แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ต้นทุนประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงในชุมชนกับแบบโรงพยาบาล

dc.contributor.authorนักขัต เสาร์ทองen_US
dc.contributor.authorNagkhat Saothongen_US
dc.contributor.authorบุศราพร เกษสมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorNusaraporn Kessomboonen_US
dc.date.accessioned2011-06-17T10:03:37Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:17:09Z
dc.date.available2011-06-17T10:03:37Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:17:09Z
dc.date.issued2554-03en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 5,1(ม.ค.-มี.ค.2554) : 47-57th_TH
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3157en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลของการรักษาสู้ป่วยวันโรคกลุ่มมีพี่เลี้ยงดูแลในชุมชนกับกลุ่มที่ดูแลโดยโรงพยาบาลที่ปฏิบัติต่อประชาชนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยประเมินต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และเปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลโดยคำนวณจากต้นทุนการรักษาผู้ป่วยได้ผลสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบจับคู่จากผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ อายุ 15-60 ปี แบ่งเป็นกลุ่มมีพี่เลี้ยงดูแลในชุมชน 54 ราย และกลุ่มดูแลที่โรงพยาบาล 52 ราย ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อยคือ เข้ารักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 1-7, 8-14 และ 14 วันขึ้นไป จำนวน 38, 8 และ 6 ราย ตามลำดับ รูปแบบของการวิจัยเป็นแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังและไปข้างหน้าในช่วง 1 พฤศจิกายน 2552 - 31 กรกฎาคม 2553 รวม 9 เดือน ข้อมูลต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการรวบรวมได้จากแฟ้มประวัติการรักษาของผู้ป่วย ส่วนข้อมูลด้านต้นทุนในมุมมองของผู้รับบริการได้จากการสัมภาษณ์ จากการวิจัย พบว่า ในกรรักษาผู้ป่วยวัณโรคกลุ่มมีพี่เลี้ยงดูแลในชุมชน สามารถประหยัดค่าใช้ง่ายร้อยละ 30.31 เมื่อเทียบกับกลุ่มดูแลที่โรงพยาบาล กลุ่มมีพี่เลี้ยงดูแลในชุมชนมีต้นทุนเฉลี่ย 9,436.84 บาทต่อราย ส่วนกลุ่มดูแลที่โรงพยาบาล เฉลี่ย 13,540.32 บาทต่อราย เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มย่อยนอนโรงพยาบาล 1-7, 8-14 และมากกว่า 14 วัน มีต้นทุนเฉลี่ย 10,051.97, 19,168.93 และ 27,969.72 บาทต่อราย ตามลำดับ ด้านเวชกรรมพบว่า ผลความสำเร็จของการรักษาแบบกลุ่มมีพี่เลี้ยงในชุมชนและกลุ่มดูแลในโรงพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 90.74 และ 94.23 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม พบว่า ในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้สำเร็จเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด กลุ่มดูแลที่โรงพยาบาลจะมีต้นทุนเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มมีพี่เลี้ยงดูแลในชุมชน 1,175.78 บาท ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยคือ รูปแบบการมีพี่เลี้ยงดูแลในชุมชน เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และมีส่วนสำคัญต่อการจัดตั้งหน่วยรักษาวัณโรคภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรในโรงพยาบาลแม่สายth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleต้นทุนประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงในชุมชนกับแบบโรงพยาบาลen_US
dc.title.alternativeAnalysis of the Cost-effectiveness of Community-based DOTS versus In-hospital Care in the Treatment of Tuberculosisen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was aimed at comparing the cost-effectiveness of tuberculosis treatment strategies between community-based DOTS (Directly Observed Therapy, Short Course) and hospital care at Maesai Hospital, Chiang Rai Province. Data on costs were collected in terms of provider and patient perspectives. Cost-effectiveness was calculated as the cost per patient successfully treated. The nine-month historical cohort study from November 1, 2009 to July 31, 2010 was designed to measure outcomes of tuberculosis treatment. By matching new pulmonary tuberculosis patients aged 15 to 60 years, the study included 54 patients from community-based DOTS programs and 52 patients receiving hospital care. The hospital cases were divided into three groups, i.e. days since admission: 1 to 7; 8 to 14; and more than 14, totalling 38, 8 and 6 patients, respectively. The provider cost data were collected from medical records while the patient cost data were collected in face-to-face interviews. Results showed that the average tuberculosis treatment costs under community-based DOTS Programs and hospital care were 9,436.84 baht and 13,540.32 baht per patient, respectively. Communitybased DOTS reduced costs by 30.31 per cent in comparison with hospital care. Sub-group cost analysis of hospital care of 1 to 7, 8 to 14 and more than 14 days since admission showed costs of 10,051.97, 19,168.63 and 27,969.72 baht per patient, respectively. The clinical success rates of community-based DOTS and hospital care were 90.74 per cent and 94.23 per cent respectively. The incremental costs of a case successfully treated in hospital were 1,175.78 baht higher than that of a community-based DOTS program. The study suggested that community-based DOTS is a more economically attractive option than hospital care. This is particularly important in settings where a TB clinic is implemented under the limited resources available to Maesai Hospital.en_US
dc.subject.keywordต้นทุนen_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยวัณโรคen_US
dc.subject.keywordการรักษาแบบมีพี่เลี้ยงen_US
dc.subject.keywordประสิทธิผลของการรักษาen_US
.custom.citationนักขัต เสาร์ทอง, Nagkhat Saothong, บุศราพร เกษสมบูรณ์ and Nusaraporn Kessomboon. "ต้นทุนประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงในชุมชนกับแบบโรงพยาบาล." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3157">http://hdl.handle.net/11228/3157</a>.
.custom.total_download1908
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month24
.custom.downloaded_this_year89
.custom.downloaded_fiscal_year260

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v5n1 ...
ขนาด: 255.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย