Show simple item record

สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการรังสีรักษาในประเทศไทยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.contributor.authorสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์en_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:22:52Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:55:29Z
dc.date.available2008-10-02T07:22:52Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:55:29Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 15,6(2549) : 866-882en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ79en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/323en_US
dc.description.abstractการศึกาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการรังสีรักษาในประเทศไทยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งในด้านผู้ให้บริการหน่วยรังสีรักษาและผู้รับบริการซึ่งหมายถึงผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องการบริการรังสีรักษา ทั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการกำหนดนโยบายการลงทุนและกระจายบริการเฉพาะนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ วิธีการรักษาประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในด้านสถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยและมาตรฐานของหน่วยรังสีรักษา การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิผู้ป่วยที่มารับบริการและลักษณะการให้บริการรวมทั้งทรัพยากรของหน่วยบริการ 25 แห่งทั่วประเทศ การสุ่มสัมภาษณ์ผู้ป่วยมะเร็ง 1,555 คน ที่เข้ารับบริการรังสีรักษาโดยใช้แบบสอบถามแบบกึ่งมีโครงสร้าง ในหน่วยรังสีรักษา 20 แห่งที่อนุญาตให้ทำการศึกษาและสัมภาษณ์เชิงลึกแพทย์รังสีรักษา 12 ราย ศึกษาระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2545 พบว่า หน่วยรังสีรักษาในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 9 แห่งจากทั้งหมด 10 แห่ง ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำด้านจำนวนแพทย์รังสีรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการ และมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนนักฟิสิกส์การแพทย์ เมื่อนำเกณฑ์ของทั้งสองวิชาชีพมาประเมินหน่วยรังสีรักษาทั้งหมด 25 แห่ง พบว่า มีเพียง 8 แห่งหรือร้อยละ 32 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านบุคลากร โดยหน่วยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีความขาดแคลนบุคลากรรุนแรงกว่าสังกัดอื่น ในด้นเครื่องมือรังสีรักษาพบว่า หน่วยรังสีรักษาภาครัฐมีเครื่องมือครบตามเกณฑ์ขั้นต่ำเกือบทั้งหมด ในขณะที่ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะขาดเคร่องใส่แร่ เนื่องจากการชะลอตัวในการลงทุนภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ในด้นการเข้าถึงบริการพบว่ามีความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนในจังหวัดที่มีหน่วยรังสีรักษาตั้งอยู่และจังหวัดข้างเคียงมีแนวโน้มในการเข้าถึงบริการฯ มากกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในจังหวัดห่างไกล เนื่องจากอุปสรรคทงกายภาพ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีหลักประกันสุขภาพ ในขณะที่สภาพส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มาเข้ารับบริการฯ จะเป็นผู้สูงอายุที่มีฐานะค่อนข้างยากจนและไม่ได้ประกอบอาชีพ การสัมภาษณ์แพทย์รังสัรักษาพบว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภาและมหาวิทยาลัย จะต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์รังสีรักษาและนักฟิสิกส์การแพทย์ โดยต้องเร่งผลิตบุคลากรที่ขาดแคลนเพิ่มขึ้นและป้อองกันการสูญเสียบุคลากรจากระบบบริการ ในด้านการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการ ควรมีการกระจายบริการรังสีรักษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงไปยังโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปที่มีความพร้อมดานบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วยที่ยากจนเพื่อมารับบริการ การสนับสนุนให้มีมาตรการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและการสืบค้นโรคมะเร็งระยะเริ่มต้นมากกว่าการให้การรักษาในระยะสุดท้ายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขจะต้องให้ความสำคัญen_US
dc.format.extent1417625 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectโรคมะเร็งen_US
dc.subjectหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.titleสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการรังสีรักษาในประเทศไทยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordรังสีรักษาen_US
dc.subject.keywordความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพen_US
.custom.citationภูษิต ประคองสาย, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. "สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการรังสีรักษาในประเทศไทยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/323">http://hdl.handle.net/11228/323</a>.
.custom.total_download1028
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month17
.custom.downloaded_this_year39
.custom.downloaded_fiscal_year65

Fulltext
Icon
Name: 2006_DMJ79_สถานกา ...
Size: 1.351Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record