Show simple item record

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 กรณีจังหวัดสกลนคร

dc.contributor.authorสมเกียรติ โพธิสัตย์en_US
dc.contributor.authorฉายศรี สุพรศิลป์ชัยen_US
dc.contributor.authorสุพัตรา ศรีวณิชชากรen_US
dc.contributor.authorวรรณี นิธิยานันท์en_US
dc.contributor.authorนภาพร วาณิชย์กุลen_US
dc.contributor.authorกฤช ลี่ทองอินen_US
dc.contributor.authorณภากุล โรจนสุภัคen_US
dc.date.accessioned2011-09-28T03:10:02Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:27:30Z
dc.date.available2011-09-28T03:10:02Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:27:30Z
dc.date.issued2551-06en_US
dc.identifier.otherhs1851en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3329en_US
dc.description.abstractโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย จากการประเมินสถานการณ์พบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ระดับคุณภาพของระบบงานในการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ ยังดำเนินการในลักษณะตั้งรับ แม้นว่าจะมีนวตกรรมกิจกรรมเชิงรุกอยู่ในหน่วยบริการระดับต่างๆ อยู่จำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นระบบที่ต่อเชื่อมกันได้ดี มีการจัดการกับพฤติกรรมเสี่ยงน้อย ระบบติดตามภาวะแทรกซ้อนยังขาดความต่อเนื่อง หน่วยบริการปฐมภูมิยังได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถไม่เต็มที่ จึงได้นำวิธีคิด “การจัดการโรค” (Diseases Management) “รูปแบบโรคเรื้อรัง” (Chronic Care Model) และ“รูปแบบการจัดการดูแลโรคเรื้อรัง” (“Chronic Diseases Management Model”) บูรณาการกับกรอบความคิด “รูปแบบการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ขององค์การอนามัยโลก เกิดกรอบแนวคิดบูรณาการที่ เน้น ‘ความต่อเนื่อง’ ‘บูรณาการ’ และ ‘ประสานดำเนินการ’ การพัฒนา วิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้และทดสอบ “รูปแบบระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเรื้อรัง” ในกรอบระดับจังหวัด เป็นพื้นที่ในการบูรณาการ วิธีการพัฒนาวิจัย : ใช้แนวคิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม และการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เลือกจังหวัดแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในจังหวัดสกลนคร พัฒนาเครื่องมือประเมินสถานการณ์การป้องกัน และจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 4 ประเด็น มีการทดสอบการประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ และพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับจังหวัด ผลการศึกษา : ได้เครื่องมือประเมินสถานการณ์การป้องกัน และจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 4 ประเด็น คือ 1) ด้านนโยบายการบริการสุขภาพ และสมรรถนะชุมชนในการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 2) ด้านการบริการของสถานพยาบาลในการป้องกัน และจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 3) ด้านการสนับสนุนการจัดการตนเองได้ของผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 4) ด้านผลลัพธ์การบริการของแต่ละสถานบริการที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน และจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการป้องกัน และจัดการโรคเรื้อรัง จังหวัดสกลนครen_US
dc.description.sponsorshipแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(ผรส.) เพื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.format.extent6340186 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์en_US
dc.rightsแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(ผรส.) เพื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.subjectเบาหวานen_US
dc.subjectความดันโลหิตสูงen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleโครงการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 กรณีจังหวัดสกลนครen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe one of leading non communicable disease burdens around the world including Thailand are Diabetes Mellitus and Hypertension. Health delivery system in Thailand was not proactive enough even having some focal innovative good practicing around country but lack to integration as a system. The management initiative of linking between concepts of Diseases Management, Chronic Care Model (CCM) and Chronic Diseases Management Model was integrated to WHO’s “Chronic disease prevention model”. Our conceptual framework is stress on ‘continuums’ ‘integrations’ and ‘comprehensive’ aiming to developing and testing “The integration of chronic disease management system in Diabetes Mellitus and Hypertension Model: phase I ” in provincial level. Method : Action research by purposive sampling. Develop assessment tools for assessing the situation in 4 issues. Field testing those assessment tools was performed in the area of Sakon Nakhon province and participatory develop the provincial strategic plan. Results : 1) The situation assessment tools was developed: a) Health service policy and community strengthening. b) Health service delivery design. c) Self management and self management support. d) Performance indicators. 2) Participatory Sakon Nakhon’s provincial strategic plan.en_US
dc.identifier.callnoWT500 ส232ร 2551en_US
.custom.citationสมเกียรติ โพธิสัตย์, ฉายศรี สุพรศิลป์ชัย, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, วรรณี นิธิยานันท์, นภาพร วาณิชย์กุล, กฤช ลี่ทองอิน and ณภากุล โรจนสุภัค. "โครงการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 กรณีจังหวัดสกลนคร." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3329">http://hdl.handle.net/11228/3329</a>.
.custom.total_download514
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year9

Fulltext
Icon
Name: hs1851.pdf
Size: 6.801Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record