Show simple item record

การจัดกระบวนการตรวจพิสูจน์ (verify) ว่าองค์ความรู้ที่ได้เป็นความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการป้องกันและความคุมโรคเอดส์โดยใช้กระบวนการ PLD ภายใต้โครงการวิจัย โครงการวิจัยการควบคุมกำกับและประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

dc.contributor.authorศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการประเมินผลen_US
dc.date.accessioned2011-05-10T09:25:06Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:28:24Z
dc.date.available2011-05-10T09:25:06Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:28:24Z
dc.date.issued2553-12en_US
dc.identifier.otherhs1802en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3145en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อตรวจพิสูจน์ (Verify) องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานตามโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์และเสริมพลังของผู้ปฏิบัติงานผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (PLD) เพื่อให้อาสาสมัคร/แกนนำเกิดทักษะการทำงานร่วมกับชุมชน การนำเสนอสถานการณ์ปัญหา การแสดงความคิดเห็น และการวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ระเบียบวิธีการศึกษา การดำเนินการจัดกระบวนการตรวจพิสูจน์ (verify) ว่าองค์ความรู้ฯ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทั้งกับผู้ดำเนินโครงการ แกนนำและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน โดยมีการดำเนินการหลัก 2 ส่วน คือ 1) การลงพื้นที่ (Pre-survey) เพื่อชี้แจงโครงการและร่วมปรึกษาหารือร่วมกับเครือข่ายคนทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ แกนนำอาสาสมัคร เพื่อร่วมถอดประเด็นที่น่าสนใจ การระบุผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค แนวทางการพัฒนาและแผนการพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืน ร่วมปรึกษาหารือการเลือกพื้นที่ในการจัดกระบวนการตรวจพิสูจน์องค์ความรู้ฯ และการคัดเลือกอาสาสมัคร/แกนนำเป็นทีมในการตรวจพิสูจน์องค์ความรู้ เรียนรู้การทำงานร่วมกับชุมชน และเสียงสะท้อนจากชุมชนในการดำเนินงานด้านเอดส์จำนวน 6 โครงการจาก 6 กลุ่มเป้าหมาย 2) การจัดกระบวนการตรวจพิสูจน์ (verify) องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการฯ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การศึกษาสถานการณ์การรับรู้สภาพปัญหาเอดส์การค้นหาและระบุผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่จะเข้าร่วมการประชุมพิจารณาแนวทางที่จำเป็นสำหรับการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์การคัดเลือกผู้นำ กระบวนการจากอาสาสมัครในพื้นที่และการจัดประชุมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อหาแนวทางสำหรับการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์และพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในประชากรกลุ่มเสี่ยงของชุมชน จำนวน 4 โครงการจาก 4 กลุ่มเป้าหมายที่ได้ทำการลงพื้นที่ pre-survey แล้วผลการวิจัย ข้อค้นพบจากการจัดกระบวนการตรวจพิสูจน์องค์ความรู้ฯ ในประเด็นแกนนำพบว่า ทุกโครงการที่ดำเนินการภายใต้ ”โครงการการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” ตามกลยุทธที่2 และได้รับการตรวจพิสูจน์องค์ความรู้ฯ มีการดำเนินการอบรมพัฒนาแกนนำหรือจัดให้มีเจ้าหน้าที่โครงการ/คนทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ การเข้าไปหากลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่โครงการหรือองค์กรรับผิดชอบ ศักยภาพ ต้องยอมรับว่าในภาพรวมเรื่องศักยภาพและความสามารถของเจ้าหน้าที่โครงการหรือแกนนำที่ได้รับการอบรมความรู้ ทักษะการทำงานในเรื่องเอดส์ต่างมีความสามารถในการจัดกระบวนการเพื่อถ่ายทอดความรู้ การกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในเรื่องการป้องกันเอดส์เครือข่าย ภาพที่เห็นคือการดำเนินงานของแกนนำ/คนทำงานยังอยู่ในวงที่จำกัด เช่น แกนนำกลุ่มเยาวชนที่เป็นนักเรียนก็จะทำงานกับเยาวชนในโรงเรียนเท่านั้น แกนนำกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) ก็ จะทำงานกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในพื้นที่ สถานที่เป้าหมายที่รับผิดชอบเท่านั้น หรือแกนนำกลุ่มศาสนาอิสลามก็จะมีการดำเนินงานกระจุกกันเฉพาะในกลุ่มศาสนาอิสลามด้วยกัน รวมถึงการทำงานของแกนนำกลุ่มเครือข่ายผู้ติดเชื้อก็จะมีการทำงานร่วมกันเฉพาะกับกลุ่มเครือข่ายผู้ติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งยังไม่เห็นภาพการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายขับเคลื่อนไปให้สอดประสานกัน เพื่อเสริมศักยภาพการทำงาน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สื่อ นวตกรรม ให้ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงทุกกลุ่มในชุมชน เพราะในความเป็นจริง ทุกคนที่อยู่ในชุมชน หากมีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศสัมพันธ์หรือยาเสพติดย่อมถือเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี หลังจากที่แกนนำ คนทำงานโครงการแต่ละโครงการได้ผ่านการตรวจพิสูจน์องค์ความรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้แกนนำและคนทำงานโครงการได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ในการมองภาพรวมของการทำงานในชุมชนที่มีกลุ่มเสี่ยงที่หลากหลาย และเริ่มทำความเข้าใจประเด็นการทำงานให้เกิดเครือข่ายเพื่อขยายการทำงานให้ครอบคลุม เรียนรู้การทำงานที่เกิดจากความเข้าใจ ความตระหนักและการร่วมรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และมีความยั่งยืนมากกว่าความสามารถในการจัดกระบวนการ และการจัดอบรมตามกระแสหรือตามเม็ดเงินเป็นครั้งคราว ความยั่งยืน การสะท้อนภาพความยั่งยืนในการดำเนินงานในทัศนะของแกนนำคนทำงาน คือ “ความรู้ที่ติดตัว” และการนำความรู้นั้นไปขยายให้กับกลุ่มเป้าหมาย และมีการเพิ่มเติมข้อมูลความรู้อยู่ตลอดเวลา และมีคณะกรรมการที่ดูแลกลุ่มเป็นของตัวเอง “การมีกลุ่มอาสาสมัครโดยธรรมชาติ” นั่นคือ ประชาชนไม่ว่ากลุ่มไหน ช่วงอายุใดก็มีความรู้และความตระหนักในเรื่องเอดส์และมีการตักเตือนกัน ให้ความรู้และแนะนำการป้องกันเอดส์ให้กับคนในบ้าน ในชุมชนได้โดยไม่จำเป็นต้องมาอบรมเป็นแกนนำแบบเต็มหลักสูตรก็ได้และอีกส่วนหนึ่งคือการมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การมีแผนตำบล เทศบาล คือการได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นก็ถือเป็นสิ่งที่แกนนำหรือองค์กรทำงานต่างมุ่งหวังen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์en_US
dc.rightsสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectเอดส์en_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดกระบวนการตรวจพิสูจน์ (verify) ว่าองค์ความรู้ที่ได้เป็นความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการป้องกันและความคุมโรคเอดส์โดยใช้กระบวนการ PLD ภายใต้โครงการวิจัย โครงการวิจัยการควบคุมกำกับและประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWC503.6 กจ446 2553en_US
dc.identifier.contactno52-064en_US
dc.subject.keywordกระบวนการตรวจพิสูจน์en_US
.custom.citationศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการประเมินผล. "การจัดกระบวนการตรวจพิสูจน์ (verify) ว่าองค์ความรู้ที่ได้เป็นความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการป้องกันและความคุมโรคเอดส์โดยใช้กระบวนการ PLD ภายใต้โครงการวิจัย โครงการวิจัยการควบคุมกำกับและประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3145">http://hdl.handle.net/11228/3145</a>.
.custom.total_download66
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1802.pdf
Size: 902.2Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record