Show simple item record

Survey on OPD Users at Kon-Kaen Hospital In 1997

dc.contributor.authorวีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์en_US
dc.contributor.authorWeerapan Supanchaimaten_US
dc.contributor.authorสุวรรณา กิตติศรีวรพจน์en_US
dc.contributor.authorสุภาพร ตันติพานิชธีระกุลen_US
dc.contributor.authorสุพัตรา ศรีวณิชชากรen_US
dc.contributor.authorธานินทร์ หอมปลื้มen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:59Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:49:17Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:59Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:49:17Z
dc.date.issued2541en_US
dc.identifier.otherhs0273en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1897en_US
dc.description.abstractการสำรวจสภาวะของประชาชนที่มาใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของผู้มาใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาในด้านการ กระจายของที่พักอาศัย การมีสิทธิ์/สวัสดิการรักษาพยาบาล ลักษณะปัญหาสุขภาพ ค่าใช้จ่าย เวลาที่ใช้ในการมารับบริการ ความเห็นต่อบริการ และความต้องการต่อบริการ โดยการสุ่มตัวอย่างผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ ในระยะเวลา 5 วันทำการในเดือนธันวาคม 2539 และสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการในส่วนที่เป็นข้อมูลทั่วไป และความเห็นต่อบริการ และให้แพทย์ พยาบาลที่ให้บริการผู้ใช้บริการคนนั้นให้ความเห็นว่าปัญหาสุขภาพนั้นควรดูแลได้เหมาะสม โดยบุคลากรระดับใด และมีการตรวจพิเศษ/ตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือไม่ ผลการศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 784ราย เป็นผู้ใช้บริการที่แผนกโอพีดีทั่วไปร้อยละ 49.4 โอพีดีเฉพาะทางร้อยละ 22.4 คลินิกพิเศษร้อยละ 15.9 สัดส่วนเพศหญิงและชาย สัดส่วนโครงสร้างอายุของผู้ใช้บริการมีความแตกต่างกันตามแผนกห้องตรวจบริการ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแม่บ้าน/อยู่บ้านเฉย ๆ รับจ้าง และกำลังเรียน/ในปกครองเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลใด ๆ จำนวนเฉลี่ยร้อยละ 17.8 กลุ่มผู้ที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีจากรัฐ (สปร)มีสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 35.2) รองลงมาคือผู้ที่มีสวัสดิการฯข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 23.3) และผู้มีสุขภาพ (ร้อยละ 14.3) แต่ทั้งนี้น้ำหนักของสัดส่วนผู้มีสิทธิ์ฯ ในแต่ละแผนกห้องตรวจมีความแตกต่างกัน เป็นผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครศรีอยุธยาทั้งหมดร้อยละ 52.7 โดยอยู่ในเขตเทศบาลร้อยละ 22.1 และนอกเขตเทศบาลร้อยละ 30.6 เป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่นอกอำเภอเมืองฯ แต่ยังอยู่ในจ.อยุธยา ร้อยละ 43.6 และมาจากนอกจังหวัดอยุธยาร้อยละ 3.7 ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาสูงสุด (ร้อยละ 56.5) ผู้ใช้บริการมาเพียงคนเดียว ร้อยละ 43.9 ที่เหลือมีผู้อื่นที่เป็นพ่อแม่ หรือบุตรหรือญาติพี่น้องมาร่วมด้วยอย่างน้อย 1 คน เดินทางมาโรงพยาบาลด้วยรถประจำทางสูงสุด (ร้อยละ 55.8) รองลงมาคือด้วยรถยนต์ส่วนตัว (ร้อยละ 20.3) ค่าใช้จ่าเฉลี่ย 21-85 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นตามระยะห่างจากบ้านพักถึงโรงพยาบาล ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 23 นาที 1 ชั่วโมง ซึ่งต่างกันระหว่างผู้ใช้บริการในแต่ละแผนก ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเก่าที่มารับบริการตามนัดถึงร้อยละ 47 และมาเองร้อยละ 47 มาด้วยระบบการส่งต่อเพียงร้อยละ 5.9 มาโรงพยาบาลนี้ด้วยเหตุผลส่วนใหญ่คือ เดินทางสะดวกสูงสุด รองลงมาคือมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ป่วยเก่า (รักษาประจำ) ซึ่งมีค่าร้อยละต่างกันระหว่างแผนก ในการมารับบริการครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาร้อยละ 33-100 ซึ่งต่างกันระหว่างแผนกและส่วนที่เหลือเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 90-709 บาท ผู้มาใช้บริการที่คลินิกโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงจ่ายสูงสุด รองลงมาคือที่คลินิกเบาหวาน และกลุ่มที่จ่ายสูงสุดคือ กลุ่มที่สวัสดิการฯของข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (เฉลี่ย 503 บาท) ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ของผู้มาใช้บริการ (ตามข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้บริการ) คือ โรคทั่วไปเจ็บเล็กน้อย (ร้อยละ 27.9) โรคเรื้อรังรักษาต่อเนื่อง (ร้อยละ 23.4) และมารับยาเดิมตามนัด ร้อยละ 21.9 ซึ่งสัดส่วนนี้ความต่างกันระหว่างแผนก กล่าวคือ โอพีดีทั่วไปมาด้วยปัญหาโรคทั่วไปเจ็บเล็กน้อยสูงสุด ส่วนโอพีดีเฉพาะทางและคลินิกพิเศษที่เป็นการรักษาเฉพาะทางมาด้วยปัญหา รับยาเดิม และเป็นโรคเรื้อรังรักษาต่อเนื่องสูงสุด ส่วนแพทย์ผู้ตรวจให้ความเห็นต่อปัญหาสุขภาพที่ใช้บริการนั้นว่าควรดูแล ให้เหมาะสมโดยแพทย์เฉพาะทางร้อยละ 28 โดยแพทย์ทั่วไปร้อยละ 48 โดยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหรือพยาบาลร้อยละ 17 ทั้งนี้ผู้ใช้บริการในแต่ละแผนกมีความแตกต่างกันมาก ส่วนที่เป็นโอพีดีทั่วไป โอพีดีเฉพาะทาง คลินิกเฉพาะทางคลินิกส่งเสริมสุขภาพ และคลินิกวัณโรคควรดูและโดยแพทย์เฉพาะทางร้อยละ 25.7, 87.2, 14.6, 2.2 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ ในส่วนโอพีดีทั่วไปมีการตรวจพิเศษ/ตรวจทางห้องปฏิบัติการร้อยละ 15 แผนกจักษุวิทยามีการตรวจพิเศษร้อยละ 58 คลินิกเบาหวาน และคลินิกโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ร้อยละ 58.5 และร้อยละ 12.7 ตามลำดับ ระยะเวลาในการรอรับบริการที่ห้องบัตร ห้องตรวจแพทย์ ห้องจ่ายเงิน ห้องยา เฉลี่ย 9.8 นาที,53.6 นาที,12.3 นาที และ 25.4 นาที ตามลำดับ ระยะเวลาที่แพทย์ตรวจเฉลี่ย 4 นาที รวมเวลาในการรอรับบริการทั้งหมดเฉลี่ย 2.7 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้มีค่าต่างกันระหว่างแผนก โดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่คลินิกเบาหวานรอนานที่สุด คือเฉลี่ย 7.6 ชั่วโมง แม้ปัญหาสุขภาพที่มาใช้บริการมีความรุนแรงต่างกันก็ใช้เวลารอไม่ต่างกัน ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เห็นว่าแพทย์ให้การดูแลและตรวจร่างกายได้เหมาะสม (ร้อยละ 77) แพทย์อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับโรคที่เป็นได้เข้าใจดีร้อยละ 73.1 และอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวได้เข้าใจดีร้อยละ 69.5 ไม่อธิบายร้อยละ 24.9 ทั้งนี้สัดส่วนต่างกันตามแผนก และเห็นว่าผู้จ่ายยาอธิบายวิธีการใช้ยาได้เข้าใจดีร้อยละ 83.1 ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ได้รับยาตามที่คาดหวัง (ร้อยละ 76.8) ความเห็นต่อการยินดีไปใช้บริการที่ศูนย์แพทย์ชุมชนซึ่งเป็นหน่วยให้ บริการผสมผสานนอกโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ยินดีใช้แน่นอน (ร้อยละ 47.9) ยินดีแบบมีเงื่อนไข (ร้อยละ 20.7) และไม่ยินดี (ร้อยละ 28)en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Serviceen_US
dc.subjectบริการทางการแพทย์en_US
dc.subjectบริการสุขภาพen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.titleการสำรวจสภาวะประชาชนที่มาใช้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น ปี พ.ศ. 2540th_TH
dc.title.alternativeSurvey on OPD Users at Kon-Kaen Hospital In 1997en_US
dc.description.abstractalternativeOPD Case Survey at Kon-Kaen Hospital in 1997 The survey objectives were to study information of OPD care given. The studied information was general information, information of OPD care provision, views of physicians and views of users. The data were collected through interviewing users and providers from March 17 to March 21, 1997.. Systematic random sampling was used for sampling 1228 cases. The response rate was 82.65%. The results showed that the majority of users lived in Muang District spending their visit time approximately 1-2 hours. 48.5% of well baby clinic users lived in metropolitan area while 60% of the pregnant visiting the hospital lived outside the metropolitan. Most receiving general practice were new patients with non-serious conditions. 40% of the users were uninsured. Most general medicine users were from Muang district. 59% of this group could be taken by general physicians whereas 31.4% needed special care. 22.3% were aged people. Only 21.1% had insurance. Common illness presenting for pediatric care was respiratory problem. Most examiners viewed that most presenting problems could be handled by health personnel and nurses. 63.3% of users were 1-4 year-old. 21.7 % were uninsured. For general surgery, tumor, respiratory problems and accidents were most common. 63.9% could be given care by general doctors. 32.7% gave the reason of specialist availability for visiting the hospital. 33.3% seeking orthopedic care lived outside Muang district and 93.1% living outside the metropolitan. Convenient transportation were most reasoned for coming the hospital. 15.3% were uninsured. Most seeking eye care were middle aged and could be given care by general doctors. Special care was most given to those living outside the Muang district. Most users were previous patients and made appointment. Such a group spent relatively longest time at the hospital. On average, each patient spent his or her time at the hospital about 3 hours and 25 minutes (almost half a day). 26% paid on their own pocket (14% were later remunerated). 65% agreed with exising prices while 16.7% considered expensive. Nevertheless, most said expensive if paying more than 500 Baht. 72% said they well understood their illness told by providers. The lowest rate of understanding their illness told by providers was found at general medicine and general surgery clinic. Expenditures for medicine and special examination were averaged at 215 Baht. General medicine and cardiac clinic were found larger expenditures respectively. 1/3 of payment was subsidised by the government. Average transportation cost was 85 Baht.en_US
dc.identifier.callnoW84 ว237ร 2541en_US
dc.subject.keywordการสำรวจen_US
dc.subject.keywordการให้บริการen_US
dc.subject.keywordบริการผู้ป่วยนอกen_US
dc.subject.keywordแผนกผู้ป่วยนอกen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลขอนแก่นen_US
.custom.citationวีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์, Weerapan Supanchaimat, สุวรรณา กิตติศรีวรพจน์, สุภาพร ตันติพานิชธีระกุล, สุพัตรา ศรีวณิชชากร and ธานินทร์ หอมปลื้ม. "การสำรวจสภาวะประชาชนที่มาใช้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น ปี พ.ศ. 2540." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1897">http://hdl.handle.net/11228/1897</a>.
.custom.total_download76
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs0273.pdf
Size: 3.023Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record