Show simple item record

การประเมินผล 10 ปีโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)

dc.contributor.authorวีระศักดิ์ พุทธาศรีen_US
dc.contributor.authorนุศราพร เกษสมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ สุนทรen_US
dc.contributor.authorอรณัชชา เซ็นโสen_US
dc.contributor.authorปิยะอร แดงพยนต์en_US
dc.contributor.authorกนกวรรณ เส็งคำภาen_US
dc.date.accessioned2011-12-13T07:35:20Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T17:04:40Z
dc.date.available2011-12-13T07:35:20Zen_US
dc.date.available2557-04-16T17:04:40Z
dc.date.issued2554-11en_US
dc.identifier.isbn978-616-11-0966-0en_US
dc.identifier.otherhs1903en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3385en_US
dc.description.abstractโครงการศึกษาประเมินผล ๑๐ ปี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้วในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา หลังจากเปลี่ยนเป็นองค์การมหาชน วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลทุติยภูมิของโรงพยาบาลประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในด้านการจัดบริการและการกำหนดนโยบายประเด็นเรื่องการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว โรงพยาบาลสามารถตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดี ประชาชนเข้าถึงบริการโรงพยาบาลมากขึ้น บริการของโรงพยาบาลมีคุณภาพ ดัชนีค่าเฉลี่ยน้ำหนักสัมพัทธ์ (case - mixed index, CMI) ของโรงพยาบาลบ้านแพ้วมีค่าเท่ากับ ๑.๒๘ สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐอีกสองแห่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่ไม่สูงกว่ากลุ่มโรงพยาบาลทั่วไปอื่นๆ สัดส่วนจำนวนผู้รับบริการในสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) ต่อจำนวนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เฉพาะประชากรในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมินั้นๆ มีค่าไม่แตกต่างจากโรงพยาบาลกระทุ่มแบนซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนหรือกลุ่มโรงพยาบาลทั่วไปอื่นๆ สะท้อนปัญหาประสิทธิภาพการกระจายผู้ป่วยให้ไปรับบริการที่สถานีอนามัย/ หน่วยบริการปฐมภูมิ ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการและประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการตติยภูมิเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลสร้างการเชื่อมโยงระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System) จากสถานบริการปฐมภูมิสู่การบริการการแพทย์ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลใช้ทั้งการสร้างช่องทางการส่งต่อและพัฒนาขยายศักยภาพบริการของโรงพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการทางการแพทย์ระดับสูงขึ้น ความสัมพันธ์กับหน่วยงานราชการไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานบริการสุขภาพ ในฐานะคู่สัญญาปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (CUP) โรงพยาบาลสนับสนุนบุคลากรอัตราจ้างให้สถานีอนามัยแห่งละ ๒ คน รวมถึงการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์เพื่อร่วมให้บริการแก่ผู้มีสิทธิบัตรทอง ประเด็นการบริหารจัดการทางการเงินระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๔๔ - ๒๕๕๒ โรงพยาบาลบ้านแพ้วมีรายได้มากกว่ารายจ่ายทุกปี ยกเว้นในช่วงปีแรกที่โรงพยาบาลออกนอกระบบ และปี ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นปีแรกที่โรงพยาบาลขยายสาขาไปยังโรงพยาบาลพร้อมมิตร โดยปีงบประมาณอื่นๆ โรงพยาบาลมีเงินบำรุงเฉลี่ยประมาณ ๔๐-๕๐ ล้านบาท ยกเว้นปี ๒๕๕๒ ปีเดียวที่มีเงินบำรุงเกิน ๕๐ ล้านบาท อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวรมีแนวโน้มเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อจำแนกตามสถานพยาบาลสาขาต่างๆ ส่วนใหญ่ทำกำไรได้ สถานพยาบาลสาขาที่มีกำไรมากที่สุดตามลำดับ คือ ศูนย์ล้างไตธนบุรี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว และโรงพยาบาลพร้อมมิตร ทั้งสามแห่งมีรายได้มากที่สุดจากการให้บริการผู้มีสิทธิในสวัสดิการข้าราชการ โรงพยาบาลบ้านแพ้วมีต้นทุนค่าแรงคิดเป็นร้อยละ ๔๓ ของต้นทุนรวมทั้งหมด โดยสามารถจัดบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าโรงพยาบาลของรัฐอื่นๆ ที่มีขนาดจำนวนเตียงและจำนวนการบริการที่ใกล้เคียงกัน ประเด็นการบริหารจัดการและธรรมาภิบาลของระบบประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของโรงพยาบาลกำหนดข้อบังคับที่มีความคล่องตัวในการบริหารบุคคลและค่าตอบแทน รวมทั้งมีความคล่องตัวในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ภาพรวมจากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลแสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลมีแนวโน้มการพัฒนาที่ดีทั้งการบริการทางการแพทย์ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ การสนับสนุนเรื่องการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่คณะกรรมการที่มีส่วนร่วมจากหลายส่วน (ที่ไม่ใช่การถ่ายโอนความเป็นเจ้าของให้ท้องถิ่น) อย่างไรก็ดี เนื่องจากโรงพยาบาลต้องบริหารจัดการให้มีรายรับที่พึ่งตนเองได้ ผู้นำจึงต้องมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการและสร้างโอกาสในการหารายได้ในพื้นที่ (รวมทั้งการบริจาค) ด้วยบทเรียนของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ผู้วิจัยมีข้อเสนอสำหรับการขยายผลการกระจายอำนาจบริหารจัดการด้านสุขภาพ สองแนวทางคือ ทางเลือก ๑ ให้สถานีอนามัยทุกแห่งในอำเภอรวมกันเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลชุมชน พัฒนาเป็นองค์การมหาชนหรือหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ โดยอาจขยายพื้นที่ทางเลือกนี้รวมเป็นเครือข่ายบริการภายใต้คณะกรรมการบริหารในระดับจังหวัด/องค์การมหาชน ทางเลือก ๒ รูปแบบของการบริหารโรงพยาบาลองค์การมหาชนอาจจะสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพบริการตติยภูมิ และความคล่องตัวในการจัดจ้างบุคลากร การจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และยังตั้งอยู่ในที่ๆ สามารถระดมทรัพยากรในพื้นที่ได้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent148637 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.publisherแผนงานวิจัยและพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผล 10 ปีโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)en_US
dc.typeDocumenten_US
dc.identifier.callnoWX158 ว849ก 2554en_US
dc.identifier.contactno53-065en_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลบ้านแพ้ว--องค์การและการบริหารen_US
dc.subject.keywordการบริหารโรงพยาบาลen_US
dc.subject.keywordการประเมินผลen_US
.custom.citationวีระศักดิ์ พุทธาศรี, นุศราพร เกษสมบูรณ์, สุรศักดิ์ สุนทร, อรณัชชา เซ็นโส, ปิยะอร แดงพยนต์ and กนกวรรณ เส็งคำภา. "การประเมินผล 10 ปีโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3385">http://hdl.handle.net/11228/3385</a>.
.custom.total_download523
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year20

Fulltext
Icon
Name: hs1903.pdf
Size: 4.796Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record