Show simple item record

Policy Options on Medical Injury Compensation Fund for Thailand

dc.contributor.authorศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์en_US
dc.contributor.authorหทัยชนก สุมาลีen_US
dc.contributor.authorSiriwan Pitayarangsariten_EN
dc.contributor.authorHathaichanok Sumaleeen_EN
dc.date.accessioned2010-11-09T09:04:53Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:14:42Z
dc.date.available2010-11-09T09:04:53Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:14:42Z
dc.date.issued2553-09en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 4,3(ก.ค.-ก.ย. 2553) : 421-434en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3058en_US
dc.description.abstractอาการไม่พึงประสงค์จากการรับบริการสุขภาพไม่ว่าจะเป็นเหตุสุดวิสัยหรือจากความประมาทของผู้ให้บริการก็ตามนำมาซึ่งความสูญเสีย และความขัดแย้งระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการรักษา และมีผลกระทบต่อระบบบริการด้านสุขภาพของประเทศ ที่ความศรัทธาและความเชื่อมั่นระหว่างกันและกันกำลังสูญหายไป กระบวนการชดเชยในปัจจุบันที่ใช้กระบวนการทางศาล ไม่อาจเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการได้ ส่วนการชดเชยเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มาตรา 41 ที่ให้เงินชดเชยไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียหายได้ระดับหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมเฉพาะผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเกิดความคิดที่จะขยายความคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน และในที่สุดได้ร่วมกันร่างกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องดังกล่าว คณะวิจัยจึงเห็นสมควรที่จะได้มีการสรุปทางเลือกเชิงนโยบาย และชี้ให้เห็นผลดีผลเสียของทางเลือกในการออกแบบการจัดตั้งกองทุน เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีข้อมูลเพียงพอและสามารถประเมินความเป็นไปได้ของทางเลือก และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว จากการศึกษาพบว่าการชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์โดยไม่พิสูจน์ความผิดผ่านกระบวนการที่มิใช่ศาลได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในหลายประเทศแถบสแกนดิเนเวียและประเทศนิวซีแลนด์ แนวคิดนี้อยู่บนหลักการที่ตระหนักในความรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด รูปแบบของแหล่งเงินชดเชยโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดมี 2 แหล่ง คือ (1) รายได้จากการเก็บจากผู้ให้บริการหรือกองทุนสุขภาพที่ดูแลสถานพยาบาล ซึ่งผู้ให้บริการในภาครัฐมีแหล่งเงินมาจากภาษีเงินได้ ส่วนผู้ให้บริการภาคเอกชนต้องจ่ายเบี้ยประกันเอง และ (2) เก็บภาษีสมทบจากผู้มีรายได้โดยมีเพดานรายได้ระดับหนึ่งในการคำนวณภาษี และรัฐจ่ายสมทบให้สำหรับผู้ไม่มีรายได้ และอนุญาตให้เรียกเก็บจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ทั้งรายบุคคลและองค์กรได้ (รูปแบบของประเทศนิวซีแลนด์) นักวิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรเลือกรูปแบบที่อยู่บนแนวคิดชดเชยผู้เสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการได้ และควรสร้างกระบวนการชดเชยเต็มรูปและตัดสิทธิทางศาลในคดีแพ่ง (ไม่ตัดสิทธิทางศาลถ้าไม่ขอรับเงินชดเชยจากกองทุน) ซึ่งจะช่วยเยียวยาความเสียหายจากการรับบริการสุขภาพของผู้เสียหายได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว ส่วนแหล่งการคลัง นักวิจัยเสนอให้กองทุนสุขภาพที่ดูแลหลักประกันสุขภาพของผู้มีสิทธิจ่ายแทนสถานพยาบาล ส่วนสถานพยาบาลเอกชนให้จ่ายเบี้ยประกันเอง ประมาณการค่าใช้จ่ายกองทุนมีค่าอยู่ระหว่าง 341-679 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ย 5-11 บาทต่อหัวประชากร การถกเถียงในประเด็นต่างๆระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะช่วยให้มีการนำข้อมูลมาเปิดเผยต่อสาธารณะมากยิ่งขึ้น การศึกษาจะมีส่วนช่วยให้มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ข้อมูลตรงกัน ซึ่งจะช่วยให้สังคมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายในวงที่กว้างขึ้น มิใช่แต่เพียงการแทรกแซงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น ข้อควรระวังคือ หากระบบสุขภาพด้อยคุณภาพ มีปัญหาความผิดพลาดที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนและระบบ สูงกว่าจำนวนการชดเชยความเสียหายจากความผิดพลาดของผู้ให้บริการ และมีผลทำให้ต้นทุนการชดเชยในระบบสูงกว่าระบบการใช้กระบวนการศาล นอกจากนี้การดำเนินงานของกระบวนการชดเชยในระบบไม่พิสูจน์ความผิด ต้องปกป้องชื่อเสียงของผู้ให้บริการ เพื่อไม่ให้บั่นทอนกำลังใจในการให้บริการ และอาจจัดให้มีระบบข้อมูลย้อนกลับให้สถานพยาบาลพัฒนาคุณภาพเพิ่มขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขen_US
dc.titleทางเลือกเชิงนโยบายเรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ในระบบบริการสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativePolicy Options on Medical Injury Compensation Fund for Thailanden_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeUnwanted outcomes of health services, either unavoidable occurrences or due to negligence, can lead to damages and conflicts between health-care providers and patients. Consequently, this can have an impact on the health service delivery system, in which the faith and credibility of the people has been deteriorating. The current compensation mechanism implemented through the judicial system cannot enhance good relationships between the providers and patients. The “no-fault” basic compensation system, under which the affected patients are entitled to damages, according to article 41 of the National Health Security Act of B.E. 2545, can alleviate their distress to a degree but the law covers only patients in the Universal Coverage Scheme. This has led to the idea of drafting new laws to extend this protection to all Thai patients. As a result, the authors have summarized the policy options and the pros and cons of each option in order to inform the public, create symmetry of information between different groups of stakeholders, and empower the society to assess by themselves the feasibility and long-term impact of the policy options. This study found that non-judicial no-fault compensation for affected patients is widely accepted and adopted in several countries (such as the Scandinavian countries and New Zealand) under the principle which emphasizes the responsibility of the party who afflicts the damage before proving who is right or wrong. There are two different sources of funds for no-fault compensation: (a) funds collected from providers, public hospitals through health funds which are mainly from taxation, and private hospitals which pay directly; and (b) contributions from people proportionate to their income (with a certain income ceiling) and (c) from the government for low-income or unemployed people. Also, the providers may need to contribute (as in New Zealand). It is the authors’ opinion that Thailand should adopt a no-fault liability policy which could help in reducing conflicts between patients and providers. A non-judicial mechanism should be developed for provision of full compensation, which if the patient accepts, would mean that no further lawsuit could be filed. This would allow the affected patients to be compensated in a timely manner. Regarding the funding source, we propose the use of the health funds model through which the government contributes to public hospitals while private hospitals contribute themselves. The estimation for compensation is about 341-679 million baht per year, with the average being 5-10 baht per capita. Discussion by stakeholders on this topic would allow the facts to be revealed to the public who could then participate more effectively in the policy-making process. One should be aware that if the quality of the health service delivery system is poor and the problems are caused mostly by complications or the system itself, then the amount of compensation paid for these damages would be higher than the compensation for damages caused by the practitioners; hence, this would lead to rising costs. Furthermore, the no-fault compensation process should also be protective of the providers’ reputation and try to give encouragement and feedback in order for them to improve their performance.en_US
dc.subject.keywordทางเลือกเชิงนโยบายen_US
dc.subject.keywordกองทุนen_US
.custom.citationศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, หทัยชนก สุมาลี, Siriwan Pitayarangsarit and Hathaichanok Sumalee. "ทางเลือกเชิงนโยบายเรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ในระบบบริการสาธารณสุข." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3058">http://hdl.handle.net/11228/3058</a>.
.custom.total_download546
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year22
.custom.downloaded_fiscal_year40

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v4n3 ...
Size: 255.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1333]
    บทความวิชาการ

Show simple item record