election. Every sector of the society agreed that those who run for any position MUST be using a lot of money. This is due to the patron-client or superior-subordinate relationship. Politicians are expected to support the poor voters all the time. Because the voters were not satisfied with the quality of the new candidates, they did not vote for anyone regardless of the strong campaign calling for voters to exercise their rights to vote. The interview and the questionnaires showed that more people had correct understanding about public policy. They knew that public policy was the policy that could give great impact to the whole society and was widely accepted by the public. The Central government, local government units and people could all propose public policy. More people had correct understanding after the campaign of the project than before the campaign was launched. Because we could not have exactly the same group of the citizens who answered both sets of questionnaire, the results would not be the only indicators to measure the success of this project. Particularly when asked about the first directly elected mayor because of the different methods used in each questionnaire. No matter what method was used, Boonlert Booranupakorn always came first on the list. Other names on the list changed completely from the first to the second questionnaire. It is interesting to notice that politician at national and provincial levels appeared on the list when we used open-end method, for example, Dr. Taksin Shinnawatr, Dr. Purachai Piamsomboon, Pakorn Boonranupakorn. A majority of the answers did not put any name but stated the qualification of the mayor people desired to have. These answers reflected that most people could not think of a person that they have always thought of or wished to have run for the local election or manage the city. Five major problems, from both questionnaires and in-depth-interview, that people think should be solved are problems about youth, garbage, drugs and air quality. It is noticeable that none of the policies announced by all candidates touch upon the youth and drugs problems which were both social aspects. Most of them were concerned about physical aspects especially the traffic congestion. Moreover, not very much economic aspect was pointed out. The following are several reasons why the number of votes reduced from the last election. First, none of the candidates had an outstanding qualification that touched the heart of the middle class or could attract the voters to vote for. Even though there was a box that people could check if they did not desire to vote for anyone, most voters still thought it was a waste their Sunday pleasure for local politics. They thought none of the candidates could improve the city or made a drastic change. Second, many middle class migrated to the suburban area. This trend reflected on the reduced number of registered population in the city. Many of them might have social mind and were interested in politics, but they had no right to vote or run for the mayor of Chiang Mai. Third, most people thought city management which were in their terms had already paid their ways to the position next term. This included the regular study tours to other provinces for the community leaders, the all-year free gifts, the free drinking water for the funeral ceremony, etc. People had tendency to think that their votes could not make a difference, therefore, why would they have to waste their time for the election. Fourth, besides the Mayor Boonlert Booranupkorn, other candidates were unknown to the public. This was because other candidates did not perform very much of the public activities. Some only ran for the election and after they lost, they disappeared and then came back to the lime light again before the next election. As a result, people never knew their management ability or the willingness to work for the public. From interviewing the residents and many groups in the city, most people had no interest in the city problems - they only cared for their earn of living. In addition, Chiang Mai local residents have had the mind set that Seksan Prasertkul called “Contractor mind”, meaning people would not fight for anything for themselves but waited for others to do for them. In general people would be active only when the problems gave negative impacts directly to them. Moreover, many people thought politics was a serious matter and had nothing to do to their lives that they did not want to pay attention to or get involved with. No many people understand the connection of politics, management and public policy. Some were interested in politics but dared not to criticize it. They were afraid that their criticism might cause them some trouble. Those small entrepreneurs along the streets were not very cooperative, partly because they were busy with their business, partly because they would be cheated by strangers. From the questionnaires, the most powerful media was the leaflets produced by the project, radio spot, information form others, newspaper, volunteers and the meetings. Even though the number of votes decreased from the previous election, it was because of the afore-mentioned reasons. The number of votes should not be used as the only indicators of the success of this project. There were more people who had correct understanding about the direct election of mayor, public policy and the importance of it. The evidence showed by the increase of stakeholders joined in our meetings and activities. Additionally, more media, academics and citizens have mentioned about public policy repeatedly. Citizens have had more courage to push for the positive change of the city. “Nayobai Satarana” or public policy is a new, unfamiliar word that needs translation. It is difficult for ordinary people to have clear understanding about the word. Therefore, it is advisable to find a more simple word to substitute this word. Simple Thai that is not rooted from Pali or Sansakrit is recommended because every group in the society should be able to understand the word without translation so that people will know that it is related to their well being and they should be concerned and call for healthy public policy. One of the problems we faced when conducting this project was the quality of those who applied to be our staffs and volunteers. Most of them had no knowledge about local government, the old and new election system. New generation has never paid attention to public policy or urban problems, therefore, they have had limited knowledge on the topic they would have to campaign for. Therefore, it took time to train the staffs and volunteers. Apart from the knowledge, the young generation has had no determination to work hard. They want to get high pay but offer low performance. Moreover, many of the volunteers were students and when the university opened, they had limited time to work on the projects regardless of the training they got. Some students never join any student activities and had no experience to work with the community many people lack. This could be the result of family upbringing, educational system, including the trend of the Thai society. The young generation now has no patient because they always get something instant and quick. Many of those who worked for the project had no patient, not torelent or common sense which were one of the major problems of the campaigning process. The residents had no sense of strong citizenship, particularly many of those who newly migrated to the city. The new comers have no sense of belonging to the city. Very few have good understanding about the city. Traffic congestion and environmental degradation are something people expected. They think every city must face all these problems. They never heard that there are some well managed cities where healthy public policies have been proposed by all sectors of the society. There are three comments related to the role and performance of the Health System Research Institute that affects the performance of the project. First, there were too many changes of responsible persons. It was confusing who we should contact or seek advice from. Second, the delay of transferring funding made it difficult to work in each phrase. UDIF had to allocate some budget to keep the project continued. Third, in practice there was no other two supporting teams as formerly planned. Until the end of the projects the other two teams have not signed the contract. As a result, there was no other team that would comment and give suggestion for the improvement of the campaigning process. Lessons for campaigning in other cities are: First, the project leader must spend full time for the project to be able to work continuously and efficiently. Second, the project must have a strong team work. Third, the success of the campaign depends on the qualification of the candidates who run for the mayor. Unless there is a charismatic and committed candidate, the silent majority will not go to vote or push healthy public policy through him.en_US
dc.identifier.callnoWA546 ด161ก 2547en_US
dc.identifier.contactno46ค063en_US
dc.subject.keywordPublic Polityen_US
dc.subject.keywordการผลักดันนโยบายสาธารณะen_US
.custom.citationดวงจันทร์ อาภาวัชรุฒม์ เจริญเมือง and Duongchan Arpavatjrut Chareonmuang. "การให้ความรู้และผลักดันนโยบายสาธารณะเมืองเชียงใหม่." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1834">http://hdl.handle.net/11228/1834</a>.
.custom.total_download43
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1133.pdf
Size: 1.094Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record