Show simple item record

Alternative Policy for Health Personnel Development in the Next Two Decades

dc.contributor.authorสถาบันพระบรมราชชนกen_US
dc.contributor.authorสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.contributor.authorสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุขen_US
dc.contributor.authorPraboromarajchanok Insitituteen_US
dc.contributor.authorHealth Systems Research Instituteen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:14Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:49:12Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:14Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:49:12Z
dc.date.issued2540en_US
dc.identifier.otherhs0165en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1928en_US
dc.description.abstractรายงานการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เรื่องทางเลือกเชิงนโยบายในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ ในสองทศวรรษหน้าการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตของระบบสาธารณสุขซึ่งจะเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพ และปัจจัยที่กระทบต่อการผลิตกำลังคน การศึกษาดำเนินการโดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการระดมสมอง ผลลัพท์สุดท้ายคือ การสังเคราะห์ข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบายในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ ในสองทศวรรษหน้า ผลการศึกษาพบว่า ระบบสาธารณสุขในอนาคตจะมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และบริการระดับต้นมาก ระบบบริการสุขภาพจะมีการจัดการสูงภายใต้ระบบประกันสุขภาพแบบต่าง ๆ บทบาทของประชาชน ชุมชน เอกชน ในการจัดการระบบบริการมีสูงมาก ขณะที่บทบาทของรัฐโดยเฉพาะในส่วนกลางจะปรับไปสู่การเป็นผู้ซื้อ บริการ การพัฒนาและกำกับดูแลมาตรฐานการสนับสนุนด้านวิชาการ และการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องเป็นครั้งคราว ลักษณะระบบบริการสุขภาพดังกล่าว จึงมีความต้องการกำลังคนที่มีคุณภาพสูงขึ้น และมีความต้องการกำลังคนประเภททั่วไปจำนวนมาก กำลังคนบางประเภทจะมีจำนวนมากพอจนถึงจุดอิ่มตัว ไม่ควรเพิ่มอัตราการผลิตอีก ได้แก่ เภสัชกร และทันตแพทย์ บางประเภทขาดมากในบางจุด ในปัจจุบันเนื่องจากปัญหาการกระจาย ควรเพิ่มอัตราการผลิตด้วยความระมัดระวังและด้วยวิธีการที่ยืดหยุ่น โดยไม่ตั้งสถาบันการศึกษาใหม่ ได้แก่ แพทย์ และพยาบาล ส่วนประเภทที่ขาดแคลนมาก ควรส่งเสริมการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค กำลังคนด้านฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อม ผู้ดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุที่ช่วยตนเองไม่ได้และเวชกรฉุกเฉิน ทั้งนี้จะต้องจัดระบบบริการที่ให้กำลังคนเหล่านี้ปฏิบัติงานได้อย่างดีด้วย บทบาทขององค์กรที่เกี่ยวกับการผลิตกำลังคนก็จะปรับเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับเรื่องของระบบบริการสุขภาพ คือ รัฐลดความเป็นเจ้าของสถาบันการศึกษาลง เอกชนโดยเฉพาะลักษณะที่ไม่มุ่งกำไร มีบทบาทสูงขึ้น และสถาบันการศึกษากับสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชนมีความร่วมมือกันอย่างมาก ในการผลิตกำลังคน สถาบันการศึกษาของรัฐในปัจจุบันจะมีอิสระมากขึ้นจนถึงขั้นเป็นอิสระจากระบบ ราชการ ซึ่งอาจเป็นองค์กรอิสระนอกระบบราชการหรือเป็นสถาบันในองค์กรเอกชนที่ไม่มุ่งกำไรen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent5455177 bytesen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Services Researchen_US
dc.subjectHealth Manpoweren_US
dc.titleทางเลือกเชิงนโยบายในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพในสองทศวรรษหน้าen_US
dc.title.alternativeAlternative Policy for Health Personnel Development in the Next Two Decadesen_US
dc.identifier.callnoW76 ส142ร 2540en_US
dc.subject.keywordทางเลือกเชิงนโยบายการผลิตกำลังคนen_US
dc.subject.keywordกำลังคนด้านสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพen_US
.custom.citationสถาบันพระบรมราชชนก, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข, Praboromarajchanok Insititute and Health Systems Research Institute. "ทางเลือกเชิงนโยบายในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพในสองทศวรรษหน้า." 2540. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1928">http://hdl.handle.net/11228/1928</a>.
.custom.total_download204
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs0165.PDF
Size: 5.483Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record