Show simple item record

Policy and Strategy on Illicit Drugs’ Prevention and Suppression

dc.contributor.authorฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญen_US
dc.date.accessioned2009-12-29T06:14:22Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:10Z
dc.date.available2009-12-29T06:14:22Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:10Z
dc.date.issued2551-10en_US
dc.identifier.otherhs1652en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2853en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนองค์ความรู้นโยบายและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2550 โดยมีวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงเอกสารซึ่งประมวลองค์ความรู้และกรณีศึกษาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผลการศึกษา พบว่า กรอบการมองปัญหายาเสพติดมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 4 ประการที่จะต้องพิจารณาในการจัดทำยุทธศาสตร์ประกอบด้วยปัจจัยเกี่ยวกับคน ได้แก่ การประมาณการและจำแนกจำนวนผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพ บุคคลผู้เสี่ยงต่อยาเสพติด บุคคลผู้ค้ายาเสพติดระดับต่างๆ บุคคลผู้เสพ/ผู้ใช้ และ ผู้เสพติด ฯลฯ รวมทั้งบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ปัจจัยเกี่ยวกับพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศที่สัมพันธ์กับปัญหายาเสพติด เช่น การเป็นพื้นที่ผลิต-นำเข้า-ส่งออก-เก็บพัก-แพร่ระบาด ฯลฯ และรวมถึงพื้นที่ที่เป็นหน่วยทางสังคม เช่น สถานศึกษา สถานประกอบการต่างๆ ฯลฯ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวยา ได้แก่ ตัวยาเสพติดชนิดต่างๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา สารระเหย แอมเฟตามีน เป็นต้น และปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัจจัยทางสังคม ฯลฯ ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหายาเสพติดทั้งด้านบวกและด้านลบ สาระสำคัญของนโยบายของรัฐบาลตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 119/2544 และ ที่ 120/2544 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด มีดังนี้คือ 1) เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง โดยยึดหลัก “การป้องกันนำหน้าการปราบปราม ผู้เสพต้องได้รับการรักษา ผู้ค้าต้องได้รับการลงโทษเด็ดขาด” 2) การเอาชนะยาเสพติดด้วยการตัดวงจรปัญหา 3 วงจร ได้แก่ ควบคุมตัวยาเสพติด ตัดวงจรผู้เสพติดออกจากวงจรการค้าด้วยการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในทุกระบบ และป้องกันไม่ให้มีการเสพยาเสพติด ด้วยการสร้างพลังแผ่นดินและปลูกจิตสำนึกของคนในชาติ กำหนดหมู่บ้านชุมชนเป็นเป้าหมาย ส่วนตัวยาเสพติดที่มีการค้าและการแพร่ระบาดที่สำคัญ มีดังนี้คือ 1) แอมเฟตามีน เป็นยาเสพติดหลักที่แพร่ระบาดในสัดส่วนมากที่สุดในประเทศอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปี ประเทศพม่า ยังคงเป็นแหล่งผลิตหลักก่อนที่จะกระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และลักลอบเข้าสู่ประเทศไทยตามแนวชายแดนต่างๆ ทางภาคเหนือ กลาง และกรุงเทพมหานคร 2) กัญชา มีการเพาะปลูกหลักในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและบางส่วนลักลอบปลูกในประเทศไทย พื้นที่แพร่ระบาดหลักของกัญชา อยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ และภาคใต้ กรุงเทพมหานครและบางส่วนลักลอบส่งออกต่างประเทศ 3) สารระเหย เป็นยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในกลุ่มประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี พื้นที่แพร่ระบาดหลักที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร 4) กระท่อม/ยาแก้ไอเป็นยาเสพติดที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นในช่วงไม่นานในกลุ่มวัยรุ่น พื้นที่แพร่ระบาดหลักอยู่ที่ภาคใต้ บางส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง 5) ยาเสพติดที่ใช้ในสถานบันเทิงหรือที่เกี่ยวข้อง ประเภท club drugs ได้แก่ ไอซ์ เอ็กซ์ตาซี่ โคเคน เคตามีน เป็นยาเสพติดที่มาจากต่างประเทศ พื้นที่แพร่ระบาดหลักอยู่ที่จังหวัดท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดท่องเที่ยวในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง กลุ่มประชากรที่เสพยังจำกัดอยู่ในคนบางกลุ่ม 6. ฝิ่นและอนุพันธุ์ของฝิ่น/เฮโรอีน ประเทศไทย ยังคงมีพื้นที่ปลูกฝิ่นที่ยังต้องดำเนินการอย่างลดพื้นที่ลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนเฮโรอีนที่ค้าและแพร่ระบาดในประเทศ ส่วนใหญ่ลักลอบมาจากชายแดน พื้นที่ที่ยังมีการแพร่ระบาดอยู่ที่ภาคใต้ กรุงเทพมหานคร และภาคเหนือบางส่วน กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการค้าและกระจายยาเสพติดในปัจจุบันยังเป็นกลุ่มที่ต่อเนื่องจาก ปี 2550 หรือในช่วงหลายปีที่ผ่านมาดังนี้ 1) กลุ่มการค้ายาเสพติดที่เป็นแรงงานต่างชาติสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชามีมากขึ้น 2) กลุ่มการค้ายาเสพติดชาวต่างประเทศ เช่น กลุ่มการค้าชาวแอฟริกันชาวเอเซีย ฯลฯ 3) กลุ่มการค้ายาเสพติดชายแดน เป็นกลุ่มการค้าเดิมอาศัยตามแนวชายแดนและเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ค้าตอนใน ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง 4) กลุ่มการค้ายาเสพติดที่เป็นแรงงานต่างชาติ ที่สำคัญ ได้แก่ ชาวพม่า ลาว และกัมพูชา 5) กลุ่มการค้ายาเสพติดในพื้นที่ตอนใน ซึ่งเป็นกลุ่มการค้าและแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดตอนใน ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29/2546 และ 30/2546 เรื่องการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด และจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติเป็นศูนย์กลางการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และที่ 31/2546 ให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศนั้นเพื่อให้ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติและศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดทุกระดับ เพื่อขจัดการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจนอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตโดยปกติ ภายใต้แนวคิดที่จะมุ่งปราบปรามผู้ค้าให้รับโทษตามกฎหมาย คือการเพิ่มระดับปฎิบัติการของกลไกที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกภาคส่วน ในรอบปี พ.ศ. 2546 ถึง 2547 รัฐบาลได้ประกาศทำสงครามกับยาเสพติดขั้นเด็ดขาดและนับจากวันที่รัฐบาลประกาศสงครามกับยาเสพติดจนถึงวันที่ประกาศชัยชนะกับยาเสพติด (3 ธันวาคม 2547) เป็นต้นมา พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากการวิสามัญฆาตกรรม และฆ่าตัดตอนเพื่อมิให้สืบสาวไปถึงผู้ค้ารายใหญ่ที่นัยว่าเป็นข้าราชการ และนักการเมืองเสียเองมีกว่า 2,500 รายทั่วประเทศ การปราบปรามขั้นเด็ดขาดถูกวิพากษ์อย่างหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า การประกาศทำสงครามกับยาเสพติด ทำให้แนวโน้มการแพร่ระบาดของยาเสพติดภายในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่สถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ชายแดนกลับมีแนวโน้มของการลักลอบและนำเข้ายาเสพติดสูงมากขึ้น กระบวนการลำเลียงยาเสพติดยังคงมาจากทางภาคเหนือ แต่นำไปเก็บกักไว้ในพื้นที่ภาคตะวันออก จึงทำให้ดูเสมือนว่ายาเสพติดมีการเปลี่ยนเส้นทางการลำเลียงมาทางด้านตะวันออก อีกเส้นทางหนึ่งที่ใช้มากขึ้นคือทางฝั่งประเทศลาว จากบริเวณสามเหลี่ยมทองคำมายังหลวงพระบาง ประเทศลาว จากนั้นยาเสพติดจะถูกลำเลียงผ่านมาทางเมืองเวียงจันทน์ ส่วนหนึ่งเข้าไปทางจังหวัดเลย เส้นทางพิเศษที่ต้องพิจารณาคือเส้นทางผ่านจากประเทศสหภาพพม่าโดยลำเลียงผ่านโดยตรงและใช้เส้นทางทะเลอันดามันมากขึ้น เนื่องจากเส้นทางคมนาคมสะดวก จากการคาดประมาณ พบว่า มีกลุ่มการค้ายาเสพติดระดับต่างๆ กว่า 100 กลุ่มการค้า กระจายตัวทั่วประเทศ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในปีพ.ศ.2549-2550 ที่มีผ่านมาได้ลดความรุนแรงลงมากกว่าช่วงก่อนประกาศสงครามยาเสพติดของรัฐบาล ปริมาณคดียาเสพติดที่จับกุมได้ลดลง นโยบายและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีลักษณะเชิงพลวัตร เนื่องจากปัญหายาเสพติดมีความสลับซับซ้อนและมีความรุนแรงยิ่งขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ จากยุทธศาสตร์ “ราษฎร์-รัฐ ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด” เป็นยุทธศาสตร์“พลังแผ่นดิน เพื่อเอาชนะยาเสพติด” เพื่อกวาดล้างยาเสพติด การกำหนดยุทธศาสตร์เป็นวาระแห่งชาติและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นไม่น้อยไปกว่าปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ ผลการศึกษางานวิจัยเอกสารเรื่อง นโยบายและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดนี้ได้สะท้อนถึงพัฒนาการและการนำปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ ตลอดจนการใช้กฎหมายและการจัดงบประมาณเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ และผลการปฎิบัติที่เกิดขึ้นจากแผนงานสำคัญๆ ที่จัดให้มีการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และโครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติด (อสต.)en_US
dc.format.extent2082242 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherโครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติดen_US
dc.rightsโครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติดen_US
dc.subjectยาเสพติดen_US
dc.subjectการควบคุมยาเสพติด--ไทยen_US
dc.subjectกฎหมายยาเสพติดen_US
dc.subjectปัจจัยคุกคามสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleนโยบายและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดen_US
dc.title.alternativePolicy and Strategy on Illicit Drugs’ Prevention and Suppressionen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research study is to review knowledge on policy and strategy of illicit drugs’ prevention and suppression between 1997-2007. This is a documentary research which compiled knowledge and case studies related to policy and strategy of illicit drugs prevention and suppression. Results of this study indicated that the framework on looking at the problem of illicit drugs had at least 4 related factors, which were necessary for strategic planning. The related factors are, estimation and categorization of individuals in general population who are involved with illicit drugs, individuals who are at risk with illicit drugs, individuals who are selling illicit drugs, those who consume / use and those who are addicts etc., including those who are involved with solving illicit drugs problems both directly and indirectly. Factors involved with areas are, at the level of village/community, sub-district, district, province, regional and national level, which area related to illicit drugs problems related to production, import/export, storage, distribution etc., including societal unit area such as school or educational area, workplace or factory area etc. Factors related to illicit drugs itself, such as, opium, heroin, marijuana, amphetamine, etc. Factors related to environment are such as economic factor, political, international relations, and social factors, etc., which has positive or negative impact on illicit drugs problems. The important content of government policy according to prime minister order number 119/2544 and 120/2544, and the 9th National Plan for Economic and Social Development related to the prevention and suppression on illicit drugs, are as follow. 1. Problem of illicit drugs is a national priority, with strict enforcement through the principle of “prevention before suppression; addicts shall receive therapy sessions; seller/distributors shall receive severe punishment”. 2. Winning over the illicit drugs problem by intervening 3 circles: controlling illicit drugs, separating addicts from drugs trafficking through therapy and rehabilitation process, and prevention of illicit drugs use through empowering and raising public awareness by focusing on target communities. Important illicit drugs are as follow: a. Amphetamine is an important illicit drugs which remains a major problem nationally for the past 10 years. Myanmar is an important producer for distribution to neighbouring countries and then smuggled into Thailand, through various borders from northern to central part, and Bangkok. b. Marijuana is cultivated mainly in Lao and some part in Thailand. Major area of this illicit drug are northeastern, southern parts of Thailand and Bangkok. Some of the drugs are smuggled out to other countries. c. Various vaporizing addictive substances are popular among young people under 18 years old. Principle areas are northeastern part of Thailand and Bangkok. d. Kratom (Thai herb) and cough medicine are increasing in popularity for the past few years. Principle areas are southern part of Thailand, certain areas in Bangkok and neighboring provinces. e. Club drugs or illicit drugs in bars, nightclubs or various entertainment places at night. These are Ice, Ecstasy, cocaine, and Ketamine which is imported. Areas of heavy consumption of these drugs are tourist spots such as Bangkok, some provinces in southern, northern and central area. These drugs are limited to certain population groups. f. Opium, other variations of opium / heroin. There are certain areas of opium cultivation in Thailand, which needs to be reduced continuously. Majority of heroin in Thailand are smuggled from various borders. Southern, some northern areas and Bangkok are major areas of heroin consumption. Various groups of individuals who have major roles in distribution and trafficking at present are the same group of people in the past several years. They are, 1. Foreign labor force such as Myanmar, Lao and Cambodia are increasing in number for selling and distribution of illicit drugs. 2. Foreign nationals who sell illicit drugs such as Africans, Asians etc. 3. Group which sell illicit drugs along borders and networks with those selling in the country, such as northern and central part. 4. Foreign labor force who sells drugs such as Myanmar, Lao and Cambodia. 5. Those who sell drugs in inner areas of the country. According to Prime Minister Office order number 29/2546 and 30/2546 related to winning the war over illicit drugs and establishing National Center of Illicit Drugs Prevention and Suppression, and number 31/2546 related to establishing regional center for illicit drugs prevention and suppression, are for the objective of getting rid of illicit drugs. Between 2003-2004 Thai government declared war on illicit drugs with the result of 2,500 homicides in order to cut short the real connection of drug lord or mastermind, who may be high ranking government officials or politicians. Even though the war on illicit drugs reduces national consumption drastically, but problem of drugs along the borders is increasing with smuggling and importation. The route for trafficking drugs is from the northern part but store for shipment in eastern part of Thailand. This makes it look like there was a change for different route from eastern area. Another favorite route is from Lao, in the golden triangle area to Luang Prabang province. From there, drugs will be transported to Viengtiene, with one route going through Loei province. Special route to be considered is the one from Myanmar and going through Andaman Sea. From estimation, there are over 100 groups of drug cartels all over Thailand. The problem of drug distribution has reduced drastically between 2006-2007. Number of arrested drug cases has reduced. Policy and strategy in prevention and suppression during the past 10 years was dynamic, since this is complicated and increasing in violence both domestically and internationally. From the strategy of “People and Government Fight Illicit Drugs Together” to “Power of the Land to Win Over Illicit Drugs” in order to get rid of drugs, the strategic planning is national agenda, with priority not less than economic problem or other social problem. The conclusion of this documentary research reflects the development and taking it seriously as the national agenda. The result indicates legal measures and budgeting process to facilitate this national strategy, including performance-based results from various important plans for prevention and suppression of illicit drugs.en_US
dc.identifier.callnoHV5840 ฉ63น 2551en_US
.custom.citationฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. "นโยบายและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2853">http://hdl.handle.net/11228/2853</a>.
.custom.total_download263
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs1652.pdf
Size: 2.066Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record