Show simple item record

Dengue Hemorrhagic Fever Outbreak in Mae Hong Son Province in 2009

dc.contributor.authorสุเมธ องค์วรรณดีen_US
dc.contributor.authorSumet Ongwandeeen_US
dc.date.accessioned2011-06-17T10:15:38Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:16:56Z
dc.date.available2011-06-17T10:15:38Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:16:56Z
dc.date.issued2554-03en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 5,1(ม.ค.-มี.ค.2554) : 75-84en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3159en_US
dc.description.abstractใน พ.ศ. 2552 จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีโรคไข้เลือดออกระบาดรุนแรงที่สุด มีอัตราป่วยเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ การศึกษาครั้งนี้เพื่อทบทวนข้อมูลทางวิทยาการระบาดในผู้ป่วยจากบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและที่สงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ที่รักษาในโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในช่วงวันที่ 1 มกราคม- 31 ตุลาคม 2552 โดยการประเมินเกณฑ์การวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ ระยะเวลาก่อนเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล และความรวดเร็วในการออกปฏิบัติงานของทีมควบคุมโรค โดยหวังว่าการศึกษาจะสะท้อนถึงศักยภาพในการวินิจฉัยโรคและระบบการทำงานควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข้อมูลผู้ป่วยที่สมบูรณ์และนำมาใช้ในการวิเคราะห์มี 502 ราย อัตราป่วยในเกณฑ์อายุ 11-20ปี และ 31-40 ปี เท่ากับร้อยละ 1.94, 1.52 และ 0.77 ตามลำดับ เดือนที่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากที่สุดคือ มิถุนายนและกรกฎาคม ในเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนพบมีผู้ป่วยมากที่สุด รองลงมาเป็นตำบลปางหมูและตำบลผาบ่อง โดยอาศัยคู่มือแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป พบว่าร้อยละ 37.65 ไม่มีบันทึกการตรวจหน้าท้องผู้ป่วย และร้อยละ 32.47 ไม่มีบันทึกการทำทดสอบรัดแขนขา หรือบันทึกอาการแสดงของเลือดออกผิดปรกติ จากผู้ป่วยทั้งหมดพบการตรวจด้วยชุดตรวจสำเร็จรูปเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกถึงร้อยละ 59.36 ผู้ป่วยที่มารับการรักษาครั้งแรกได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยหรือสงสัยว่าป่วยไข้เลือดออกร้อยละ 40.85 ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลครั้งแรกโดยเฉลี่ยภายใน 1.91 วัน ได้รับการวินิจฉัยหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกโดยเฉลี่ยภายใน 3.51 วัน และทีมควบคุมโรคออกปฏิบัติงาน โดยเฉลี่ยภายใน 1.19 วันหลังจากได้รับรายงาน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีผู้ป่วยในกลุ่มวัยทำงานเพิ่มมากขึ้น การวินิจฉัยโรคตามเกณฑ์โดยแพทย์มีการตรวจลักษณะเวชกรรมไม่ครบถ้วน และมีการใช้ชุดตรวจสำเร็จรูปเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคในสัดส่วนที่สูง จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงประโยชน์และข้อบ่งชี้ในการใช้ของชุดตรวจสำเร็จรูป รวมถึงจัดอบรมและเน้นย้ำถึงความสำคัญในการวินิจฉัยโรคตามเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ในการออกปฏิบัติการควบคุมโรคแม้จะมีความรวดเร็วแต่ก็ยังพบว่ามีการระบาดอย่างต่อเนื่องจึงควรมีการทบทวนประสิทธิภาพและการบริหารจัดการในการควบคุมโรคต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleโรคไข้เลือดออกระบาดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2552 : การวินิจฉัยโรคและความรวดเร็วในการควบคุมโรคen_US
dc.title.alternativeDengue Hemorrhagic Fever Outbreak in Mae Hong Son Province in 2009en_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeIn fiscal year 2009, Mae Hong Son Province suffered a severe and large outbreak of dengue hemorrhagic fever; it has the second high incidence rate in the country for that disease. This study was aimed at describing epidemiological data of patients at Srisangwan Hospital in Maung district, Mae Hong Son Province, from January 1 to October 30, 2009. The study also reviewed criteria of diagnosis by physicians, and lag time of patient-access to the hospital and of disease-control in the community by a disease-control team. Results may reveal the outcomes of diagnoses and lead to improvement of disease-control management. It was found that complete patient files were available for 502 cases. The incidence rate in the age groups 11-20 years, 21-30 years and 31-40 years were 1.94, 1.52 and 0.77 per cent, respectively. A high number of cases occured in June and July. The most affected sub-districts were Jong-kum, Pang-mu, and Pa-bong. According to the criteria of diagnosis, the study found that 37.65 per cent had no record of abdominal examination and 32.47 per cent had no record of abnormal bleeding sign or tourniquet examination. However, a dengue rapid test-kit was used in 59.36 per cent of the cases. In the first visit, cases were diagnosed as dengue hemorrhagic fever or suspected cases (40.85%), acute febrile illness (36.85%), and respiratory syndrome (17.13%). The lag time of first visit to the hospital was on average 1.91 days; the lag time for being diagnosed as a case of dengue hemorrhagic fever or a suspected cose was on average 3.51 days, and disease control in the community was performed within 1.19 days after case notification. Results showed the age group affected was mostly adult. Criteria for diagnosis by physicians were not fulfilled to a certain extent; on the other hand, more rapid test-kits were used instead in a large proportion of the cases. Therefore, indications to use the kits should be scrutinized and training courses should be set up regularly. Though disease control was implemented shortly after notification, the number of cases still increased continuously. Therefore, the efficiency and management of the disease control team should be reviewed.en_US
dc.subject.keywordไข้เลือดออกen_US
dc.subject.keywordวิทยาการระบาดen_US
dc.subject.keywordการวินิจฉัยโรคen_US
dc.subject.keywordการควบคุมโรคen_US
.custom.citationสุเมธ องค์วรรณดี and Sumet Ongwandee. "โรคไข้เลือดออกระบาดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2552 : การวินิจฉัยโรคและความรวดเร็วในการควบคุมโรค." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3159">http://hdl.handle.net/11228/3159</a>.
.custom.total_download1399
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month35
.custom.downloaded_this_year111
.custom.downloaded_fiscal_year155

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v5n1 ...
Size: 273.1Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record