Show simple item record

Evaluation Report of The Project of Rehabilitation of Inhalant Dependent Juveniles by Drama Process

dc.contributor.authorพรประภา แกล้วกล้าen_US
dc.contributor.authorประภัสสร ปรีเอี่ยมen_US
dc.contributor.authorวงศวัฒน์ ปัญญาวุฒิวงศ์en_US
dc.contributor.authorกิ่งทอง พันทิอั้วen_US
dc.contributor.authorวีรยา เรืองเจริญen_US
dc.date.accessioned2009-12-29T06:43:56Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:09Z
dc.date.available2009-12-29T06:43:56Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:09Z
dc.date.issued2552-05en_US
dc.identifier.otherhs1653en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2854en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้สารระเหยที่เป็นเด็กและเยาวชนโดยใช้กระบวนการละคร เป็นการวิจัยประเมินผลโดยใช้ตัวแบบเหตุผล ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร ร่วมกับการลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์ การร่วมกิจกรรม สัมภาษณ์ และการจัดประชุมกลุ่มย่อย กับกลุ่มเป้าหมายทุกฝ่าย ตลอดจนการจัดประชุมเพื่อคืนข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมโดย ด้านร่างกาย พบว่า ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ เรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งช่วยพัฒนาการทำงานประสานกันระหว่างมือ ตาและใจ อีกทั้งทำให้ทำงานอย่างมีสมาธิ ด้านจิตใจ พบว่า ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ มีการเห็นคุณค่าตนเองเพิ่มขึ้น กล้าแสดงออกมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าพบปะชุมชนมากขึ้น ช่วยให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้ฝึกควบคุมและยับยั้งอารมณ์ตนเองได้และเรียนรู้ถึงการเอาชนะใจตนเอง เชื่อฟังและช่วยเหลือครอบครัวมากขึ้น มีความรับผิดชอบ พูดจามีเหตุผลและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนมีสัมมาคารวะ ด้านสังคม พบว่า ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น การแต่งกายสะอาดมากขึ้น รู้จักทักทาย มีความเป็นผู้ใหญ่ ในกลุ่มวัยรุ่นมีการปรับตัวได้ดี มีความเป็นมิตร อ่อนน้อม จริงใจมากขึ้น เกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับของสังคม 2 แนวทางการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป ควรมีเวลาให้ความรู้ ความเข้าใจและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการละครและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องให้เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบ โดยจัดประชุมเตรียมงานและสรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ เพื่อให้การทำงานเป็นเอกภาพ มีความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ การคัดกรองสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ควรคัดเลือกเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้สารระเหย เพราะผู้ที่เสพมาเป็นเวลานาน จะมีปัญหาทางสมองและอาการทางจิตร่วมด้วย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ควรเพิ่มเวลาในการจัดโครงการ จะช่วยพัฒนาสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้มากขึ้นรวมทั้งควรจัดเวทีให้สมาชิกได้แสดงออกมากขึ้น ควรจัดกิจกรรมที่ฝึกวินัยเพิ่มขึ้น โดยอาจจัดให้มีการฝึกระเบียบวินัยก่อนที่จะนำกระบวนการฟื้นฟูเข้ามาใช้ เช่น ให้มีการฝึกวินัยที่ค่ายทหารก่อน เพื่อให้เด็กเชื่อฟังและมีวินัยเมื่อนำกระบวนการละครมาใช้ฟื้นฟู และ ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ควรให้มีการบันทึกรายเดือนเพื่อรายงานความเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมโครงการ และติดตามผลว่าครอบครัวได้มีส่วนช่วยเหลืออย่างไรบ้าง 3. แนวทางการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ กระบวนการละครสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในการจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทั้งในโปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติและโปรแกรมของสถานที่เพื่อการฟื้นฟูแบบควบคุมตัว โดยเลือกนำแต่ละกิจกรรมไปใช้ในโอกาสต่างๆ เช่น เป็นกิจกรรมสำหรับเตรียมความพร้อมของร่างกาย จิตใจและกิจกรรมซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการกลุ่ม หรือเป็นกิจกรรมสำหรับให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาโดยเสริมกับกิจกรรมที่ทำอยู่แล้วในโปรแกรมพื้นฐานหรือโปรแกรมเฉพาะด้าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้บางกิจกรรมผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ / ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ เช่น การวาดรูป การทำสมุดบันทึก การทำหน้ากาก การทำผ้ามัดย้อม และทักษะการแสดงต่างๆ เช่น การโยนบอล ละครใบ้ การอ่านบทกวี และการแสดงบนเวที เป็นต้น ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดโครงการโดยใช้กระบวนการละครในการฟื้นฟูผู้ใช้สารระเหยอีกครั้ง โดยให้มีการออกแบบกระบวนการฟื้นฟูฯ ที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มจนจบ เพราะแม้ว่าผลจากการวิจัยครั้งนี้จะพบว่ากระบวนการละครมีผลในการปรับเปลี่ยนผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ ก็ตาม แต่เนื่องจากโครงการนี้ได้ดำเนินการเป็นโครงการนำร่องเฉพาะในพื้นที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดมหาสารคาม และเป็นการดำเนินโครงการย่อยภายใต้โครงการใหญ่ โดยเป็นการดำเนินการในช่วงเดือนที่สอง ผลจากการจัดกิจกรรมและจัดตารางชีวิตของเดือนที่หนึ่ง ย่อมส่งผลมาถึงโครงการในเดือนที่สองด้วย การวางแผนตารางชีวิตและกิจกรรมแยกเป็นส่วนๆ ตามความรับผิดชอบของวิทยากร โดยไม่ได้นำมามองในภาพรวมเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวของผู้เข้าร่วมโครงการ จากการประเมินเห็นได้ชัดเจนว่า การไม่สอดประสานกันในกระบวนการแต่ละด้านของวิทยากรแต่ละชุด (วิทยากรกระบวนการ, วิทยากรละคร, พระ และเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ) ประกอบกับไม่มีเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ เชื่อฟังดูแลตลอดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะ “ไม่มีวินัย” ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรู้สึกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับปรุง จึงควรได้มีการศึกษาเพิ่มเติมว่า การปลูกฝังเรื่องวินัยสามารถปลูกฝังผ่านกระบวนการละครได้มากน้อยเพียงใด หรือจะต้องมีกระบวนการใดเสริมกับกระบวนการละครที่มีอยู่แล้วบ้าง 2. หากมีการนำกระบวนการละครมาใช้ในการบำบัดฟื้นฟูฯ ผู้ใช้สารระเหยในวงกว้างขึ้น คณะวิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 2.1 การนำนวัตกรรมอะไรก็ตาม จำเป็นต้องให้มีความเข้าใจร่วมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการละครซึ่งไม่เป็นที่คุ้นเคยของเจ้าหน้าที่ ต้องให้เกิดความเข้าใจและได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจึงจะเป็นทีม ทีมมีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนา 2.2 ต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ว่าการแก้ปัญหาวัยรุ่น ต้องเข้าใจและใช้มุมบวก การฟื้นฟูสมรรถภาพไม่ใช่ใช้เวลาสั้นๆ และเครื่องมือเดียว ความสุขเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน 2.3 ความสำเร็จของโครงการจำเป็นต้องมีผู้บริหารจัดการที่ชัดเจนและมองภาพรวมของกระบวนการได้en_US
dc.description.sponsorshipโครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติด (อสต.),สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.),สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),มูลนิธิแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิดen_US
dc.format.extent2565102 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherโครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติดen_US
dc.rightsโครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติดen_US
dc.subjectคนติดยาเสพติด--การฟื้นฟูสมรรถภาพen_US
dc.subjectปัจจัยคุกคามสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้สารระเหยที่เป็นเด็กและเยาวชนโดยใช้กระบวนการละครen_US
dc.title.alternativeEvaluation Report of The Project of Rehabilitation of Inhalant Dependent Juveniles by Drama Processen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWM270 พ45ก 2552en_US
dc.subject.keywordผู้ใช้สารระเหยen_US
dc.subject.keywordการฟื้นฟูสมรรถภาพen_US
.custom.citationพรประภา แกล้วกล้า, ประภัสสร ปรีเอี่ยม, วงศวัฒน์ ปัญญาวุฒิวงศ์, กิ่งทอง พันทิอั้ว and วีรยา เรืองเจริญ. "การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้สารระเหยที่เป็นเด็กและเยาวชนโดยใช้กระบวนการละคร." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2854">http://hdl.handle.net/11228/2854</a>.
.custom.total_download65
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1653.pdf
Size: 2.496Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record