Show simple item record

การจัดการความรับผิดจากการรักษาทางการแพทย์

dc.contributor.authorสมหญิง สายธนูen_US
dc.contributor.authorรัชตะ ตั้งศิริพัฒน์en_US
dc.contributor.authorวงเดือน จินดาวัฒนะen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.date.accessioned2008-10-01T03:25:01Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:53:49Z
dc.date.available2008-10-01T03:25:01Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:53:49Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 12,6(2546) : 876-887en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/237en_US
dc.description.abstractการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม และการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ทำให้อัตราการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้นในกรณีความผิดพลาดทางการแพทย์ (medical error) จึงจำเป็นต้องเข้าใจกลไกในการบริหารจัดการ การแก้ไขปัญหา และการชดเชยผู้ป่วยเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกลไกการจัดการความรับผิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์ โดยการวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ร้องเรียน แพทย์และคณะผู้บริหารในโรงพยาบาลเอกชน บริษัทประกันวินาศภัย การอภิปรายกลุ่มในโรงพยาบาลรัฐ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการประชุมเชิงวิชาการ เพื่อหาแนวทางและมาตรการรองรับที่เหมาะสมในการจัดการความรับผิดจากการรักษาทางการแพทย์ การศึกษาพบว่ารูปแบบในการฟ้องร้องเมื่อเกิดกรณีความผิดพลาดทางการแพทย์ขึ้น มี 3 แบบ คือ 1. การตกลงประณีประนอมยอมความกันในระดับโรงพยาบาลโดยผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยในระดับที่ไม่เหมาะสมนัก 2. การร้องเรียนอย่างเป็นทางการ โดยผ่านองค์กรที่ไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และ/หรือ 3. การร้องเรียนอย่างเป็นทางการ โดยผ่านหน่วยงานที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายโดยตรง เพื่อจัดการความรับผิดทางจริยธรรมทางการแพทย์ การรับผิดทางละเมิดและอาญา การร้องเรียนโดยผ่านหน่วยงานที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายโดยตรงนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับความล่าช้าในกระบวนการพิจารณาตัดสิน ในกระบวนการทางศาล ผู้ฟ้องต้องแบกภาระในการพิสูจน์ มีค่าใช้จ่ายสูง และยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการชดเชยค่าเสียหายที่ชัดเจน ผู้ที่เข้าถึงระบบการร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางหรือสูงกว่า และมีคนรู้จักที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหน่วยงานดังกล่าว ผู้บริโภคทั่วไปโดยเฉพาะที่มีฐานะยากจนจะเข้าถึงกลไกในการจัดการความรับผิดนี้ได้ยาก แพทยสภาเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ความชอบธรรมในการจัดการเรื่องนี้ และมีความสนใจต่อปัญหา จึงเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีปัจจัยครบสามองค์ประกอบ (definitive stakeholder) จุดอ่อนที่สำคัญของแพทยสภาคือ ความล่าช้าในการบริหารความรับผิดทางจริยธรรมของแพทย์ และถูกตั้งข้อสงสัยจากสังคมว่าปกป้องวิชาชีพเดียวกันเอง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรผลักดันให้วิธีประนีประนอมกันในระดับโรงพยาบาลมีระบบและมีลักษณะกึ่งทางการมากขึ้น รวมทั้งจัดให้มีกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหาย และมีหน่วยงานที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับในการเจรจากับผู้ป่วย โดยรัฐเองจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยค่าเสียหายให้มีมาตรฐานเดียวกันและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งตรงกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 มาตรา 41en_US
dc.format.extent2490468 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectจริยธรรมแพทย์en_US
dc.titleการจัดการความรับผิดจากการรักษาทางการแพทย์en_US
dc.typeArticleen_US
dc.identifier.callnoDMJ41en_US
dc.subject.keywordความรับผิดจากการรักษาทางการแพทย์en_US
dc.subject.keywordความรับผิดทางแพ่งen_US
dc.subject.keywordความรับผิดทางอาญาen_US
dc.subject.keywordประกันทุรเวชปฏิบัติen_US
.custom.citationสมหญิง สายธนู, รัชตะ ตั้งศิริพัฒน์, วงเดือน จินดาวัฒนะ and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "การจัดการความรับผิดจากการรักษาทางการแพทย์." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/237">http://hdl.handle.net/11228/237</a>.
.custom.total_download1688
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month29
.custom.downloaded_this_year74
.custom.downloaded_fiscal_year132

Fulltext
Icon
Name: 2003_DMJ41_การจัด ...
Size: 2.375Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record