Show simple item record

Reformation of health insurance management in Thailand

dc.contributor.authorทวีศักดิ์ สูทกวาทินen_US
dc.contributor.authorTaweesak Suthakavatinen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:02Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:36:44Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:02Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:36:44Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0793en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2027en_US
dc.description.abstractการปฏิรูประบบการจัดการเพื่อรองรับการประกันสุขภาพในประเทศไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อวิเคราะห์และประเมินสภาพปัญหาของระบบประกันสุขภาพ อันเนื่องมาจากการขาดทิศทางและเอกภาพของนโยบายระดับชาติ 2. เสนอตัวแบบการประสานนโยบายและการจัดการระบบประกันสุขภาพ ซึ่งครอบคลุมประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในสังคมอย่างครบถ้วน และ 3. เสนอมาตรการที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงนโยบาย กฎหมาย องค์กร และแผนงานเพื่อรองรับการนำตัวแบบการประสานนโยบาย และการจัดการระบบประกันสุขภาพไปสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดเพียงพอที่จะใช้ตัดสินใจเชิงนโยบายได้ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อแสวงหาสารสนเทศที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการประกันสุขภาพ นำเสนอเป็นทางเลือกต่อผู้กำหนดนโยบาย และเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติ โดยการศึกษาวิจัยจะเน้นผลลัพธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การศึกษาใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณธรรมเป็นหลัก โดยศึกษาจากเอกสารตลอดจนการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากการประชุม การระดมความคิดร่วมกับที่ปรึกษา การสัมภาษณ์เจาะลึก การทำกลุ่มสนทนา การจัดประชุมระดมสมอง และการสัมมนาสาธารณะ นอกจากนี้ยังใช้การวิจัยเชิงปริมาณบางส่วนในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่แจกหลังการทำกลุ่มสนทนาประกอบด้วย ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยประชากรจาก 4 กลุ่ม คือ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารสถานบริการด้านสุขภาพทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และผู้นำองค์กรชุมชน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงร่วมกับแบบก้อนหิมะ การเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งข้อมูลส่วนที่เป็นข้อมูลทุติยภูมิซึ่งได้แก่เอกสารต่างๆ เช่น ตำรา บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย รายงานผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่าง โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การประชุมเพื่อระดมความคิด การทำกลุ่มสนทนา ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจะถูกนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ โดยวิธีการทั้งเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณ ผลการศึกษาวิจัยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาของระบบประกันสุขภาพในปัจจุบัน 1.1 การรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) ในเรื่องการกำหนดนโยบายการประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังอยู่ในขอบเขตจำกัด 1.2 มีปัญหาในด้านการครอบคลุมบริการสุขภาพของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยปัญหาการซ้ำซ้อนของกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหลักประกันสุขภาพ การเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่มีหลักประกันสุขภาพรองรับอยู่แล้ว และมีกลุ่มประชาชนที่ยังไม่ได้รับการครอบคลุมบริการสุขภาพ 1.3 มีปัญหาในเรื่องความเสมอภาคและความเป็นธรรมในการให้บริการสุขภาพ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของบริการที่ประชาชนได้รับ 2. งานวิจัยได้เสนอตัวแบบการประสานนโยบายและการจัดการระบบประกันสุขภาพตามแผนภูมิ 4.2 (หน้า 82) สาระสำคัญของตัวแบบเสนอให้มีสำนักงานคณะกรรมการประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ประสานนโยบาย ควบคุมมาตรฐานการรักษาพยาบาล บริหารความขัดแย้ง เจรจาต่อรอง พัฒนาและบำรุงรักษาระบบข้อมูลข่าวสาร และกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเสนอให้จัดตั้งสำนักงานประกันสุขภาพระดับจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ให้มีหน้าที่โดยตรงในการประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนในจังหวัดให้ได้รับบริการสุขภาพพื้นฐานที่จำเป็นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1230277 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectInsurance, Health Insuranceen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemen_US
dc.subjectHealth Insurance--Thaien_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.titleการปฏิรูประบบการจัดการเพื่อรองรับการประกันสุขภาพในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeReformation of health insurance management in Thailanden_US
dc.description.abstractalternativeThis research project has three main objectives. The first objective is to analyze and assess the health insurance problems, resulting from a lack of national health insurance policy. The second objective is to propose a model for health insurance policy coordination and management system in order to achieve universal coverage. The last objective is to provide the appropriate measures, including policies, law, organizations, as well as plans, to implement a model of health insurance policy coordination and management system. The measures should have sufficient details for the policymakers so that they can make an effective decision. This is a policy research that searches for information necessary to set up alternatives of health insurance policy for policymakers. In addition, this research is an action research. That is, it focuses on pragmatic results. The study employs both qualitative and quantitative approaches. The research sample consists of four groups : policymakers, top executives, managers of health service providers, and rural community leaders. Two types of sampling techniques are used in combination: purposive sampling and snowball sampling. Various kinds of data collection are used such as reviewing literature, indepth-interviewing, focus group, brain-storming, public workshop, and self-administered questionaires. Data compiled is analyzed by both qualitative and quantitative methods. Research findings are as follow: First, there are three main problems to the current health insurance system.There is limited stakeholders awareness regarding the policy formulation of universal health Insurance. 2.) The coverage of health insurance in Thailand is to only about eighty percent of Thai citizens, whereas about twenty percent of them are not covered by any kind of health insurance schemes. Besides, there are overlapping target population among the various kinds of health insurance schemes. Therefore, in reality, the figure of health insurance coverage is less than eighty percent. 3.) Problems of equity and justice of health care services directly affect the quality of health care services. Second, the study proposes a model for health insurance policy coordination and management system in order to achieve universal coverage (Fig. 4.2, page 82). The model recommends the establishment of the Office of the Board of National Health Insurance and the Provincial Health Insurance Offices. The Office of the Board of National Health Insurance is an agency under the administration of central government.en_US
dc.identifier.callnoW160 ท228ก 2544en_US
dc.subject.keywordHealth Insurance Problemen_US
.custom.citationทวีศักดิ์ สูทกวาทิน and Taweesak Suthakavatin. "การปฏิรูประบบการจัดการเพื่อรองรับการประกันสุขภาพในประเทศไทย." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2027">http://hdl.handle.net/11228/2027</a>.
.custom.total_download81
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs0793.pdf
Size: 4.119Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record