Show simple item record

Knowledge to paradigm to healthiness

dc.contributor.authorนิพนธ์ แจ่มดวงth_TH
dc.contributor.authorNipon Jaemduangen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:51Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:27Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:51Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:27Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1038en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1880en_US
dc.description.abstractด้วยทัศนะพื้นฐานของมนุษย์ที่มองเห็นชีวิตตนเองและโลกรอบตัวในทิศทางแห่งการวิวัฒน์ไปเบื้องหน้า จากความต่ำต้อยไปสู่ความสูงส่ง ความสับสนไปสู่ระเบียบแบบแผน ความมืดมิดไปสู่แสงสว่าง และความล้าหลังไปสู่ก้าวหน้า ที่สุดจนยุคของก้อนหินไปสู่ดวงดาว หรือยุคแห่งห้วงอวกาศ อันเป็นไปในลักษณะการเปรียบเทียบอย่างคู่ตรงกันข้าม หรือทวิลักษณะ ทั้งปวงนี้ได้ช่วยให้เผ่าพันธุ์มนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตผู้รู้จักคิดใช้เหตุผล สามารถสรรค์สร้างความจำเริญรุดหน้าต่างๆ ในทางวัตถุเพื่อเกื้อกูลแก่ชีวิตขึ้นในท่ามกลางโลกแวดล้อม ประกอบกับในกรีก-ยิว-คริสเตียน ซึ่งเป็นต้นธารของกระแสอารยธรรมตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงในปัจจุบันนั้น มีความเชื่อในเรื่องความจำเริญอย่างเป็นเส้นตรง อันจะนำพาเราไปสู่ยุคทองของพันปีอันไพบูลย์ (Millennium) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอบแห่งสหัสวรรษอันได้เริ่มต้นขึ้นใหม่ภายหลังคริสต์สมภพ 2000 ปี ดังเมื่อถึงวาระโอกาสดังกล่าว เพราะว่าเป็นความคิดกระแสหลักของยุคสมัย ผู้คนแทบทั่วทั้งโลกจึงพากันฉลองรื่นเริงต้อนรับการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ อันมีนัยะของความก้าวหน้าทั้งทางวัตถุและจิตวิญญาณ ทว่าจากสภาพของความเป็นจริงในโลก สังคม ตลอดจนวิถีชีวิตผู้คนนับแต่ปี ค.ศ. 2001 ก็ถูกพิสูจน์ในกาลต่อมาว่าจะเป็นยุคทองที่ไพบูลย์ดั่งความคิดความฝันแต่ก่อนหน้านั้นก็หาไม่ ในขณะที่ความคิดความเชื่อในสายตะวันตก มุ่งมองไปยังเบื้องหน้าอย่างเป็นเส้นตรง ทัศนะรากฐานของการมองชีวิตและโลกในฝ่ายตะวันออก ดังกระแสพุทธและกระแสพราหมณ์นั้นกลับแลเห็นว่า สรรพสิ่งล้วนดำเนินไปตามยุคสมัยของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นรอบๆ ไม่ว่าจะเป็นรอบของโลกวินาศในทางวัตถุ (physical destruction) หรือรอบความวินาศทางศีลธรรมของมนุษย์ในโลก (moral destruction) ก็ตาม โดยเฉพาะในสังคมแถบเอเซียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ มีความเชื่อถือที่พ้องต้องกันในเรื่องพุทธศาสนายุกาลว่ามีประมาณ 5000 ปี อันเนื่องกันอยู่กับการอายุกาลของโลกและการอุบัติของพระอนาคตพุทธอาริยเมตไตรย คติข้างต้นนี้มีอิทธิพลต่อวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนในภาคส่วนดังกล่าวอยู่เป็นอันมาก เฉพาะอย่างยิ่งคือ สมมติฐานความเชื่อที่ว่าพระสัทธธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันจะค่อยๆ เสื่อมถอยลงจากความรู้ความเข้าใจในหมู่ศาสนิก ซึ่งเรียกกันว่าเป็นอาการเรียวลงของยุคสมัย (degeneration of time) อันได้รับอิทธิพลมาจากจารีตแบบพราหมณ์ ปรารภเหตุดังกล่าวนี้เองที่ทำให้พุทธศาสนิกจำนวนไม่น้อยพากันตื่นเต้นเป็นพิเศษกับการมาถึงของกึ่งพุทธศาสนายุกาล หรือ 2500 ปีแห่งอายุพุทธศาสนา ไม่ว่าจะบนทัศนะพื้นฐานที่ว่าสิ่งทั้งหลายวิวัฒน์ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง หรือด้วยการแลเห็นว่าทั้งหมดทั้งสิ้นนี้แปรเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นวัฏฏะสงสารของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมทรามลง แล้วมลายหายสูญไปในที่สุด (ชาติ ชรา มรณะ) ก็ตามที มีการค้นพบว่าในทั้งสองทัศนะท่าที หรือกระบวนทัศน์หลักๆ เหล่านี้ได้ปรากฏความคิดในทางทวนกระแสขึ้นอย่างน่าสนใจ ดังในข้างฝ่ายความเชื่อในเรื่องวิวัฒนาการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์นั้น ผู้คนจำนวนหนึ่งได้ตระหนักว่าความหมายของอาการก้าวหน้าที่แท้จริงใช่ความจำเริญในทางสร้างสรรค์วัตถุขึ้นมาประคบประหงมทางร่างกาย หากอยู่ที่การประคับประคองจิตใจให้มีความละเอียดละเมียดสูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไปต่างหาก ส่วนในกระแสความเชื่อที่ว่าโลกมีรอบเจริญและเสื่อมลงเป็นคราวๆ ภายใต้ธรรมชาติของ ชาติ ชรา มรณะ นั้น ก็ได้มีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นว่าควรท้อแท้ ทอดอาลัย หากควรนำมาพิจารณาเป็นเงื่อนไขในมุมกลับในทางธรรมสังเวช อันจะช่วยให้เร่งขวนขวายกระทำการเพื่อปลดปล่อยตนเองและผู้อื่นในฐานะเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย จนอาจที่จะข้ามพ้นวงวัฏนี้เสียได้แม้ในปัจจุบัน ตัวอย่างของนักคิดในฝ่ายทวนกระแสชั้นนำเหล่านี้ย่อมได้แก่ อาเธอร์ ซี คล้าก และสแตนลีย์ คูบิค ซึ่งยืนโดดเด่นอยู่ในสายวัฒนธรรมหนึ่ง และท่านพุทธทาสภิกขุกับขบวนการสวนโมกขพลารามที่มีความโดดเด่นอยู่ในอีกสายวัฒนธรรมหนึ่ง สภาพความเป็นจริงแห่งการดำรงอยู่ของทัศนะที่แม้จะดูประหนึ่งว่าเป็นกระแสรองแต่ก็แสดงออกอย่างมีนัยะสำคัญภายใต้ทัศนะกระแสหลักของสังคมหนึ่งใดนั้น มีความสอดคล้องกับพระพุทธพจน์ที่ตรัสรับรองว่า แม้ในหมู่ประชาชนทั้งหลายจะมีความพอใจ ยินดี บันเทิง อยู่ในกามคุณ การถือตัวความวุ่นวายไม่สงบ และประกอบอยู่ด้วยความไม่รู้นั้น แต่กระนั้นเมื่อได้รับรู้ธรรมะที่ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณ กำจัดการถือตัว ที่เป็นไปเพื่อความสงบ และเป็นธรรมะที่กำจัดอวิชชาอันพระตถาคตเจ้านำมาแสดงแล้ว ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง เพื่อให้เข้าใจอย่างทั่วถึงอย่างน่าอัศจรรย์ ในโลกซึ่งวัตถุถูกพัฒนาจนก้าวหน้า แต่วิถีชีวิตผู้คนภายในสังคมกลับมิได้สุขสมดังหวัง เช่นเดียวกับสาขาวิทยาการที่มุ่งหน้าค้นคว้าหากฎธรรมชาติในด้านต่างๆ ให้ได้จนตายตัว เพื่อนำมารับใช้มนุษย์อย่างเต็มที่ จนกลายมาเป็นเครื่องกักขังความคิดของมนุษย์มิให้ขยายขอบเขตกว้างไกลไปกว่านั้นได้ และด้วยแบบแผนการดำเนินชีวิตที่วางอยู่บนทิฏฐิที่ผิดพลาด ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะแท้จริงของกฏธรรมชาติชั้นที่อยู่ลึกซึ้งลงไป ภายใต้สภาวะการณ์นี้ได้ก่อให้เกิดแรงเสียดทานบีบคั้นขึ้นแก่ชีวิต ทั้งในระดับของปัจเจกบุคคล สังคมและระบบนิเวศ กลายเป็นการเสียสมดุลอย่างลึกซึ้งทางวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในความหมายกว้าง แต่พร้อมๆ กันนั้น ภาวะกดดันบีบคั้นก็ได้ก่อให้เกิดแรงปฏิกริยาขึ้นในหมู่คนกลุ่มเล็กๆ ผู้ต้องการก้าวไปให้พ้นสภาวะทุกข์ที่เป็นผลผิดพลาดทางทัศนะของยุคสมัยที่คนส่วนใหญ่มีความสำคัญมั่นหมายอยู่ ไม่ว่าจะในเรื่องวิทยาการความรู้ แบบแผนการดำเนินชีวิต กระทั่งความเป็นตัวตนในทางอัตลักษณ์ ภายใต้วิกฤตการณ์กว้างใหญ่นี้ การดิ้นรนขวนขวายเพื่อแสวงหาทางออกดำเนินไปพร้อมๆกันทั้งกระบวน ในทิศทางที่เชื่อมโยงถึงกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นวงการวิทยาศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วรรณกรรม วัฒนธรรม ตลอดจนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น ชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ตลอดไปถึงสิ่งแวดล้อม ต่างล้วนดำเนินไปในทิศทางของทัศนะอันเดียวกัน นักฟิสิกส์บางพวกบางเหล่า กวีศิลปินบางกลุ่ม นักปฏิรูปศาสนาตลอดจนนักเคลื่อนไหวทางสังคมบางคนที่ถูกสั่นคลอนในทางความเชื่ออย่างรุ่นแรง ต่างก็เริ่มตั้งคำถามในความถูกต้องสอดคล้องกับความจริงภายใต้ทัศนะอันตนมีต่อชีวิตและโลกแบบเดิมๆ เขาเหล่านี้ตะหนักถึงความจำเป็นและ อนิสงส์ของการพลิกมุมมอง ตลอดจนการวางท่าทีต่อความจริงแท้ในโลกเสียใหม่ทั้งชุด โดยนัยนี้พวกเขาเริ่มต้นเสาะแสวงหาแนวความคิดทัศนะใหม่ ภาษาใหม่ หรือวัตรปฏิบัติอย่างใหม่ที่อาจนำพาพวกเขาให้เข้าถึงและแสดงออกถึงความจริงอย่างใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ที่ก่อให้เกิดผลสั่นสะเทือนความสำคัญมั่นหมายในแบบเดิม ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบขึ้นได้ทั้งนัยลบและนัยบวก ทำลายล้างหรือสร้างสรรค์ อย่างไม่อาจปฏิเสธ ด้วยเหตุที่ว่าแม้จะถูกกดดันบีบคั้นจากปัญหาใหม่ๆ ที่ยุ่งยากซับซ้อน และกำลังสูญเสียพลังและบทบาทของตนลงไปเรื่อยๆ แต่สถาบันที่ทรงอำนาจในสังคมเดิมก็หาได้ยอมรับถึงความอุดตันในภาคส่วนของตน แล้ว ยินยอมส่งมอบบทบาทการนำ ให้แก่พลังสร้างสรรค์ของคนในฝ่ายกระแสรองไปได้ง่ายๆ ไม่ แต่จะยังดิ้นรนเพื่อเกาะกุมสถานะเดิมไว้อย่างเหนียวแน่นและโดยมากมักใช้วิธีการอันรุ่นแรง ดดยฝ่ายกระแสรองย่อมทำการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคมเดิมสำหรับมาใช้ในรูปแบบใหม่ได้ด้วย เพื่อที่วิถีวิวัฒน์ทางวัฒนธรรมจะเคลื่อนต่อไปได้ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอย่างใหม่ ภายใต้ความล้ำก่ายกันอยู่ของแม่บททางทัศนะอันแตกต่างๆ ซึ่งแสดงออกผ่านทางกิจกรรมของสถาบันหรือขบวนการเคลื่อนไหวจัดการกับปัญหาบรรดามีที่รุมเร้าเข้ามา จะยังคงไม่ปรากฏถึงผลสุดท้ายที่สิ้นเสร็จเด็ดขาด อันได้แก่การก่อปรากฏขึ้นของทัศนะใหม่อันแจ่มชัดทั้งชุดระบวน สังคมจะยังคงมีภาระกิจอีกมากมายในการคลี่คลายความขัดแย้งในตัวกเองเพื่อไปสู่จุดแห่งดุลยภาพ ซึ่งบนเส้นทางดำเนินสายนั้น ยังคงมีปัญหาของ “สิ่งที่ไม่อาจแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมได้ว่าดำรงอยู่ และไม่แน่ใจว่าจะมีอยู่ด้วย” ที่รอคอยให้”นักประวัติศาสตร์ผู้จริงจังและมีจิตสำนึก” ให้มา “จัดการราวกับว่ามันมีอยู่ เพื่อการเข้าไปใกล้กับการดำรงอยู่และการเกิดที่เป็นไปได้” ซึ่งก็คือการก่อปรากฏของทัศนะอันมีต่อความจริงแท้อย่างใหม่ หรือกระบวนทัศน์ใหม่นั้นเองth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2430513 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectPsychophysiologyen_US
dc.subjectMind and bodyen_US
dc.subjectจิตสรีรวิทยาen_US
dc.subjectจิตใจและร่างกายen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleพรมแดนความรู้ทางด้านจิตวิญญาณและสุนทรียภาพกับสุขภาพในกระบวนทัศน์ใหม่th_TH
dc.title.alternativeKnowledge to paradigm to healthinessen_US
dc.description.abstractalternativeConfrontation of two concepts on human civilization has been more imminent in this era. While the west represents linear evolution, the east represents circular development of human history But in the world with material development, the way of life of the people is not as happy as they deemed to be. The rigidity of knowledge that used for human development has become cage to imagination. Thus freezing the thought so that it is not corresponding to reality of nature. This brought about suffering on the lives of individuals and societies and also the deeper unbalance in ecology causing the problem culture that lead to the problem of health. In this wider crisis, there struggles to find solution. This happened in various fields of knowledge and activities as in science, religion, culture, art and social movements. Whether physicists or artists both have realized the necessity to find new perspectives. They realized the necessity to find a new manner toward the world. They need new ideas and new language and new practice to suit the new reality Surely, there will be resistance from the people and the systems of the old paradigm. But this paradigm change is not the replacement of new idea for the old one. For it will include and transcend the old world and integrate it to the new one. It will find new way of management and politics combining truth with beauty transcending any violence causing by the limits of the old paradigm. Combining the east and west concept of human development in the most creative way imaginable. Instead of circle or linear we will come up with spiral dynamics with corresponding to the form of life force.en_US
dc.identifier.callnoWM105 น616พ 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค047en_US
dc.subject.keywordWay of Lifeen_US
dc.subject.keywordวิถีชีวิตen_US
.custom.citationนิพนธ์ แจ่มดวง and Nipon Jaemduang. "พรมแดนความรู้ทางด้านจิตวิญญาณและสุนทรียภาพกับสุขภาพในกระบวนทัศน์ใหม่." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1880">http://hdl.handle.net/11228/1880</a>.
.custom.total_download98
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1038.pdf
Size: 1.212Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record