แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษามิติทางสุขภาพกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

dc.contributor.authorสมบัติ เหสกุล(แซ่แฮ่)th_TH
dc.contributor.authorSombat Hesakulen_US
dc.contributor.authorผการัตน์ เพ็งสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorอัครพงษ์ อั้นทองth_TH
dc.contributor.authorพัฒนา ราชวงศ์th_TH
dc.contributor.authorกัมปะนาท ปิยะธำรงชัยth_TH
dc.contributor.authorขนิษฐา มาน้อยth_TH
dc.contributor.authorปรัชญา วงศ์ธนบัตรth_TH
dc.contributor.authorพันธ์ณรงค์ จันทร์แสงศรีth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:44Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:43:03Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:44Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:43:03Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1048en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1864en_US
dc.description.abstractการศึกษามิติทางสุขภาพกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (small and medium scale industry: SMIs) มีวัตถุประสงค์การศึกษา 4 ประการ คือ 1. เพื่อทบทวนสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนา SMIs ของประเทศในด้านการผลิต การจ้างแรงงาน และการบริโภค 2. เพื่อทบทวนแผนพัฒนานโยบาย กฎหมาย และมาตรการการส่งเสริมและการสนับสนุนการพัฒนา SMIs ของรัฐ 3. เพื่อกำหนดกรอบการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางสุขภาพของการพัฒนา SMIs ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และ 4. เพื่อเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นจากการกำหนดกรอบการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่มีต่อการพัฒนา SMIs ทั้งนี้การศึกษามีเป้าหมายที่ต้องการกำหนดกรอบขอบเขตการพัฒนานโยบาย SMIs ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบายการพัฒนา SMIs การศึกษาได้ใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) เป็นเครื่องมือในการศึกษาเพื่อกำหนดขอบเขตปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพในระดับนโยบาย วิธีการศึกษาได้ใช้การทบทวนเอกสารต่างๆ การสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการศึกษา 5 กรณีศึกษา ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต อุตสาหกรรมโรงสีข้าวอุตสาหกรรมที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมในเขตเมือง และอุตสาหกรรมเซรามิคและเครื่องปั้นดินเผา จากรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย ปี 2544 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2543 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (small and medium entrepreneur: SMEs) มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ประมาณร้อยละ 40.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ โดยมีมูลค่าประมาณ 3.6-4.9 ล้านล้านบาทต่อปี ภาคการผลิตมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 25 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ในปี 2542 สถานประกอบการ SMIs มีจำนวน 99,568 ราย เป็นขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 4,057 และ 95,511 ราย สถานประกอบการ SMIs กว่าร้อยละ 40 ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาเป็นกรุงเทพมหานครและภาคเหนือร้อยละ 18.3 และ 13.7 ของจำนวนสถานประกอบการ SMIs ตามลำดับ สถานประกอบการกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสถานประการทั้งหมดเป็นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมในกลุ่มโลหะประดิษฐ์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะและอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ จำนวนการจ้างงานของ SMIs มีประมาณ 1.928 ล้านคน หรือร้อยละ 57.0 ของจำนวนการจ้างงานทั้งหมดของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยในจำนวนนี้ กว่าร้อยละ 78.5 เป็นการจ้างงานของสถานประกอบการขนาดย่อม กรอบนโยบายการพัฒนา SMIs ของไทย จากอดีตถึงปัจจุบันได้ถูกกำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ นโยบายของรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนา SMIs ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ และดำเนินการอย่างจริงจังในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม ก่อนปี 2540 การพัฒนา SMIs เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวม และ SMIs ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยสนับสนุนการผลิตของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และรองรับผลผลิตต่อเนื่อง ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 การพัฒนา SMIs ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยมาตรการต่างๆ ทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้นโยบายการพัฒนา SMIs เป็นนโยบายที่มีเป้าหมายเพื่อต้องการให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องการผลิต และต่อเชื่อมเข้ากับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นแหล่งรองรับแรงงานจำนวนมากนอกภาคการเกษตร สร้างรายได้ให้แก่ประชากรของประเทศ และส่งเสริมให้ SMIs มีบทบาทเป็นตัวจักรสำคัญในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีความเจริญเติบโตแทนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ กระบวนการกำหนดนโยบายการพัฒนา SMIs ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ นโยบายการพัฒนา SMIs ไม่มีความชัดเจนในกระบวนการ ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 นโยบายของรัฐบาลเป็นตัวกำหนดการพัฒนา SMIs อย่างชัดเจน โดยดำเนินการผ่านระบบการดำเนินงานของภาคราชการที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรองรับการทำงาน และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายต่อเนื่องจากที่กำหนดโดยรัฐบาล ขณะเดียวกัน กรอบทางกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนา SMIs เมื่อพิจารณาตามความเกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แบ่งเป็น 4 หมวด คือ ผู้ผลิต แรงงาน ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม พบว่า กฎหมายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและแรงงาน จะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง ส่วนกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ทุกคนในสังคมต้องปฏิบัติ มิได้เจาะจงถึงการประกอบการ SMIs เพียงอย่างเดียวจากการทบทวนสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนา SMIs ของประเทศในด้านการผลิต การจ้างแรงงาน และการบริโภค และการทบทวนแผนพัฒนา นโยบาย กฎหมาย และมาตรการการส่งเสริมและการสนับสนุนการพัฒนา SMIs ของรัฐ การศึกษาได้เสนอกรอบการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางสุขภาพนโยบายการพัฒนา SMIs ไว้ 2 ประเด็นหลัก คือแนวนโยบายของการพัฒนามุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพทางด้านใดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการพัฒนาคืออะไรและมีผลอย่างไร นอกจากนี้ หลักการพื้นฐานสำคัญ 4 ประเด็น ที่ควรได้รับการคำนึงถึงต่อเนื่องในอนาคต คือความเสมอภาคในการเข้าถึงและใช้นโยบายที่จะต้องพิจารณาถึงกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายนั้นๆ ความยุติธรรมในการแบ่งสรรทรัพยากรและกระจายผลประโยชน์จากนโยบาย ซึ่งจะเป็นการลดความไม่เทียมกันในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนานโยบายที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่จะพุ่งเป้าที่การพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตด้านเดียว การพัฒนาความรู้ร่วมกันระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้รับผลกระทบจากการใช้นโยบายen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent5579026 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectEnvironmental Healthen_US
dc.subjectEnvironmental Pollutionen_US
dc.subjectHealth impact assessmenten_US
dc.subjectIndustry and stateen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectสิ่งแวดล้อมเป็นพิษen_US
dc.subjectการประเมินผลกระทบทางสุขภาพen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการศึกษามิติทางสุขภาพกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมth_TH
dc.title.alternativeThe development of health impact assessment process for small and medium enterprise promotion policyen_US
dc.description.abstractalternativeThe study of health dimension and the development of small and medium scale industry (SMIs) has 4 objectives. Firstly, it is to review the situations and the trend of SMIs development towards production, employment, and consumption. The second is to review the development plan of policy, laws, promotion and support policy towards SMIs development. The third is to specify the analytical and health impact assessment framework of SMIs development. The last objective is to reveal and get feedback of setting this analytical and health impact assessment framework on SMIs development. Besides, the study aims to specify the framework of SMIs policy development in which it affects people’s health.The study uses the Health Impact Assessment (HIA) approach as the tool in order to specify the scope of factors that affect health. The methodology of the study includes literature review, the interviews with concerned organizations and five case studies; those are foods and product manufacturing industry, sub-contract production, rice mill industry, the industries affected urban environment, and ceramic and pottery industry.According to the monitoring report on Thailand’s SMEs in 2001 by the SMEs Promotion Office, it is found that during the year 1994 to 2000 SMEs had a 40% proportion of its Gross Domestic Product (GDP). The value was approximately 3.6 to 4.9 thousand billion Baht a year. The production sector had a 25% proportion in the SMEs Gross Product.In 1999, there were totally 99,568 SMIs’ manufacturers; 4,057 manufacturers were medium industry and 95,511 manufacturers were small industry. More than 40% of these firms were in the North-East, the next ranks were 18.3% in Bangkok and 13.7% in the North. More than half of all firms was foods and beverages industry. The other main industries were metallic product industry, non-metallic product industry, and machinery and equipment industry. The employment in SMIs was about 1.928 million labours: 57.0% of the total amount in manufacturing sector. In this figure, more than 78.5% was the employment in small industrial firms.The framework of SMIs development policy of Thailand has been stated in all National Social and Economic Master Plan. It is more emphasized in the government of Chatchai Chunhawan and has been pushed into practical work in the government of Taksin Chinnawat. Until 1997, the SMIs development was only a part of the industrial development. The SMIs was expected to support large scale industry in the production and to be input material suppliers. After the economic crisis in 1997 the SMIs development has been supported with many effective economic measurements. Besides, the SMIs development policy aims to (1) initiate the development of supported industries, and connect them to large scale industry development, (2) create employment for a number of labours in non-agriculture sector, (3) create the locals income, and (4) promote SMIs to play an important role in Thailand’s economic growth instead of large scale industries that are affected by the economic crisis.Before the economic crisis the process of SMIs policymaking was not in clear figure. After the crisis, the government’s policy plays its role in the SMIs development clearly. It is operated through the operations of concerned government’s organizations. It is also opened to private sector to become participants of continued policy development. Meanwhile, the laws concerned SMIs development accordance with 4 stakeholders; producer, labour, consumer, and environment; are most related to producer merely. The laws related to labour and consumer are most about the protections, but the laws related to environment are in general enforcement; not specific to the SMIs.From the review of the situations and the trend of SMIs development towards production, employment, and consumption and the review of the development plan of policy, laws, promotion and support policy towards SMIs development, the study hereby proposes 2 aspects of the analytical and health impact assessment framework on the SMIs development policy.In which way does the development policy aim to benefit for health?What are the continuous effects of the development and what are the results?In addition, there are 4 basis principal that should be considered in long term;the equity of accessibility and using policy, the stakeholder of each policy must be concernedthe fairness of resources distribution from using the policy in which it could reduce the unequal social and economic structurethe impacts of using policy towards health rather than the target to the economic growth onlythe policy-makers and people affected by policy should be co-developers of evident based and knowledgeen_US
dc.identifier.callnoWA754 ส254ก 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค040en_US
dc.subject.keywordSmall and medium enterpriseen_US
dc.subject.keywordผลกระทบทางสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมen_US
dc.subject.keywordนโยบายอุตสาหกรรมของรัฐen_US
.custom.citationสมบัติ เหสกุล(แซ่แฮ่), Sombat Hesakul, ผการัตน์ เพ็งสวัสดิ์, อัครพงษ์ อั้นทอง, พัฒนา ราชวงศ์, กัมปะนาท ปิยะธำรงชัย, ขนิษฐา มาน้อย, ปรัชญา วงศ์ธนบัตร and พันธ์ณรงค์ จันทร์แสงศรี. "การศึกษามิติทางสุขภาพกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1864">http://hdl.handle.net/11228/1864</a>.
.custom.total_download76
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1048.pdf
ขนาด: 4.045Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย