Show simple item record

Mahidol historical almanac for democracy : Phase II

dc.contributor.authorคณะกรรมการปูมประวัติศาสตร์มหิดลเพื่อประชาธิปไตยth_TH
dc.contributor.authorCommittee of Mahidol historical almanac for democracyen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:24Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:40:32Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:24Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:40:32Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1075en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2075en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: รายงานผลการศึกษา"ปูมประวัติศาสตร์มหิดลเพื่อประชาธิปไตย" (พ.ศ. 2516-2526)th_TH
dc.description.abstractหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นักศึกษาร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลจัดสัมมนา “โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล” นำเสนออุดมการณ์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ “มุ่งผลิตบุคลากรออกไปรับใช้ประชาชนผู้ด้อยโอกาสในสังคม” มีการจัดตั้งพรรคนักศึกษาและเลือกตั้งกรรมการสโมสรนักศึกษา (สมม.) “พรรคแนวร่วมมหิดล” ได้รับเลือกตั้ง มี นศพ. เหวง โตจิราการ เป็นนายกสโมสร นักศึกษาคนแรก กิจกรรมนักศึกษาที่เดิมมีแต่งานวิชาการ กีฬา ดนตรี ค่ายอาสาเท่านั้น ก็ได้ให้ความสำคัญแก่กิจกรรมเชิงสังคมการเมืองมากขึ้น โดยมีศูนย์รวมกิจกรรมอยู่ที่ตึกสันทนาการปีการศึกษา 2517 สมม. จัดค่าย “ศึกษาและพัฒนา” เน้นการศึกษาปัญหาสังคมและฝึกการใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้าน ปีเดียวกันนี้มีนักศึกษามหิดลกลุ่มหนึ่งเข้าร่วมโครงการของรัฐบาลสองโครงการ คือโครงการเผยแพร่ประชาธิปไตยและโครงการช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ ทำให้รับรู้ปัญหานายทุนเจ้าที่ดินกดขี่ขูดรีดชาวนา รวมทั้งได้เห็นผู้มีอำนาจบิดเบือน ใส่ร้ายป้ายสี และปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง จึงเกิดการตื่นตัวทางการเมือง และเริ่มเข้าใจปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนระดับฐานราก และเกิดสำนึกที่มุ่งรับใช้คนกลุ่มนี้ กิจกรรมของนักศึกษามหิดลที่สนับสนุนการต่อสู้อย่างแข็งขันเพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม คือกิจกรรมของหน่วยพยาบาลเพื่อมวลชน (พมช.) ที่เติบโตมาจากหน่วยพยาบาลเล็กๆ ใน เหตุการณ์ 14 ตุลา และวงดนตรีกรรมาชนซึ่งเป็นวงดนตรีสตริงแนวเพื่อชีวิต ที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดในยุคนั้น ทั้ง พมช. และวงดนตรีกรรมาชนมีบทบาทเคียงคู่กันในเวทีการต่อสู้ต่างๆ เพลงของวงดนตรีกรรมาชนช่วยปลุกขวัญและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมต่อสู้ ในขณะที่หน่วย พมช. ได้ช่วยดูแลผู้บาดเจ็บที่ถูกคุกคามทำร้าย การที่นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมภายนอกมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ถูกตำหนิว่าเป็นพวกที่สำคัญตนผิด ทำเกินหน้าที่ และละเลยการเรียนหนังสือ นักศึกษากับอาจารย์และผู้บริหาร รวมทั้งกับเพื่อนนักศึกษาด้วยกันเองจึงเกิดความขัดแย้งทางความคิดมากขึ้นเป็นลำดับ ความไม่เข้าใจต่างๆ กลายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น จนเกิดกรณีนักศึกษาคณะทันตแพทย์เรียกร้องให้ผู้บริหารคณะฯ และอาจารย์ 4 คนลาออก เนื่องจากไม่พอใจการบริหารงานและการจัดการเรียนการสอน จนในที่สุดนักศึกษาประท้วงและหยุดเรียนนานนับเดือน กลางปี พ.ศ. 2517 ขบวนการ “ขวาพิฆาตซ้าย” ก่อตัว การออกไปชนบทและการชุมนุมของนักศึกษาถูกก่อกวนคุกคาม กรรมกร ชาวนา และผู้นำนักศึกษา รวมทั้งนักศึกษามหิดล 2 คน คือ นายปรีดา จินดานนท์ แห่งวงดนตรีกรรมาชน และนายอมเรศ ไชยสะอาด อุปนายกฯ ฝ่ายประสานกิจการภายนอกของ สมม. และเหรัญญิกของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ถูกลอบสังหาร ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2518 - 2519 สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น นักศึกษาผู้อ่อนด้อยประสบการณ์ ประเมินความรุนแรงและยุทธวิธีของผู้มีอำนาจที่มุ่งปราบปราบต่ำเกินไป รวมทั้งมีปัญหาการประสานงานในช่วงที่สถานการณ์เริ่มเข้าขั้นวิกฤต การล้อมปราบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเช้ามืดวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จึงสูญเสียมหาศาล หน่วยพยาบาลเพื่อมวลชนและวงดนตรีกรรมาชน รวมทั้งนักศึกษามหิดลอีกส่วนหนึ่งที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างรับผิดชอบจนวินาทีสุดท้ายและเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้นรวม 5 คน หลังกรณีนองเลือด 6 ตุลาคม นักศึกษาจำนวนมากถูกจับกุมคุมขัง คณะรัฐประหารที่มีนโยบายขวาจัดเข้ายึดอำนาจ แต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปราบปรามฝ่ายซ้ายขนานใหญ่ ความไม่ปลอดภัยครอบคลุมทั่วทั้งสังคมและมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานั้นขบวนการนักศึกษาแตกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งหลบหนีเข้าป่าเพื่อต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งยังคงอยู่ในเมือง นักศึกษามหิดลนับร้อยคนกระจายอยู่ตามเขตงานต่างๆ ในป่าทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นหมอทหารป่า มีบทบาทในการพัฒนางานการแพทย์สาธารณสุขในเขตป่าเขา เช่น ผลิตแอลกอฮอล์ น้ำเกลือ ยาชา ยาทา และเวชภัณฑ์อื่นๆ โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เปิดโรงเรียนฝึกหัดหมอพื้นฐานและผู้ช่วยหมอ และตั้งโรงเรียนหลักสูตรพิเศษด้านศัลยกรรมอายุรกรรม จัดทำหลักสูตรตำราเรียนเองด้วยการใช้ความรู้ที่เรียนจากในเมือง บรรดานักศึกษาซึ่งเรียกพวกเดียวกันว่า “สหาย” ได้เรียนรู้วิชาแทงเข็มจากจีน และผสมผสานวิชานี้กับการรักษาโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยด้านสมุนไพร ราวปี พ.ศ. 2521 นักศึกษามหิดลจำนวนหนึ่งถูกส่งไปเรียนต่อด้านการแพทย์ เภสัช และสัตวแพทย์ ที่ประเทศจีน ส่วนในเมืองแม้ถูกห้ามทำกิจกรรมทุกอย่าง แต่ก็ยังคงเคลื่อนไหวสนับสนุนเพื่อนในป่าแบบลับๆ มีการทำเฉลยข้อสอบเอ็นทรานซ์ขายหาทุน และไปเยี่ยมเพื่อนในคุกโดยไม่เกรงกลัวอำนาจรัฐ จนเกิดพลังกดดันรัฐบาลทั้งจากภายในและนอกประเทศ ในที่สุด พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ก็ทำรัฐประหารและมีนโยบายผ่อนปรนมากขึ้น กิจกรรมนักศึกษามหิดลจึงก่อตัวขึ้นอีกครั้ง โดยเน้นการเคลื่อนไหวเรื่องวิชาชีพ ได้จัดงานมหิดล ’21 ร่วมกับนักศึกษา 12 สถาบันออกไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่อีสาน ต่อมาได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสโมสรนักศึกษา 18 สถาบันในปี พ.ศ.2522 นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 รัฐบาลยอมให้มีสโมสรนักศึกษาได้โดยให้เลือกตั้งทางอ้อม นักศึกษาจึงเคลื่อนไหวให้เลือกตั้งโดยตรง เรียกร้องให้มีสภานักศึกษาและพรรคนักศึกษา ซึ่งประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2523 หลังจากนั้นสโมสรนักศึกษา 18 สถาบันก็เคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองมากขึ้น เช่น คัดค้านการขึ้นค่าโดยสารรถเมล์ คัดค้านการขึ้นค่าไฟฟ้า และคัดค้านกรณีญวนบุกกัมพูชา ช่วงเวลาเดียวกันนี้ขบวนการสังคมนิยมสากลตกต่ำ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายรับนักศึกษาที่เข้าป่าให้กลับมาเรียนต่อ นักศึกษามหิดลที่รอดชีวิตจึงได้กลับมาเรียนอีกครั้ง การเติบโตของเทคโนโลยีทุนนิยมส่งผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงโดยรวม อาจกล่าวได้ว่าวิกฤตศรัทธาต่ออุดมการณ์สังคมนิยมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ขบวนการนักศึกษาไทยค่อยๆ อ่อนตัวลง ปี พ.ศ. 2527 นักศึกษามหิดลปี 1 ทุกคณะย้ายไปเรียนที่ศาลายา และแกนนำนักศึกษาที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่เรียนจบ กิจกรรมนักศึกษาเชิงสังคมการเมืองจึงค่อยๆ ยุติบทบาทลง ปิดฉาก ” ตึกสันท์” ศูนย์รวมแหล่งบ่มเพาะนักกิจกรรมมหิดล อาจกล่าวได้ว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของนักศึกษาในยุคนั้น ได้สร้างคุณูปการอย่างมากแก่สังคมไทย ได้บ่มเพาะบุคลากรคุณภาพ ให้มีบทบาทสร้างสรรค์สังคมและเคลื่อนไหวพัฒนางานการแพทย์สาธารณสุขในพื้นที่ชนบททั่วประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1826479 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectDemocracyen_US
dc.subjectMahidol Universityen_US
dc.subjectประชาธิปไตยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectไทย -- ประวัติศาสตร์en_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleปูมประวัติศาสตร์มหิดลเพื่อประชาธิปไตย : (พ.ศ. 2516-2526)th_TH
dc.title.alternativeMahidol historical almanac for democracy : Phase IIen_US
dc.description.abstractalternativeAfter the event in October 14, 1973, the students, co-operated with the administrators of Mahidol University, arranged the seminar on “the Mahidol University Development Project.” The ideal of “personnel production to serve the disadvantaged people in the society” was made for the members of the Mahidol University Students’ Club(MUSC). The Mahidol United Party could win the election and the first Chairman of MUSC was the Medicine Student Weng ToeJirakarn. The students’ The students’ activities, formerly emphasizing on technical affairs, sports, music and voluntary camps, had been given more importance to the social and political activities of which the centre was established in the recreation building. In the 1974 academic year, the MUSC arranged the “edcation and development camp” which emphasized on the learning of social problems and the training to live with the villagers. In this year, a group of the Mahidol University students joined two projects which ran by the Government: the democratic dissemination and the aids to farmers. They could learn the problems of the landlords-capitalists’ oppression and exploitation against the farmers. Additionally, they could see the authoritative persons’ distortion, incrimination and serious suppression against the people. These encouraged their political alertness and they could understand the suffering of the grass-root people, untill the actively created theconsciousness of serving the people. The activites o fthe Mahidol University students which could enthusiastically support the struggle for equity of the people were those of the Nursing Unit for Mass (NUM), Which was developed from the small nursing unit in the 14 th October event, and those of the Labourers’ Band, the string-band for life. Both them were the most popular at that time. They played the important roles and always worked together on various stages. While the songs of the Labourers’ Band encouraged the fighters, the NUM also assisted in treatment for the persons who were threatened, hurt and injured. As to the students continually joined their activities outside the university, they were blamed as those who misunderstood of themselves, overdid their duties and neglected their classrooms. This caused more conceptual conflict among the students and the instructors administrators, as well as among themselves. Misunderstandings in various matters became more serious conflicts that the Dentistry Faculty students claimed against four of the administrators and instructors to quit, because the administration and the instruction were unsatisfactory. Finally, the students’ protest and strike were called for months. The “Rightists VS the Leftists” Movement had been brewing since the mid-year of 1974. Going out for activities in rural areas and the gatherings of the students were threatened. The labourers, the farmers and the student leaders were assassinated, including two student leaders- Mr. Preeda Chindanondh of the Labourers’ Band and Mr. Amares Chaisa-aad, Vice-Chaimam, the coordinator for outside activities of the Mahidol University Students’ Club (MUSC) and the Treasurer of the Students’ Centre of Thailand . During the years of 1975-1976, the situation was more serious. As the students with low experience made lower evaluation of the suppressive and authoritative persons in terms of the violence and the tactics, they also could not co-ordinate in the time of crisis. The suppressive blockade event in Thammasat University, in the early morning of October 6, 1976, consequently caused the great loss. The Nursing Unit for Mass, the Labourers’ Band and a part of the Mahidol University students as the safety guard unit held their responsibilities until the last second. In that event, five of them lost their livers. After the 6th October sanguinary conflict, many students were arrested and put into prison. The Coup d’Etat with the absolute right-wing policy seized power and Mr. Thanin Kraivichien was appointed Prime Minister. The leftists were heavily suppressed. The unsafety condition covered both the society and the universities in general. At that time the students’ movement separated into two parts. One part escaped into forest and took weapons to join the Communist Party of Thailand. While another part was still in city. Some hundred of the Mahidol University students scattered in the different sites in forest throughout the country. A majority of them acted as the forest military doctors who played the role in the medicine and public health development, in the forest-mountain areas. They produced alcohol, saline solution, anaestheitics, liniments and other medical products, by using the raw material in localities. They opened the medical training school for general doctors and doctor assistants. The medical school with special curriculum on surgery and general medical treatment was also established. The curriculum and the textbooks were written from what they learnt in the city. Those fellows as they called themselves “sa-hai” also learnt the acupuncture treatment from China and integrated such practice with the Thai traditional wisdom on herbs. Approximately in the year 1978, some of the Mahidol University students were sent for further education in medicine, pharmacology and veterinary in China. In city, though all of the students’ activities were forbidden, the movement was secretly carried to support their “sa-hai” in forest. The reproduction of the answer sheets of the entrance exam questions was sold for funding. They visited their fellows who were arrested in prison without fear of the State’s power. This matter brought perssure force to bear on the Governmen, both from inside and outside the country. Finally, the Coup d’ Etat was made, with more relief policy, by Gen. Kriangsak Chamanan. The Mahidol University students’ activities were revitalized with the emphasis on professional movement. They arranged the Mahidol Celebration’78 and went out to assist the flood victims in the Northeastern area, with the co-operation of 12 institutions. Later on in 1979, they gathered and formed into the Students’ Club of 18 institutions. Since 1978, the Government allowed for the set up of Students’ Club by the indirect election. The movement for the direct election of the Students’ Club, the appeal for the Students’ Council and that for the Students’ Party were made, and they could gain success in 1980. Afterwards, the Students’ Clubs of 181 institutions made more socio-political movements such as the protests on the anti-bus fee raise, on the anti-electric fee raise and on the Vietnam attacking Cambodia. At the same time, the movement of universal socialism was declined; with addition to the Government’s policy which allowed the students who escaped into forest to return to further their education. Many survivors of the Mahidol University students could consequently return to study once again. The growth of capitalism technology sent much effect to the overall changes. It could be said that the crisis of faith in the socialism ideal was the main cause against the weakness of the students’ movement. In 1984, the first-year Mahidol University students of all faculties had to move to Salaya, and most of the experienced key persons finished their education. The socio-political students’ activities gradually came to and end. The “recreation building.” The fostering centre for the Mahidol University activists was over. It could be said that the struggle for democracy of the students in that period of time has made a greater contribution to Thai society. It could foster the qualified personnel whose creative roles and movements could make progress to the medicine and public health in rural areas throughout the country up to now.en_US
dc.identifier.callnoJQ1749.A5 ค123ป 2547 ภาคที่ 2en_US
dc.identifier.contactno45ค046en_US
.custom.citationคณะกรรมการปูมประวัติศาสตร์มหิดลเพื่อประชาธิปไตย and Committee of Mahidol historical almanac for democracy. "ปูมประวัติศาสตร์มหิดลเพื่อประชาธิปไตย : (พ.ศ. 2516-2526)." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2075">http://hdl.handle.net/11228/2075</a>.
.custom.total_download100
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year9

Fulltext
Icon
Name: hs1075.pdf
Size: 1.868Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record