แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

พฤติกรรมการล้างมือของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล

dc.contributor.authorชัยรัตน์ ลำโปen_US
dc.contributor.authorChairat Lampoen_US
dc.coverage.spatialสตูลen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T06:56:03Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:55:14Z
dc.date.available2008-10-02T06:56:03Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:55:14Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551) (ฉบับเสริม 3) : 716-723en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/297en_US
dc.description.abstractการล้างมือเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของการป้องกันการแพร่โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เพราะในขณะที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย มือของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรการแพทย์อื่นๆ มีโอกาสสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง สิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย หรือจากการสัมผัสทางอ้อม เช่น การสัมผัสอุปกรณ์เครื่องใช้ของผู้ป่วย รวมทั้งจากสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน การศึกษานี้เพื่อศึกษาอัตราการล้างมือ อัตราความถูกต้องในการล้างมือ และระยะเวลาเฉลี่ยในการล้างมือ โดยการศึกษาแบบพรรณนาภาคตัดขวาง ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อมิให้กลุ่มบุคลากรการแพทย์ทราบว่ากำลังถูกสังเกตพฤติกรรมการล้างมืออันจะช่วยป้องกัน Hawthore effect ซึ่งอาจเกิดขึ้นขณะเก็บข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ได้สังเกตพฤติกรรมการล้างมือของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในแผนกชันสูตรโรคและแผนกทันตสาธารณสุข จำนวน 43 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง เก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1-30 เมษายน 2549 บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้เชิงพรรณนา โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows, version 11.5 จากการศึกษาสังเกตการสัมผัสผู้ป่วย 118 ครั้งที่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย พบว่าอัตราการล้างมือในกลุ่มบุคลากรการแพทย์ของโรงพยาบาลที่ถูกเฝ้าสังเกตเท่ากับร้อยละ 88.98 เมื่อจำแนกอัตราการล้างมือตามตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากรการแพทย์ที่ถูกเฝ้าสังเกตพบว่าอัตราการล้างมือของแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค ทันตาภิบาล และเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เท่ากับร้อยละ 43.75, 100, 100, 100 และร้อยละ 50 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์อัตราความถูกต้องและไม่ถูกต้องในการล้างมือของบุคลากรการแพทย์เท่ากับร้อยละ 17.14 และร้อยละ 82.86 สรุปว่าบุคลากรการแพทย์ของโรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล ยังคงมีพฤติกรรมการล้างมือที่ไม่ถูกต้องสูงถึงร้อยละ 82.86 ถึงแม้จะมีอัตราการล้างมือเพิ่มสูงถึงร้อยละ 88.98 ก็ตาม ดังนั้นบุคลากรการแพทย์เหล่านี้สมควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติต่อการล้างมือโดยเร่งด่วน อันจะช่วยลดและป้องกันปัญหาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลth_TH
dc.format.extent221667 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleพฤติกรรมการล้างมือของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูลen_US
dc.title.alternativeHandwashing Behavior among Health-care Personnel in Khuankalong Hospital, Satun Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeHandwashing is an important method for the prevention of nosocomial infection, especially in light of the fact that all health personnel, i.e., doctors, nurses, and others, have contact with patientsû blood, excreta and secretions. The objectives of this cross-sectional study were to determine the rate of handwashing practiced, the accuracy of handwashing and average times spent in handwashing among health-care personnel in Khuankalong Hospital. The study was carried out in the period from April 1 to 30, 2006. Participant observation with a check-list form was used for data collection on 43 subjects, comprising physicians, nurses, dental health workers and laboratory technicians, using purposive sampling. Descriptive statistics were used for data analysis. The results of the study disclosed that, from 118 observations, the handwashing and accuracy rates of health-care personnel were 88.98 percent and 17.14 percent, respectively. The handwashing rates among physicians, nurses, technical nurses, dental health workers and laboratory technicians were 43.75 percent, 100 percent, 100 percent, 100 percent and 50 percent, respectively. It was evident that the health-care personnel of Khuankalong Hospital had a very high rate of inaccuracy in handwashing (82.86%) while their handwashing rate was only 88.98 percent. Thus, it is mandatory that all health-care personnel in this hospital should be encouraged to attend the intensive training course focusing on handwashing in order to reduce the occurrence of nosocomial infection.en_US
dc.subject.keywordพฤติกรรมการล้างมือen_US
dc.subject.keywordการติดเชื้อในโรงพยาบาลen_US
dc.subject.keywordHandwashing Behavioren_US
dc.subject.keywordNosocomial Infectionen_US
.custom.citationชัยรัตน์ ลำโป and Chairat Lampo. "พฤติกรรมการล้างมือของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/297">http://hdl.handle.net/11228/297</a>.
.custom.total_download3011
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month11
.custom.downloaded_this_year78
.custom.downloaded_fiscal_year123

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 220.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย