Show simple item record

โครงการศึกษาและสรุปบทเรียน กรณีการทดลองการถ่ายโอนสถานีอนามัยหนองตาเยาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

dc.contributor.authorอนันต์ ลิขิตประเสริฐen_US
dc.contributor.authorสุจริต ยางนอกen_US
dc.contributor.authorวัชระ ประทีปรัมย์en_US
dc.contributor.authorอุบลรัตน์ พรหมจรรย์en_US
dc.coverage.spatialบุรีรัมย์en_US
dc.date.accessioned2009-05-13T04:27:48Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:14:48Z
dc.date.available2009-05-13T04:27:48Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:14:48Z
dc.date.issued2551-09en_US
dc.identifier.otherhs1504en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2462en_US
dc.description.abstractการศึกษาและสรุปบทเรียนกรณีถ่ายโอนสถานีอนามัยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลตำบลหนองแวง) อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ กระบวนการจัดตั้งกลไกและการดำเนินงานการถ่ายโอนที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับหลักการหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดไว้ ที่ติดตามผลที่ได้และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนโดยเปรียบเทียบความคาดหวังกับความจริงที่เกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กลไก โครงสร้างเงื่อนไขและองค์ประกอบการถ่ายโอน ส่วนระเบียบวิธีการศึกษาใช้วิธีการผสมผสานการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล 6 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับบริหารในพื้นที่(สสจ./สสอ.และเจ้าหน้าที่ รพช.) กลุ่มเจ้าหน้าที่สอ. กลุ่มแกนนำประชาคมในพื้นที่ และกลุ่มประชาชน ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณนั้นใช้แบบสอบถามที่เก็บข้อมูลจากประชาชนเขตพื้นที่บริการสถานีอนามัยทั้ง 2 แห่งของเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพและการศึกษาเชิงปริมาณแล้ว ในรอบที่ 3 ได้ใช้การอภิปรายกลุ่ม (Focus Group Interviews) บุคคลดังกล่าวมาแล้วทั้ง 6 กลุ่มมาร่วมสรุปบทเรียนโดยใช้วิธีการ AAR (After Action Reviews) โดยคำถามหลักคือ ความคาดหวัง ความเป็นจริง ความแตกต่างและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผลการศึกษาตามกระบวนการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ และวิธีการ AAR ดังกล่าวพอสรุปได้ดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.0) มีอายุ 56 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 27.9) เกือบทั้งหมดสมรสแล้ว (ร้อยละ 82.3) มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 73.6) อาชีพหลักเป็นเกษตรกร/ทำนา/ทำสวน/ปศุสัตว์ (ร้อยละ 71.8) ครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกฌาปณกิจสงเคราะห์ (ร้อยละ 36.7) ส่วนใหญ่ไปใช้บริการสถานีอนามัย (ร้อยละ59.7) เหตุผลที่ไปใช้บริการรักษา เพราะสถานบริการอยู่ใกล้บ้านเดินทางสะดวก (ร้อยละ 77.2) 2. ข้อมูลกระบวนการการดำเนินงานในการถ่ายโอนฯ จากการศึกษาพบว่า 1) การสร้างความเข้าใจเรื่องการถ่ายโอนฯ ให้ภาคประชาชน ผู้ให้ข้อมูลเกินครึ่งทราบเรื่องการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปอยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบล (ร้อยละ 55.2) โดยให้เหตุผลการทราบข่าวเรื่องการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปอยู่ในความดูแลของเทศบาลด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายมากที่สุด (หอกระจายข่าว) (ร้อยละ 36.4) การมีส่วนร่วมของประชาชนจากกรณีการถ่ายโอนฯ สอ.ไปเทศบาลตำบล กรณีของสถานีอนามัยหนองตาเยาจากจำนวนผู้ให้ข้อมูล 390 คน สรุปได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ พบว่า ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการถ่ายโอนมากที่สุด (ร้อยละ 63.3 และ 60.8) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนด้านสุขภาพของท้องถิ่นทั้งก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ พบว่า ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการถ่ายโอนฯมากที่สุด (ร้อยละ 65.9 และ 63.1) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสาธารณสุข/ด้านสุขภาพของชุมชนแยกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านส่งเสริมสุขภาพ (เช่น ออกกำลังกายกลุ่ม ชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ) ก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมรับทราบข้อมูล/ร่วมแสดงความคิดเห็นมากที่สุด (ร้อยละ 50.5 และ 47.4) ด้านป้องกันควบคุม (เช่น ฉี่หนู ไข้เลือดออก เอดส์ ฯลฯ) ก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมรับทราบข้อมูล/ร่วมแสดงความคิดเห็นมากที่สุด (ร้อยละ 73.3 และ 71.5) ด้านการรักษาพยาบาล (เช่น รักษาอาการเจ็บป่วย โรคต่างๆ ฯลฯ) ก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการถ่ายโอนมากที่สุด (ร้อยละ 50.0 และ 49.2) ด้านการฟื้นฟูสภาพ (เช่น ผู้พิการต่างๆ ฯลฯ) ก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ พบว่า ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการถ่ายโอนมากที่สุด (ร้อยละ 65.4 และ 62.8) ด้านการส่งต่อผู้ป่วย (เช่น การส่งต่อผู้ป่วยจากสถานีอนามัยไปโรงพยาบาล ฯลฯ) ก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ พบว่า ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการถ่ายโอนมากที่สุด(ร้อยละ60.8 และ 56.9) 3. การประเมินโดยเทคนิค AAR (After Action Review) ขั้นตอนการทำ AAR จากการประเมินการศึกษาและสรุปบทเรียน กรณีการทดลองการ ถ่ายโอนสถานีอนามัยหนองหว้าให้แก่เทศบาลตำบลหนองแวง ตอบคำถาม 5 คำถาม และทำ 7 ขั้นตอน 5 คำถาม AAR คือ 1) สิ่งที่คาดหวัง(จากการถ่ายโอนฯ) 2) ความเป็นจริง/ภาพที่เกิดขึ้นจริง/มีกระบวนการในการถ่ายโอนและปัญหาจากการถ่ายโอนหรือไม่ อย่างไร 3) สิ่งที่เกิดขึ้น/ความประทับใจคืออะไร เพราะเหตุใด สรุปปัจจัย/เงื่อนไขที่ประสบผลสำเร็จ 4) เพราะเหตุใดจึงเกิดความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับความจริงที่เกิดขึ้น 5) ทางเลือก/วิธีการแก้ไข/ข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลจากการทำAAR จากคำถาม 5 คำถาม ดูประกอบเพิ่มเติมในการสรุป AAR (บทที่ 3 หน้า 66 – 71) 4. ผลการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลสามารถกำหนดการนำเสนอการวิจัยเป็นดังนี้ 4.1 รูปแบบการถ่ายโอนฯ พิจารณาจากความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณแผนพัฒนาบุคลากร ตลอดจนยุทธศาสตร์พัฒนาด้านสาธารณสุข โดยเทศบาลตำบลหนองแวงก็ได้รับรางวัลธรรมาภิบาล 2 ปีซ้อนจากการปกครองท้องถิ่นและระดับจังหวัด และสถานีอนามัย 2 แห่ง (หนองตาเยาและหนองหว้า) ยินดีรองรับการถ่ายโอนและมีความสมัครใจ ทั้งนี้ได้พิจารณาจากความพร้อมด้านการพัฒนาคน(พัฒนาบุคลากร)งาน (ยุทธศาสตร์แผนงาน) และเงิน (งบประมาณ) 4.2 กระบวนทัศน์แนวคิดเรื่องการกระจายอำนาจ/การถ่ายโอน อปท.ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์วิธีการทำงานให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการใหม่ การกำหนดครอบคลุมประเด็น 4 ด้าน และมีการได้เตรียมความพร้อมด้านพัฒนาบุคลากรได้พิจารณาการเลื่อนขั้นให้สูงขึ้นมีโบนัส 5 เท่าของเงินเดือน และบุคลากรมีโอกาสศึกษาต่อ และสวัสดิการของบุตรหรือมีแผนการจัดตั้งหัวหน้าหน่วยงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมรองรับงาน เป็นต้น 4.3 นโยบาย ยุทธศาสตร์ การดำเนินนโยบายและการจัดการยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองแวงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลบรรจุในแผนพัฒนา 3 ปี(พ.ศ.2551 – 2553) ไว้ 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี จะเห็นว่ายุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขคือยุทธศาสตร์คุณภาพชีวิตซึ่งในยุทธศาสตร์ดังกล่าวครอบคลุมการเสริมสร้างทักษะของคนภายในชุมชนทั้งด้านจิตใจ การศึกษาสุขภาพอนามัย สวัสดิการและสังคม และกีฬาทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพึ่งพาตนเองได้สำหรับแผนงานของเทศบาลที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนา 3 ปี (พ.ศ. 2551 – 2553) 4.4 การบริหารจัดการโครงการ (ปฏิบัติการถ่ายโอนในพื้นที่) ด้านการจัดสรรงบประมาณและการบริหารจัดการการเงินนั้น อปท.เทศบาลตำบลหนองแวง ได้มีการจัดทำแผน 3 ปี (พ.ศ.2551-2553) ของ อปท. โดยกำหนดกรอบงบประมาณไว้ 16 ล้าน 1 แสน และได้จัดทำโครงการรวม 45 โครงการ ซึ่งเน้นงานสร้างสุขภาพ งานป้องกัน งานก่อสร้าง และงานจัดซื้อจัดสร้าง ที่สำคัญคืองานสร้างเสริมสุขภาพเน้นไปที่โรงเรียน ผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน เป็นต้น 4.4.1 การบริหารจัดการงาน การบริหารจัดการงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการเชื่อมโยงงานกับโรงพยาบาลตำบลและเชื่อมประสานกับสถานีอนามัย ด้านการพัฒนาบุคลากรที่ถ่ายโอนมา โดยพัฒนาเรื่องขั้นตำแหน่งให้มีโอกาสเลื่อนขั้นได้สูงขึ้น โบนัส 5 เท่าของเงินเดือนและเปิดโอกาส ให้ศึกษาต่อ นอกจากนี้ก็มีการส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมสัมมนาเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ และนวัตกรรมด้านสาธารณสุข เป็นต้น สำหรับด้านรูปแบบการบริหารจัดการ งาน เงิน คน กฎระเบียบ วัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์และสถานที่ นั้นได้มีการวิเคราะห์แนวทางการทำงานด้านงบคน โดยประชุมวางแผนปรับเปลี่ยนวิธีการ ปรับเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับบิบทของท้องถิ่น จัดระบบการบริหาร จัดการบุคลากรใหม่เพื่อเตรียมพร้อม มีขั้นตอนการประเมินเจ้าหน้าที่ และการบริหารจัดการซื้อยา-ฉีดยา ภายใต้การดูแลของนายแพทย์สาธารณสุขที่เป็นระบบขึ้น มีการปรับระบบการเบิกจ่ายยา ระบบการถ่ายโอนเวชภัณฑ์ ภาพรวมทั้งสองฝ่าย ต้องการการถ่ายโอนทั้งหมด สำหรับด้านสถานที่จะปรับสภาพให้ดีขึ้น (อาคาร รั้ว) ซึ่งจะของบ ปรับปรุง ซ่อมแซม ในส่วนนี้เพิ่มขึ้น และด้านบทบาท อำนาจ หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ นั้น ทั้ง สอ. และ อปท. ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ปรับเปลี่ยนบทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง อปท. เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการมากขึ้น 4.1.2 การบริหารจัดการการเงิน ด้านการจัดสรรงบประมาณและการบริหารจัดการการเงินนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เทศบาลตำบลหนองแวง ได้มีการจัดทำแผน 3 ปี (พ.ศ.2551-2553) ของ อปท. โดยกำหนดกรอบงบประมาณไว้ 16 ล้าน 1 แสน และได้จัดทำโครงการรวม 45 โครงการ ซึ่งเน้นงานสร้างสุขภาพ งานป้องกัน งานก่อสร้าง และงานจัดซื้อจัดสร้าง ที่สำคัญคืองานสร้างเสริมสุขภาพเน้นไปที่โรงเรียน ผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน เป็นต้น นอกจากนี้ ปลัดบาลตำบลหนองแวงได้ไปศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลที่จังหวัดยโสธร คือโครงการโรงพยาบาลละ 2 บาท ได้แนวคิดมาปรับปรุงการให้บริการ ภายใน 2 ปีข้างหน้าคือ จะพัฒนาสถานีอนามัย 1 แห่งที่บ้านหงอนไก่เป็นโรงพยาบาลตำบล โดยให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียค่าธรรมเนียมเดือนละ 2 บาท ปีละ 24 บาท สมาชิกจะได้สิทธิพิเศษนอนโรงพยาบาลคืนละ 100 บาท นอนได้ไม่เกิน 5 วัน และมีกองทุนจากการออมโดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมการจัดบริการด้านสุขภาพ มีการพัฒนาห้องทำคลอด ห้องพักผู้ป่วย ห้องทำฟัน จัดบริการสวัสดิการให้กับผู้ทำงานล่วงเวลา ซึ่งมีงบบริหารจัดการทั้งด้านบุคลากร การบริการและปรับปรุงอาหารสถานที่ที่สถานีอนามัยหงอนไก่ประมาณ 1 ล้านบาท 4.4.3 สถานภาพและสวัสดิการของบุคลากร ในด้านสวัสดิการของบุคลากรเทศบาลตำบลหนองแวงได้ทำแผนรองรับไว้ ในด้านการจ้างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งจะทำงานรองรับด้านนี้ไว้ จำนวน 8 คน ประกอบด้วยพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และพนักงานสถานีอนามัย นอกจากนี้ยังมีพนักงานธุรการ /บัญชี ที่มาเพิ่มอีกในส่วนของระดับจังหวัด มีการรับสมัครคัดเลือกหัวหน้าสถานีอนามัยระดับ 7 ซึ่งเทศบาลสามารถจะสนับสนุนงบด้านพัฒนาบุคลากรได้ ทั้งค่าจ้างพิเศษ (แพทย์,เจ้าหน้าที่,อื่นๆ) การจัดสรรงบนี้ครอบคลุมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง ซึ่งเทศบาลตำบลหนองแวงได้ให้สวัสดิการทุนเรียนต่อของเจ้าหน้าที่ ติดตามผลการทำงาน มีการปรับระดับตำแหน่งหน้าที่พัฒนาศักยภาพบุคลากร สิทธิประโยชน์บริหารจัดการตามเงื่อนไขให้สอดคล้องกับงบประมาณการธรรมนูญสาธารณสุข เป็นต้น 4.4.4 วัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยี ในส่วนการบริหารจัดการด้านวัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เวชภัณฑ์และสถานที่ที่ อปท. ดูแลให้กับสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนมานั้น ในช่วงการถ่ายโอนใหม่ๆ มีปัญหาบ้างในเรื่องการเบิกจ่าย ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังไม่ทราบระบบและรูปแบบการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ สำหรับเวชภัณฑ์การเบิกจ่ายมาจากโรงพยาบาล ซึ่งบางส่วน อปท. ได้จัดสรรงบส่วนนี้ไว้แล้ว ในส่วนด้านสถานที่อปท.มีงบประมาณปรับปรุงสถานที่การต่อเติมเป็นโรงพยาบาลตำบล นอกจากนี้ ก็มีงบซื้อรถพยาบาลด้วย การสนับสนุนงบในการปรับปรุงที่ทำการสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนมาอยู่ในความดูแลนั้น เพื่อสามารถบริการประชาชนให้ดีขึ้น รวมทั้งได้มีแผนปรับปรุงห้องทันตภิบาล พร้อมซื้ออุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการทำฟันแก่ประชาชน ราคาประมาณ 1 ล้านบาท มีงบซ่อมแซมบ้านพักเจ้าหน้าที่ เป็นต้น 4.5 ธรรมาภิบาล (นิติธรรม คุณธรรมความรับผิดชอบ ความโปร่งใสและคุ้มค่า) ปัจจัยสำคัญในการรองรับระบบใหม่ของการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาอยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)นั้น อปท.เองได้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ซึ่งในส่วนของเทศบาลตำบลหนองแวง เคยได้รับรางวัลธรรมาภิบาลติดต่อกัน 2 ปี ซ้อนจากกรมปกครองส่วนท้องถิ่นและระดับจังหวัด ดังนั้นเทศบาลจึงมีศักยภาพและความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ แผนพัฒนาบุคลากร ตลอดจนยุทธศาสตร์พัฒนาด้านสาธารณสุข โดยได้บรรจุแผนด้านนี้ไว้ในแผนพัฒนา 3 ปี (พ.ศ. .2551-2553) เตรียมพร้อมการรองรับการถ่ายโอนของสถานีอนามัยที่สมัครใจเข้ามาอยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งหลัก ธรรมาภิบาลดังกล่าวพิจารณา 3 ระดับ คือ ก่อนถ่ายโอน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการนำเรื่องสู่สภาตามระบบของเทศบาลได้มีการติดตามระเบียบและรอดูเกณฑ์การถ่ายโอน รวมทั้งได้ศึกษาบทวนแผนเดิม เพื่อนำมาปรับใช้กับแผนใหม่ มีการเตรียมความพร้อมด้านคน ระบบบริหารจัดการ งานจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับระบบใหม่ มีการประชุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เพื่อวางแผนการทำงานและ บูรณาการแผนเดิมรวมกับแผนใหม่ ระหว่างถ่ายโอน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ปรับระบบบริหารงานบุคคล ทบทวนแผนเดิม เช่น กรรมการออกกำลังกาย การส่งเสริมผู้สูงอายุ ทำแผนเร่งด่วน และการสื่อสารมีการสื่อสาร 2 ทางง่ายต่อการดำเนินงาน นอกจากนี้ได้พิจารณาการให้สิทธิประโยชน์กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันเป็นระยะและปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรและบริบทในพื้นที่ หลังถ่ายโอนมีการปรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัฒนาศักยภาพบุคลากร สิทธิประโยชน์ บริหารจัดการตามเงื่อนไขให้สอดคล้องกับงบประมาณการธรรมนูญสาธารณสุข สุขภาพ สวัสดิการ ทุนเรียนจ่อของเจ้าหน้าที่ การติดตามประเมินผลการทำงาน เพื่อกรอบอัตรากำลัง และจะนำแนวคิดของเทศบาลตำบลหนองแวง เป็นต้นแบบให้พื้นที่และมีการจัดสรรงบด้านสุขภาพ สำหรับด้านรูปแบบการบริหารจัดการงาน เงิน กฎระเบียบ วัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และสถานที่นั้น ได้มีการวิเคราะห์แนวทางการทำงานด้านงานคน โดยมีการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนปรับเปลี่ยนวิธีการ ปรับเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น จะเห็นว่าในช่วงก่อน-ระหว่าง-หลังถ่ายโอน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ใช้หลักธรรมาภิบาลร่วมในการบริหารจัดการ โดยได้วางระบบโครงสร้างแผนงานกิจกรรม และกระบวนการบริหารจัดการอย่างเตรียมพร้อมรองรับ และได้เน้นการมีกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ร่วมคิดวางแผนเตรียมความพร้อมรองรับการถ่ายโอน ตั้งแต่เริ่มแรกมีการประชุมประสานความร่วมมือเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ในบทบาทหน้าที่ของทั้ง 2 หน่วยงาน (สาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ใช้หลักนิติธรรมผ่านกระบวนการของสภาเทศบาลตำบล ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การ ถ่ายโอนใช้หลักคุณธรรมโดยส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทำงานอย่างเต็มที่เต็มใจ โดยหนุนเสริมด้านสวัสดิการ การปรับตำแหน่ง ปรับเงินเดือนตามภาระงาน มีโอกาสเลื่อนขั้นได้สูงขึ้น โบนัส 5 เท่าของเงินเดือน และมีโอกาสศึกษาต่อใช้หลักความโปร่งใส โดยการแจ้งข่าวและจัดเวทีประชาคม โดยเชิญประชาชน อสม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมารับรู้การถ่ายโอนร่วมกัน มีการประชุมติดตามระเบียบ กฎเกณฑ์การถ่ายโอนร่วมกัน รวมทั้งประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันเป็นระยะ เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร และบริบทในพื้นที่ทั้งนี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการในระดับพื้นที่ในการร่วมติดตามประเมินผล และตรวจสอบการดำเนินงานด้วย และการดำเนินการนี้ได้พิจารณาหลักความคุ้มค่าร่วมด้วย โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น บุคลากร งบประมาณ แผนงานกิจกรรม สถานที่ เวชภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยอปท. ได้ทบทวนปัญหาแผนเดิมและบูรณาการแผนใหม่ ประสมเป็นกิจกรรมเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพทั้งด้านงานกิจกรรม งบประมาณ และคนทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต สำหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษา 1)ควรมีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยเปรียบเทียบระหว่างเขตเมืองที่มีการถ่ายโอนครอบคลุมการป้องกัน ส่งเสริม รักษา ฟื้นฟูกับเขตเมืองชนบทที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ดำเนินการอยู่เปรียบเทียบกับเมืองเล็กเป็นเขตในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/เทศบาลตำบล) กับเขตชนบทเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการให้บริการครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน (การป้องกัน ส่งเสริม รักษา ฟื้นฟู) 2)เปรียบเทียบปัจจัยที่ทำให้การถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยงบประมาณร่วมกันระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในประเด็นความสัมพันธ์บริบทชุมชน ความสำเร็จการถ่ายโอน ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจ สังคม ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล กับความสำเร็จการถ่ายโอน 3) นักวิจัยควรเริ่มมีส่วนร่วมในการประเมินความต้องการ ศักยภาพ ความพร้อมตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงการถ่ายโอน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน 4) ศึกษาเปรียบเทียบเจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัยที่มีความพร้อมที่มีบุคลากรที่มาสายส่งเสริมสุขภาพ(สอ.)และเป็นบุคลากรที่มาจากสายวิชาชีพ (แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์) ครอบคลุม 4 ด้าน (การป้องกัน ส่งเสริม รักษาฟื้นฟู) โดยมีวิธีการนำแพทย์พื้นบ้านเข้ามาช่วยปฏิบัติงานทั้ง 4 ด้าน โดยเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ไม่มีบุคลากรด้านนี้จะมีศักยภาพส่งเสริมงานด้านสุขภาพต่างกันอย่างไร 5) การวิจัยเพื่อสร้างตัวชี้วัดระดับมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข โดยผู้เกี่ยวข้องทุกระดับทั้งฝ่ายผู้ให้บริการฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายผู้รับบริการ โดยครอบคลุมการบริการ 4 ด้าน (การป้องกัน ส่งเสริม รักษา ฟื้นฟู) 6) ศึกษาสถานีอนามัยที่อยู่ห่างไกลโรงพยาบาลกับใกล้โรงพยาบาลโดยเปรียบเทียบด้านศักยภาพ ด้านการป้องกันสุขภาพ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการรักษาสุขภาพ การฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งความพร้อม ศักยภาพของอปท.ในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1790505 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectสาธารณสุข--นโยบายของรัฐen_US
dc.subjectHealth Decentralizeen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleโครงการศึกษาและสรุปบทเรียน กรณีการทดลองการถ่ายโอนสถานีอนามัยหนองตาเยาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 อ165ค หนองตาเยา 2551en_US
dc.identifier.contactno50ข055en_US
dc.subject.keywordการถ่ายโอนสถานีอนามัยen_US
dc.subject.keywordองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subject.keywordสถานีอนามัยหนองตาเยาen_US
dc.subject.keywordเทศบาลตำบลหนองแวงen_US
.custom.citationอนันต์ ลิขิตประเสริฐ, สุจริต ยางนอก, วัชระ ประทีปรัมย์ and อุบลรัตน์ พรหมจรรย์. "โครงการศึกษาและสรุปบทเรียน กรณีการทดลองการถ่ายโอนสถานีอนามัยหนองตาเยาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2462">http://hdl.handle.net/11228/2462</a>.
.custom.total_download126
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year14

Fulltext
Icon
Name: hs1504.pdf
Size: 1.833Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record