Show simple item record

A Study of Health publication

dc.contributor.authorบุญเรือง เนียมหอมth_TH
dc.contributor.authorBoonruang Niamhomen_US
dc.contributor.authorกำพล ดำรงค์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorปรียาพร ฤกษ์พินัยth_TH
dc.contributor.authorKampol Dumrongworngen_US
dc.contributor.authorPreeyaporn Rerkpinayen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:15Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:48:03Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:15Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:48:03Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1135en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1931en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพและปัญหาการดำเนินงานในการจัดพิมพ์และเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อสุขภาพของผู้จัดพิมพ์ในประเทศไทย (2) ศึกษาผู้แปลงข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อประชาชน ลักษณะผลงานที่ทำ กระบวนการเข้าสู่อาชีพ กระบวนการทำงาน สภาพการดำเนินงาน และปัญหาในการแปลงข้อมูลข่าวสาร (3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมผู้แปลงข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (4) ศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลด้านสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ และนำเสนอรูปแบบฐานข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ และ (5) ศึกษาและนำเสนอรูปแบบฐานข้อมูลผู้แปลงข้อมูลข่าวสารสุขภาพสรุปผลการวิจัย 1. สภาพการดำเนินในการจัดพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพสำนักพิมพ์มีบุคลากรที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพในองค์กรโดยเฉลี่ย 11.95 คน ผลิตหนังสือโดยเฉลี่ยปีละ 8.69 ชื่อเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ โดยเฉลี่ยต่อเล่ม เป็นค่าลิขสิทธิ์ที่จ่ายให้ผู้แต่งร้อยละ 10 อีกร้อยละ 90 เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์ ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าจัดส่ง ค่าจัดจำหน่าย ผู้จัดพิมพ์ส่วนใหญ่จัดทำต้นฉบับในหน่วยงานแต่ว่าจ้างโรงพิมพ์ภายนอก เนื้อหาที่จัดพิมพ์เป็นเรื่อง ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ เรื่องโภชนาการ การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย การออกกำลังกาย สุขภาพจิต สุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพความงาม แม่และเด็ก การเลี้ยงดูบุตร การใช้ยา สมุนไพร ชีวจิต ธรรมชาติบำบัด โยคะ การลดน้ำหนัก สภาพแวดล้อม มลภาวะ ที่อยู่อาศัย และเพศศึกษา ผู้จัดพิมพ์ได้กำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความชัดเจน หรือได้รับข้อมูลเพิ่มเติมในสิ่งที่รู้มาบ้างแล้วและเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ปัญหาการจัดพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ คือปัญหาการแสวงหานักเขียนที่มีความรู้ ประสบการณ์ ปัญหากระดาษสูงมาก ต้นทุนในการจัดพิมพ์ค่อนข้างสูง ปัญหาความถูกต้องของเนื้อหา สิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นยังไม่สามารถกระจายไปให้ครอบคลุมผู้อ่านได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มชาวบ้านในชนบท ทำให้ประชาชนขาดความรู้ในการดูแลตนเอง 2. สภาพการดำเนินงานของผู้แปลงข้อมูลข่าวสารสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ อายุเฉลี่ยของผู้แปลงข้อมูลข่าวสาร คือ 53 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาทางด้านการแพทย์ผู้แปลงข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่ไม่เขียนหนังสือเป็นอาชีพหลัก ลักษณะงานแปลงข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ ส่วนใหญ่ทำงานเป็นผู้แต่ง ผู้เรียบเรียงและบรรณาธิการ ระยะเวลาที่ทำหน้าที่ผู้แปลงข้อมูลเพื่อสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา โดยเฉลี่ย 10.32 ปี ผลงานเขียนหนังสือ โดยเฉลี่ย 3.50 เล่ม บทความโดยเฉลี่ย 7.55 เรื่อง เหตุผลในการเข้ามาทำงานเป็นผู้แปลงข้อมูลข่าวสาร คือ ทำตามความสนใจของตนเอง ต้องการใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาและทำตามความต้องการของสังคม หลักการในการเลือกเรื่องที่จะแปลงข้อมูลข่าวสาร คือเลือกตามความสนใจของตนเองและเลือกเรื่องที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ผู้แปลงข้อมูลข่าวสารได้กำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนคือเพื่อให้ประชาชนเกิดความชัดเจน หรือได้รับข้อมูลเพิ่มเติม ในสิ่งที่รู้มาบ้างแล้ว ปัญหาการทำงานแปลงข้อมูลข่าวสาร คือ ไม่มีเวลาทำงาน มีเวลาจำกัด ไม่มีเวลาค้นหาข้อมูล ไม่มีเวลาเขียนและแปลงข้อมูล ข้อจำกัดของแหล่งข้อมูลข่าวสารสำหรับอ้างอิง สถิติข้อมูลไม่ทันสมัย ไม่น่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้มีน้อย ปัญหาทัศนคติของผู้อ่าน โดยส่วนใหญ่คนมักคิดว่ายาแผนโบราณดีกว่ายาแผนปัจจุบัน คนไม่ค่อยรักษาสุขภาพเพราะคิดว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดา 3. แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมผู้แปลงข้อมูลสุขภาพสู่ประชาชนควรจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญและคณะทำงานให้คำปรึกษาเรื่องการเขียน ช่วยแก้ไขปรับปรุงต้นฉบับ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือและอ้างอิงได้ จัดตั้งสมาคมผู้แปลงข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ภาครัฐและเอกชนช่วยฝึกอบรมทักษะการเขียน จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และให้คำแนะนำ จัดประกวดงานเขียน เผยแพร่หนังสือสุขภาพที่พิมพ์ให้ครอบคลุมประชาชนให้ทั่วถึง สนับสนุนให้ประชาชนสนใจและปฏิบัติตนเพื่อรักษาสุขภาพของตนเองและครอบครัว สำนักพิมพ์เอกชนควรให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สนับสนุนเงินทุนในการจัดพิมพ์ เผยแพร่และให้ทุนทำวิจัยเพิ่มขึ้น 4. การสร้างฐานข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ รูปแบบฐานข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ ประกอบด้วย (1) เขตข้อมูลที่มีความจำเป็น บังคับและต้องทำดัชนีสำหรับการสืบค้นข้อมูลจำนวน 13 รายการ และ (2) เขตข้อมูลเลือกและไม่ต้องทำดัชนี 6 รายการ 5. การสร้างฐานข้อมูลผู้แปลงข้อมูลข่าวสารสิ่งพิมพ์สุขภาพรูปแบบฐานข้อมูลผู้แปลงข้อมูลข่าวสารสิ่งพิมพ์สุขภาพ ประกอบ (1) เขตข้อมูลที่มีความจำเป็น บังคับ และต้องทำดัชนีจำนวน 2 รายการ (2) เขตข้อมูลที่มีความจำเป็น บังคับ แต่ไม่ต้องทำดัชนี จำนวน 6 รายการ และ (3) เขตข้อมูลเลือก 7 รายการth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2495426 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectInformation Serviceen_US
dc.subjectบริการสารสนเทศen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeA Study of Health publicationen_US
dc.description.abstractalternativeThis study consists of five purposes: (1) to survey the states and problems of health publications of Thai publishers, (2) to examine the backgrounds of health information transformers in terms of their status, types of publication work, professional procedures, working process, and related problems, (3) to propose the guidelines for developing and supporting health information transformers, (4) to explore the use of computer and a health publication database as well as to present a health publication database format , and (5) to propose the database format of health information transformers. The results of the study are as follows: 1. Health publishers generally have 11.95 working staff and publish 8.69 titles per year. Publication expenses for one title include 10 percents for the copyright cost of an author and 90 percents for publishing, printing, disseminating and marketing. Most of the health publishers prepare the publication layout and original master at the publishing office but employ outside printing work. The health published contents consist of various issues such as disease knowledge, nutrition, self-health care, exercise and fitness, mental health, elderly health care, beauty care, mothers and children, child rearing, drug usage, herbs, bio-organic consumption, yoga, diet, environment, and sex education. These contents are selected in accordance with the authors’ own interest and current problem issues. The objectives of health publishing are to give readers more understanding of health knowledge that they have already known and to provide them new related information as well. The problems of health publishing are the difficult selection of experienced authors, the high cost of printing, the inaccuracy and unreliability of content, and the limited dissemination of health publications. 2. The health information transformers are averagely 53 years old and are mainly physical doctors. Therefore, writing of health publications is not their main career. Types of their publication work are authors, compilers and editors. By average, they have been working as authors for 10.32 years, with 3.50 books and 7.55 articles since 1997. Reasons for writing of health publications are to pursue their own interest, use their own health knowledge in practical ways, and follow the social needs. The most serious problem of writing is that the health information transformers have no time or have limited time for writing or seeking information. Other problems are limitation of health information resources and lack of accurate, reliable, and up-to-date health information. Another problem is related to readers’ attitudes and beliefs that local folk medicines and treatments are much better than modern ones. Also, they believe that illness and death are the ways of life; therefore they pay no attention of their self-health care. 3. The proposed guidelines for developing and supporting health information transformers are providing of consulting health expert teams who can provide some advices to the authors; establishing reliable health information centers; initiating the association of health information transformers; organizing training programs for writing skills and seminars for health publications authors; arranging health publication contests; disseminating of health publications to remote readers; and promoting of self-health care to the public. In addition, private publishers should fairly return to the authors and provide them more funds to disseminate health publications to community as well as support them about writing and research work. 4. The proposed health publication database format is composed of 13 required fields with indexes for information retrieval, and 6 optional fields without indexes. 5. The proposed health publication author database format is composed of 2 required fields with indexes for information retrieval, 6 required fields without indexes, and 7optional fields.en_US
dc.identifier.callnoW26.5 บ548ก 2547en_US
dc.identifier.contactno47ค017en_US
dc.subject.keywordHealth Publicationen_US
dc.subject.keywordPublisheren_US
dc.subject.keywordHealth information transformeren_US
dc.subject.keywordDatabaseen_US
dc.subject.keywordสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพen_US
dc.subject.keywordผู้จัดพิมพ์en_US
dc.subject.keywordผู้แปลงข้อมูลข่าวสารen_US
dc.subject.keywordฐานข้อมูลen_US
.custom.citationบุญเรือง เนียมหอม, Boonruang Niamhom, กำพล ดำรงค์วงศ์, ปรียาพร ฤกษ์พินัย, Kampol Dumrongworng and Preeyaporn Rerkpinay. "การศึกษาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อสุขภาพ." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1931">http://hdl.handle.net/11228/1931</a>.
.custom.total_download132
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1135.pdf
Size: 1.306Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record