Show simple item record

การศึกษาการลงทุนด้านสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

dc.contributor.authorวณี ปิ่นประทีปen_US
dc.contributor.authorพวงมณี พิพัฒน์เจริญวงศ์en_US
dc.date.accessioned2011-11-22T08:00:31Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:27:05Z
dc.date.available2011-11-22T08:00:31Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:27:05Z
dc.date.issued2552-09en_US
dc.identifier.otherhs1891en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3369en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการลงทุนทางด้านสุขภาพก่อนและหลังการมีกองทุนหลักประกันสุขภาพ รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพและการไม่มีกองทุน และวิเคราะห์ผลกระทบสุขภาพ (Impact) ที่เกิดหลังการมีกองทุนฯ ในระดับพื้นที่ โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงพรรณา(Descriptive Study) ซึ่งอาจอยู่ในรูปการจัดกิจกรรมย่อยภายในโครงการต่างๆ ของอบต. ทั้งในส่วนที่อบต.ดำเนินการเองและในส่วนที่อบต.สนับสนุนงบประมาณให้กับสถานีอนามัยหรือชุมชน โดยการใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณเป็นหลัก โดยวิธีการตอบแบบสำรวจรายละเอียดข้อมูลการลงทุนด้านสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล 2 ชุด โดยชุดที่ 1 สำหรับอบต.ที่มีการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแล้ว จำนวน 50 ชุด และชุดที่ 2 สำหรับอบต.ที่ยังไม่ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวน 50 ชุด และใช้แบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข และมีอำนาจหน้าที่ในการบริหาร อบต. ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้ได้แนวคิดวิสัยทัศน์ ผลการดำเนินงานต่อการลงทุนด้านสุขภาพของอบต.โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยคำถามปลายเปิด(Open-ended Interview) ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 4 เดือน (ระหว่างเดือนเมษายน 2552 ถึง กรกฎาคม 2552) ผลการศึกษาพบว่า อบต.ที่ศึกษาครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 98 อบต.แบ่งเป็น 1) อบต.ที่มีการจัดตั้งกองทุนแล้ว จำนวน 50 อบต. และ 2) อบต.ที่ไม่ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวน 48 อบต. ส่วนที่ 1 การศึกษาการลงทุนด้านสุขภาพของอบต. การลงทุนด้านสุขภาพก่อนและหลังการมีกองทุนหลักประกันสุขภาพ พบว่า กลุ่มอบต.ที่มีการจัดตั้งกองทุน ฯ ปี พ.ศ. 2549 (อบต.รุ่น 1) พบว่า อบต.ส่วนใหญ่ หลังจากมีการตั้งกองทุน ฯ อบต.สมทบงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่าก่อนจัดตั้งกองทุนฯ เช่น อบต.ภาคเหนือ (8 ใน 10 อบต.) อบต.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (6 ใน 7 อบต.) อบต.ภาคกลาง (11 ใน 12 อบต.) อบต.ภาคใต้ (1 ใน 2 อบต.) อบต.ที่จัดตั้งกองทุน ฯ ปี พ.ศ. 2551 (อบต.รุ่น 2) พบว่า อบต.ภาคเหนือ (5 ใน 6 อบต.) อบต.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 5 อบต. อบต.ภาคกลาง (4 ใน 5 อบต.) อบต.ภาคใต้ ทั้ง 2 อบต. หลังจากมีการตั้งกองทุน ฯ อบต.สมทบงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่าก่อนจัดตั้งกองทุน ฯ เช่นกัน ส่วน อบต.ที่ยังไม่จัดตั้งกองทุนส่วนใหญ่มีการสัดส่วนการสนับสนุนงบประมาณด้านสุขภาพไม่แน่นอน แต่ในระยะ 2 ปี หลัง (ปี พ.ศ. 2550-2551) อบต.ส่วนใหญ่มีแนวโน้มสนับสนุนงบประมาณด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ (Impact) ที่เกิดหลังจากมีกองทุนฯ ในพื้นที่พบว่า หลังจากมีการดำเนินการการลงทุนด้านสุขภาพ ยังไม่เห็นผลกระทบทางด้านสุขภาพที่ชัดเจน แต่พบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพ เช่น การหันมาสนใจสุขภาพตนเองมากขึ้น การเกิดโครงการส่งเสริมสุขภาพโดยชุมชน เช่น การออกกำลังกาย การเต้นแอโรบิก หรือการเกิดการรวมกลุ่มของชุมชนกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ เกิดความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าของตนเอง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพและการไม่มีกองทุน ฯ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ก่อตั้งกองทุน ได้แก่ เป็นการหนุนเสริมการทำงานของ อบต.ด้านงานสาธารณสุข ได้งบประมาณเพิ่มเติม เป็นหน้าที่ที่กำหนดให้ อบต.ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 เป็นโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น และเป็นโอกาสให้ชุมชนและท้องถิ่นได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ส่วนปัจจัยที่ยังไม่จัดตั้งกองทุน ได้แก่ ความไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของกองทุน การขาดงบประมาณสำหรับสมทบเข้ากองทุน ขาดแคลนบุคลากร การไม่ทราบข้อมูล รายละเอียดของการจัดตั้งกองทุน การสมัครไม่ทัน ความผิดพลาดในการบริหารจัดการของ สปสช.en_US
dc.description.sponsorshipโครงการแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.format.extent2290745 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.publisherโครงการแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการศึกษาการลงทุนด้านสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA546.JT3 ว159ร 2552en_US
dc.subject.keywordสถานีอนามัยen_US
dc.subject.keywordการลงทุนen_US
.custom.citationวณี ปิ่นประทีป and พวงมณี พิพัฒน์เจริญวงศ์. "การศึกษาการลงทุนด้านสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3369">http://hdl.handle.net/11228/3369</a>.
.custom.total_download110
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1891.pdf
Size: 2.450Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record