Show simple item record

บทสังเคราะห์การศึกษาและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของชุมชนในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

dc.contributor.authorนวลตา อาภาคัพภะกุลen_US
dc.coverage.spatialนราธิวาสen_US
dc.coverage.spatialปัตตานีen_US
dc.coverage.spatialยะลาen_US
dc.date.accessioned2010-02-26T09:14:55Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:21Z
dc.date.available2010-02-26T09:14:55Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:21Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.otherhs1663en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2896en_US
dc.description.abstractสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีภาระกิจในการส่งสริมให้เกิดงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยมีการจัดทำโครงการทั้งในรูปแบบการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยเชิงระบบและการวิจัยกระบวนการทำงาน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรด้านการศึกษา เกษตรและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีการทำงานร่วมกันเป็น "องค์รวมและบูรณาการ" อย่างแท้จริง โดยไม่เลือกกลุ่มวิชาชีพหรือชาติพันธุ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ที่เป็นพื้นที่ "พหุวัฒนธรรม" ที่มีบริบทของ "อัตลักษณ์" ของประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มีความจำเพาะและต้องทำความเข้าใจ เพื่อลดความขัดแย้งที่คงอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดน จนกลายเป็นพื้นที่ "พิเศษ" ที่ต้องการความร่วมมือของหลายภาคส่วนในการพัฒนาสุขภาพอนามัยของคนในพื้นที่โดยมีความร่วมมือของนักวิชาการ ประชาสังคม สาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่ผ่านมาสวรส ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่จึงได้สนับสนุนให้มีการศึกษาเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน/สถาบันปอเนาะ (2551) จากรายงานการศึกษา 335 โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี จำนวน 192 โรงเรียน จังหวัดนราธิวาส จำนวน 83 โรงเรียนและจังหวัดยะลา จำนวน 60 โรงเรียน ทั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมทางกายภาพแต่ยังไม่ได้เชื่อมโยงถึงปัญหาสุขภาพและสรุปว่าโรงเรียนสอนศาสนาร้อยละ 60 มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะ โดยส่วนใหญ่คิดว่าพื้นที่ของตนยังขาดงบประมาณในการดำเนินงาน (29.41%) รองลงมาคือ การขาดทักษะความรู้ในการดำเนินงาน (10.78%) และการไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (7.19%) ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อแนวทางในการแก้ปัญหาโรงเรียน/สถาบันศึกษาปอเนาะมีความต้องการของบประมาณเพิ่มเติม (29.08%) เพื่อแก้ปัญหาการจัดการขยะมากที่สุด รองลงมา คือ การให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง (10.78%) และการขอรับการสนับสนุนจาก อบต. (7.19 %) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบปัญหาการจัดการน้ำ ที่พบว่าส่วนใหญ่ยังใช้น้ำบ่อตื้นมีโรงเรียน 133 จาก 335 แห่ง ที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง นอกจากนี้ในเรื่องส้วม ห้องน้ำห้องส้วม มี 20 แห่งจาก 335 แห่ง ที่มีห้องน้ำห้องส้วมอยู่ในระดับดีและถูกสุขลักษณะ มีอีก 166 ที่ขาดแคลนห้องน้ำห้องส้วม ด้านสถานการณ์การจัดหอพัก พบว่า มีเพียง 28 แห่งที่มีการจัดการหอพักที่ดี และมีเพียง 8 แห่งที่ถูกสุขลักษณะ โรงเรียนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แต่อาจจะด้วยความไม่เข้าใจถึงบทบาทของพื้นที่หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องทำให้โรงเรียนปอเนาะเหมือนถูก “ทิ้ง” ให้แก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นเอง การขาดการติดต่อและร่วมแก้ไขปัญหาจึงยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกห่างเหิน ไม่เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังอาจมีผลมาจาก นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนปอเนาะส่วนหนึ่งมาจากนอกพื้นที่ ทำให้เจ้าของพื้นที่ขาดความรู้สึกผูกพันและขาดการมีส่วนร่วม จากผลการศึกษาดังกล่าว นำมาสู่แนวทางในการจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนา การศึกษาและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของชุมชนในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาเครือข่ายการจัดการสุขภาพชุมชนในสถาบันศึกษาปอเนาะ/โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแบบมีส่วนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลและสถานีอนามัย 2. พัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพชุมชนในสถาบันศึกษาปอเนาะ/โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในประเด็นการจัดการขยะ การจัดการน้ำดื่มน้ำใช้ การจัดการสุขอนามัยห้องส้วม และการจัดการหอพักโดยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 3. พัฒนาแนวทางการส่งเสริมขยายผลการนำรูปแบบการจัดการสุขภาพชุมชนในสถาบันศึกษาปอเนาะ/โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในประเด็นการจัดการขยะ การจัดการน้ำดื่มน้ำใช้ โดยมี พื้นที่ศึกษา คือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 7 แห่ง โดยกระจายอยู่ทั้ง 3 จังหวัด ดังนี้ คือ จังหวัดนราธิวาส 2 แห่ง ปัตตานี 2 แห่ง และยะลา 3 แห่ง โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ 1) ต้องมีความต้องการเข้าร่วมโครงการการจัดการสุขภาพของสถาบันศึกษาปอเนาะ/โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ เพราะเป็นพื้นที่ปฏิบัติการหลักในการจัดการสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2) ความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของแต่ละภาคีในพื้นที่ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติการดำเนินวิจัย และ 3) ศักยภาพในการขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพสู่ชุมชนของแต่ละภาคีen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.format.extent1170106 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleบทสังเคราะห์การศึกษาและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของชุมชนในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA546 น318บ 2552en_US
dc.identifier.contactno51-070en_US
dc.subject.keywordระบบสุขภาพชุมชนen_US
.custom.citationนวลตา อาภาคัพภะกุล. "บทสังเคราะห์การศึกษาและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของชุมชนในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2896">http://hdl.handle.net/11228/2896</a>.
.custom.total_download237
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs1663.pdf
Size: 1.181Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record