Show simple item record

Change management of the Ministry of Public Health in enhancing administrative reform and its mission for the next decade

dc.contributor.authorไพโรจน์ ภัทรนรากุลth_TH
dc.contributor.authorPairote Pathranarakulen_US
dc.contributor.authorวีระวัฒน์ ปันนิตามัยth_TH
dc.contributor.authorWeerawat Phannitamaien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:57Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:48:19Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:57Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:48:19Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1894en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก : รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการและภาพพันธกิจในทศวรรษหน้าth_TH
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับการปฏิรูประบบบริหารราชการและภาพพันธกิจในทศวรรษหน้า มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอภาพทัศน์ (Scenario) การเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และโครงสร้างระบบบริหารราชการกระทรวงสาธารณสุขที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยมุ่งศึกษาถึงผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานโดยเฉพาะเรื่องการบริหารยุทธศาสตร์ กำหนดกรอบวิสัยทัศน์ ภาพพันธกิจ และขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขที่เชื่อมโยงกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เพื่อเสนอบทบาทและหน้าที่ใหม่ และเสนอรูปแบบโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม ตลอดจนเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ และกรอบทิศทางกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อสนองต่อบทบาทใหม่แนวทางการศึกษาวิจัยอาศัยแนวทางเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้เทคนิคในการศึกษาวิจัยผสมผสานหลายรูปแบบ รวมถึง การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ระดับลึกผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารในกระทรวงสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การระดมความคิดร่วมกับที่ปรึกษาการวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นวิสัยทัศน์และภาพพันธกิจในอนาคต โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม และแผนกำลังคนด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหาร รวมถึงการจัดทำสนทนากลุ่ม การสำรวจความคิดเห็นและการศึกษาดูงานภาคสนามโดยเลือกพื้นที่ตัวแทนจาก 5 ภาค รวม 13 จังหวัด ผลการศึกษาวิจัยที่สำคัญสรุปเป็น 4 ประเด็น คือ ประการแรก ความก้าวหน้าของการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงยุทธศาสตร์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงมองว่า ในช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสับสน เนื่องจากมีหลายเรื่องที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่ไม่สามารถชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงจะไปในทิศทางใด ภาพการเปลี่ยนแปลงนั้นมีการจัดกลุ่มภารกิจทำให้เกิดการบูรณาการและการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพมากขึ้น ขณะที่หลายท่านมีทัศนะว่าโครงสร้างยังคงเหมือนเดิม เนื่องจากมองว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการโยกย้ายกลุ่มงานเท่านั้น ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคาดหวังว่าในอนาคตกระทรวงสาธารณสุขควรมีโครงสร้างที่เล็กลงแต่มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น ประการที่สอง วิสัยทัศน์และพันธกิจ จากทัศนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้แสดงความคิดเห็นถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจ มองว่า “กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นแกนนำทางความคิดในการประสานความร่วมมือในการสร้างสังคมไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี” ส่วนพันธกิจในอนาคตเห็นพ้องกับกรอบพันธกิจที่มุ่งไปสู่ Health Stewardship ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค และเน้นการส่งเสริมสุขภาพประการที่สาม บทบาทหน้าที่และโครงสร้างที่เหมาะสม บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในทัศนะของผู้บริหาร ได้แก่ เสริมสร้างสุขภาพ พัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองหรือป้องกันตนเองด้านสุขภาพได้ ประสานและยกระดับเครือข่ายประชาสังคมที่เข้มแข็ง รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการด้านงานบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และการส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องประการที่สี่ แนวทางพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และทิศทางกำลังคนด้านสุขภาพ ให้ความสำคัญเรื่องแนวคิดในการจัดทำแผนกำลังคนของกระทรวงสาธารณสุขให้มีความเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป และต้องมีความเหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ การพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการปรับบทบาทภารกิจจากบริการมาสู่การกำกับดูแลตรวจสอบ มีการพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพภายใต้สภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectHealth Planning Organizationsen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการและภาพพันธกิจในทศวรรษหน้าth_TH
dc.title.alternativeChange management of the Ministry of Public Health in enhancing administrative reform and its mission for the next decadeen_US
dc.identifier.callnoWA525 พ992ก 2548en_US
dc.identifier.contactno46ค070en_US
dc.subject.keywordChange Managementen_US
dc.subject.keywordNew Public Managementen_US
dc.subject.keywordFuture Scenarioen_US
dc.subject.keywordAdministrative Reformen_US
dc.subject.keywordการบริหารการเปลี่ยนแปลงen_US
.custom.citationไพโรจน์ ภัทรนรากุล, Pairote Pathranarakul, วีระวัฒน์ ปันนิตามัย and Weerawat Phannitamai. "การบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการและภาพพันธกิจในทศวรรษหน้า." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1894">http://hdl.handle.net/11228/1894</a>.
.custom.total_download166
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1233.pdf
Size: 1.947Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record