แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ประสิทธิผลของโปรแกรมการคัดกรองและให้คำแนะนำส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในร้านยามหาวิทยาลัย สาขาเทศบาล

dc.contributor.authorพิราญาณ์ วงศ์พัฒนาธนเดชen_US
dc.contributor.authorพีรยา สมสะอาดen_US
dc.contributor.authorพรชนก ศรีมงคลen_US
dc.contributor.authorPhiraya Wongpattanatanadeachen_EN
dc.contributor.authorPeeraya Somsaarden_EN
dc.contributor.authorPornchanok Srimongkonen_EN
dc.date.accessioned2011-12-01T05:57:24Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:15:12Z
dc.date.available2011-12-01T05:57:24Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:15:12Z
dc.date.issued2554-09en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 5,3 (ก.ค.-ก.ย. 2554) : 344-354en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3379en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและประเมินผลการให้คำแนะนำส่งเสริมสุขภาพในผู้ที่มีความเสี่ยง สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำและกลุ่มควบคุมไม่ได้รับคำแนะนำ ติดตามเป็นเวลา 2 เดือน โดยดูผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และคะแนนแบบทดสอบความรู้ จากการคัดกรอง 367 คน พบผู้เสี่ยงต่อโรคเบาหวานร้อยละ 6.56 และผู้เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 33.75 และผู้เสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 13.75 จากการติดตามผู้ที่เสี่ยงโรคเบาหวาน 31 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 16 คน และผู้ที่เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 49 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ภายหลังให้คำแนะนำ พบว่า กลุ่มทดลองที่เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์และการออกกำลังกายดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) กลุ่มทดลองที่เสี่ยงโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเค็มและดื่มแอลกอฮอล์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) และกลุ่มทดลองมีระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในทั้งสองกลุ่มเสี่ยง พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และกลุ่มทดลองมีผลคะแนนแบบทดสอบความรู้ภายหลังการให้คำแนะนำมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ(p-value<0.05) แสดงให้เห็นว่า การคัดกรองและให้คำแนะนำส่งเสริมสุขภาพทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงตระหนักในการปรับพฤติกรรมและส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลงen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมการคัดกรองและให้คำแนะนำส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในร้านยามหาวิทยาลัย สาขาเทศบาลen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Health Screening and Health Program for Prediabetes and Prehypertension Individuals at the Municipal Branch of a University Pharmacyen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to evaluate the effectiveness of health screening and education for prediabetes and prehypertension individuals by randomized controlled trial. The samples were randomized into an experimental group that received health education and a control group that had not received follow-up for two months. Outcomes were the modifying of health behaviors, blood pressure, fasting blood sugar (FBS) and knowledge. There were 367 participants who attended the health-screening process; 6.56 percent were prediabetes, 33.75 percent prehypertension and 13.75 percent prediabetes and prehypertension. Thirty-one of the prediabetes (15 in the experimental group and 16 in the control group) and 49 of prehypertension (24 in the experimental group and 25 in the control group) were followed up. The result showed that eating, alcohol drinking and exercise behavior of those who were prehypertensive individuals in the experimental group were significantly changed (P-value <0.05) and that eating salt and drinking alcohol among those who were prediabetic significantly decreased (P-value <0.05). Blood pressure levels and FBS were significantly decreased from the baseline (P-value <0.05) in both experimental groups but there was no difference in the control group. The knowledge scores were significantly higher in the experimental group than in the control group (p-value <0.05). The results indicated that effectiveness of health screening and education for prediabetes and prehypertension individuals could help subjects realize the need to modify their health behaviors and reduce blood pressure and blood sugar levels.en_US
dc.subject.keywordการคัดกรองen_US
dc.subject.keywordการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subject.keywordโรคเบาหวานen_US
dc.subject.keywordโรคความดันโลหิตสูงen_US
.custom.citationพิราญาณ์ วงศ์พัฒนาธนเดช, พีรยา สมสะอาด, พรชนก ศรีมงคล, Phiraya Wongpattanatanadeach, Peeraya Somsaard and Pornchanok Srimongkon. "ประสิทธิผลของโปรแกรมการคัดกรองและให้คำแนะนำส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในร้านยามหาวิทยาลัย สาขาเทศบาล." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3379">http://hdl.handle.net/11228/3379</a>.
.custom.total_download1625
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month17
.custom.downloaded_this_year63
.custom.downloaded_fiscal_year117

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v5n3 ...
ขนาด: 273.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย