Show simple item record

The Right to Health for All for Non-citizens and Non-nationals

dc.contributor.authorดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุลen_US
dc.contributor.authorDarunee Paisanpanichkulen_EN
dc.date.accessioned2010-07-21T02:47:52Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:05:47Z
dc.date.available2010-07-21T02:47:52Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:05:47Z
dc.date.issued2553-03en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 4,1(ม.ค.-มี.ค.2553) : 18-25en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2952en_US
dc.description.abstractท่ามกลางการตีความเพื่อ (กีด)กันมนุษย์ไร้รัฐ (หรือไร้เลข 13 หลัก)/ไร้สัญชาติ ออกจากการเป็นผู้ทรงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ใน พ.ศ.2551 โดยการสนับสนุนของสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย หรือ สวปก. (เพื่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทย ได้ดำเนินงานวิจัยย่อย 6 ชุดเพื่อสำรวจสภาพปัญหาต่างๆที่คนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติต้องเผชิญ เมื่อใครสักคนในครอบครัวเกิดล้มเจ็บป่วยลงจำนวน 10 กรณี และในอีกด้านหนึ่ง เมื่อผู้ป่วยไร้รัฐ/ไร้สัญชาติไปถึงสถานพยาบาล ในสถานการณ์ที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคุ้มครองเฉพาะ “ผู้มีสัญชาติไทย”นั้น สถานพยาบาลมีท่าทีรับมือ/จัดการกับกรณีนี้อย่างไรบ้างในระดับปัจเจก รวมทั้งการศึกษาในด้านข้อกฎหมาย ทั้งกฎหมายภายในประเทศ และอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ผูกพันประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี รวมถึงประสบการณ์การจัดหลักประกันสุขภาพในต่างประเทศ ข้อค้นพบคือผู้ป่วยไร้รัฐ/ไร้สัญชาติส่วนใหญ่ไม่ถูกปฏิเสธการรักษาจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ แต่ความยากจนก็ทำให้คนเหล่านี้ไม่มั่นใจในการไปขอใช้บริการ เว้นเสียแต่อาการทรุดหนักลง ภาระผูกพันที่ตามมาคือหนังสือแจ้งสภาพหนี้ สถานพยาบาลหลายแห่งพยายามจัดการรับมือกับผู้ป่วยไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ ซึ่งแตกต่างกันออกไป มีสถานพยาบาลบางแห่งสามารถก้าวพ้นการจัดการปัญหาแบบเดิมๆ ด้วยการผลักดันบัตรประกันสุขภาพทางเลือกออกมา ส่วนในด้านกฎหมายพบว่า ยังไม่เคยมีการหารือเพื่อนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมาย หรือขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในประเด็นผู้ทรงสิทธิแห่งกฎหมายหลักประกันสุขภาพแต่อย่างใด การตีความโดยพิจารณาว่า บุคคลหมายถึง ผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้นเป็นการตีความที่ขัดแย้งและละเมิดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และขัดต่อพันธกรณีที่ประเทศไทยผูกพันในฐานะรัฐภาคี รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ข้อเสนอแนะของงานวิจัย คือ ควรพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ สปสช.ควรเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีในการกำหนดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อคุ้มครองสิทธิในสุขภาพให้กับคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ เฉกเช่นกับที่รัฐบาลไทยเคยดำเนินการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิในทางการศึกษาของเด็กไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ และในระยะสั้น เสนอแนะให้สปสช.เข้าร่วมมือกับภาคประชาสังคมที่ก่อตั้ง “กองทุนหลักประกันสุขภาพทางเลือก” เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่กลุ่มบุคคลนี้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.subjectกองทุนหลักประกันสุขภาพทางเลือกen_US
dc.subjectสิทธิมนุษยชนen_US
dc.titleข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติen_US
dc.title.alternativeThe Right to Health for All for Non-citizens and Non-nationalsen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordมนุษย์ไร้รัฐen_US
dc.subject.keywordคนไร้รัฐen_US
.custom.citationดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล and Darunee Paisanpanichkul. "ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2952">http://hdl.handle.net/11228/2952</a>.
.custom.total_download2455
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month31
.custom.downloaded_this_year78
.custom.downloaded_fiscal_year169

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v4n1 ...
Size: 190.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

Show simple item record