• ไทย
    • English
    • Register
    • Login
    • Forgot Password
    • Help
    • Contact
  • Register
  • Login
  • Forgot Password
  • Help
  • Contact
  • English 
    • ไทย
    • English
View Item 
  •   Home
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • View Item
  •   Home
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Healthy public policy and health impact assessment (HPP-HIA)

ปาริชาติ ศิวะรักษ์; Pharichat Siwarak; สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์; สุรพล เหลี่ยมสูงเนิน; วนิดา วัฒนชีวโนปกรณ์; เทวธิดา ขันคามโภชก์; Sukran Rojjanaphaiwong; Suraphol Liamsungnoen; Wanida Watanachiwanopakorn; Thewatid Kankamphod; มูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษา;
Date: 2004
Abstract
ชื่องานวิจัย การประเมินผลการดำเนินงานของแผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อ สุขภาพและระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HPP-HIA)ผู้วิจัย ปาริชาต ศิวะรักษ์, สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์, สุรพล เหลี่ยมสูงเนิน, วนิดา วัฒนชีวโนปกรณ์, เทวธิดา ขันคามโภชก์แหล่งทุน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขปีที่พิมพ์ 2547บทคัดย่อ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)ได้ริเริ่มให้การสนับสนุนแผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HPP-HIA) โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาให้เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการปฏิรูประบบสุขภาพและการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบสุขภาพของชาติในอนาคต โดย สวรส. เห็นว่าช่วงสามปีแรกของการดำเนินการ (2544-2546) เป็นช่วงเวลาของการนำร่อง ทดลองความเหมาะสมและการยอมรับ HPP-HIA ในสังคมไทย และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรต่างๆ เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนา HPP-HIA ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปี 2547 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสทบทวน ประเมินประสบการณ์และพิจารณาทางเลือกในการดำเนินการในอนาคต ภารกิจของทีมประเมินคือการดำเนินการ ประเมินผลแผนงานฯ แบบ empowerment evaluation เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมประเมินสบการณ์ ความสำเร็จ ปัญหาและข้อจำกัดของแผนงานฯ ตลอดจนแนวทางการปรับปรุงแก้ไขและกำหนดทางเลือกในการพัฒนาแผนงานฯ การประเมินผลครั้งนี้จึงเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในทิศทางที่เหมาะสม แผนงานฯ มีแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การวิจัยกรอบการวิเคราะห์ HPP-HIA (2) การพัฒนากรอบโครงสร้างสถาบันที่เกี่ยวข้องกับ HPP-HIA (3) การรวบรวมกลุ่มคนที่มีศักยภาพจำนวนมากพอที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลง และ (4) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลักดันนโยบายสาธารณะที่คำนึงถึงมิติสุขภาพ โดยมุ่งหวังให้เกิด (1) การเรียนรู้ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคประชาสังคมและชุมชน (2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายให้คำนึงถึงมิติทางสุขภาพมากขึ้นและ (3) การสนับสนุนการขับเคลื่อนการปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ แผนงานฯ ดำเนินการในลักษณะเครือข่าย มีส่วนงานสำคัญคือ เครือข่ายนโยบายต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมและพลังงาน การจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตรและพัฒนาขนบท การพัฒนาเมืองและการขนส่ง และโครงการยุทธศาสตร์ฐานทรัพยากรและข้อตกลงระหว่างประเทศ เครือข่ายภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และส่วนกลาง ซึ่งรับผิดชอบบริหารจัดการทั่วไป นอกจากนั้นยังได้จัดตั้งและสนับสนุนสำนักพัฒนากระบวนการเรียนรู้นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และโครงการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน HPP-HIAในช่วงปี 2546-2547 ได้เกิด “สถานการณ์ใหม่” ที่สำคัญได้แก่ สวรส. ปรับลดวงเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และมีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของแผนงาน HPP-HIA
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
Fulltext
Icon
Name: hs1124.pdf
Size: 1.321Mb
Format: PDF
Download

Report broken link | User Manual
(* In case of download problems)

Total downloads: 141
 

 
 


 
 
Show full item record
Collections
  • Research Reports [1786]

    งานวิจัย

Related items

Showing items related by title, author, creator and subject.

  • การประเมินนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 11 เพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายในระยะถัดไป 

    อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว; Udomsak Saengow; ธารินทร์ เพ็ญวรรณ; Tharin Phenwan; ธนัย เกตวงกต; อภิญญา เลาหประภานนท์; Apinya Laohaprapanon; รัตติยา อักษรทอง; Ruttiya Asksonthong; Tanai Ketwongkot (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2018-09)
    นโยบายทางด้านสุขภาพในประเทศไทย ได้ใช้แนวคิดในการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นตามที่ระบุอยู่ใน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 47 และ พ.ร.บ. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น พ.ศ.2542 โดยเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ...
  • การประเมินแผนงานประเมินเทคโนโลยีและนโยบายเพื่อการลงทุนด้านสุขภาพ 

    โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; Health Intervention and Technology Assessment Program (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2012-04)
    สืบเนื่องจากการประเมินยุทธศาสตร์หลักของ HITAP ที่คณะผู้ประเมินชาวไทยและอังกฤษได้ทําการตรวจสอบในปี 2551/52 ตามความต้องการของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 1 ในปี 2554 HITAP ได้ริเริ่มให้มีการประเมินครั้งที่สอง ...
  • การประเมินกระบวนการนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ : ความก้าวหน้าและเกณฑ์การคัดเลือกมติเพื่อการประเมินเชิงนโยบาย 

    เพ็ญแข ลาภยิ่ง (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2012-05)
    การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านมา 3 ครั้ง ได้มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติรวม 34 มติ โดยมีระบบผลักดันและขับเคลื่อนผ่าน 5 ช่องทาง คือ 1) เสนอมติฯ ผ่าน คสช. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
Contact Us | Send Feedback | Report Problem
Theme by 
Atmire NV
 

 

Browse

HSRI Knowledge BankCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
Contact Us | Send Feedback | Report Problem
Theme by 
Atmire NV