Show simple item record

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map)ในการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับจังหวัด

dc.contributor.authorมูลนิธิแสงสิทธิการ (เพื่อคุณภาพชีวิต)en_US
dc.date.accessioned2011-12-13T08:01:50Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:41:56Z
dc.date.available2011-12-13T08:01:50Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:41:56Z
dc.date.issued2552-12en_US
dc.identifier.otherhs1745en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3386en_US
dc.description.abstractกิจกรรมหลักตามโครงการส่งเสริมฯ ที่ได้ดำเนินการและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี คือ การเสริมสร้างทักษะบุคลากร ในการนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(Strategic Route Map:SRM) ทั้ง 7 ขั้นตอน มาปรับประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลงในงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ระดับจังหวัด รวมไปถึงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ขยายผลการพัฒนาทักษะได้อย่างรวดเร็วเกินพื้นที่เป้าหมาย ที่วางไว้ ในภูมิภาคต่างๆ เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลพบุรี ปทุมธานี อ่างทอง นครนายก สระบุรี นนทบุรี กระบี่ พังงา ภูเก็ต ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล สงขลา นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน โดยกลุ่มเป้าหมายที่มาจากแต่ละจังหวัดจะเป็นบุคลากรที่มาจากหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานพัฒนายุทธศาสตร์ งานประกันสุขภาพ งานสุขภาพภาคประชาชน งานส่งเสริมสุขภาพ งานควบคุมโรค กรรมการกองทุนสุขภาพชุมชนและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ซึ่งในขณะนี้แทบจะกล่าวได้ว่าเกิดการขยายผลและทำให้เกิดการถ่ายระดับ (Cascading) และการเปิดงานสู่ชุมชนไปทั่วประเทศ โดยส่วนหนึ่งมาจากทีมวิทยากรที่ได้เสริมสร้างทักษะให้ตามโครงการฯ นี้ และจากการประเมินผลการเสริมสร้างทักษะวิทยากรผ่านการฝึกอบรม/ประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยรวมพบว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ร้อยละ 77.5 มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในการนำกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ทั้ง 7 ขั้นตอน ไปปฏิบัติได้ แต่ต้องการสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการวางนโยบายและระบบสนับสนุนที่ดีอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น มีนโยบายจากส่วนกลาง, คำสั่ง, ระเบียบ,การสนับสนุนงบประมาณ ให้ชัดเจนกว่านี้ และร้อยละ 95 เห็นว่าจะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาพฤติกรรมประชาชนในพื้นที่ได้ จะมีเพียงร้อยละ 5 ที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก จึงไม่แน่ใจว่าจะเปลี่ยนแปลงได้ หลังจากการฝึกอบรมการใช้ SRM ไปแล้วส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 100 เห็นว่าสามารถเป็นวิทยากรในรูปแบบต่างๆ ได้แต่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะมากกว่านี้ไปด้วย และตนเองก็ต้องพัฒนาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองอีก ส่วนการนำไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 40 จะไปจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ต่อในพื้นที่และไปสร้างพื้นที่ต้นแบบ/โรงเรียนนวัตกรรมชุมชน ร้อยละ 60 จะนำไปใช้ในการวางแผนงานและพัฒนาแนวคิดสอดแทรกไปกับงานต่างๆ พร้อมกับการสร้างความร่วมมือในพื้นที่เพื่อให้มีกระบวนการเรียนรู้ต่อในพื้นที่ได้ โดยนำไปถ่ายทอดขยายผลสู่เวทีในพื้นที่ชุมชนต่อไป,ชี้แจงทำความเข้าใจกับชุมชน, สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย, สร้างการเรียนรู้, เสนอต่อผู้บริหารในหน่วยงานและอปท.ให้เห็นความสำคัญและสนับสนุนต่อไป ส่วนความต้องการในการสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความต้องการให้สนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนวิทยากร เอกสารและต้องการให้หน่วยงานนำงานนี้ไปกำหนดเป็นตัวชี้วัดผลงาน(KPI) ด้วย กิจกรรมสำคัญ ตามโครงการส่งเสริมฯ ที่ยังมีการดำเนินงานอยู่อย่างต่อเนื่องในขณะนี้ คือ การพัฒนากลไกและกระบวนการสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ แบบมีส่วนร่วมในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ทั้งที่ผ่านทีมวิทยากรที่ผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพแล้วดังที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งหน่วยงาน/องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเน้น การสร้างบทบาทหน้าที่ การอำนวยการในพื้นที่ การขับเคลื่อน การสนับสนุนวิชาการ การสื่อสารและการติดตามผลักดันการพัฒนาให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งการเชื่อมกับกลไกของหน่วยงานต่างๆ ในส่วนกลาง มีการดำเนินงานและผลที่เกิดขึ้น ที่สำคัญ คือ • มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างคณะกรรมสนับสนุนและพัฒนาหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กับ สปสช.และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในการสนับสนุนให้เกิดการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือ ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาระบบ หลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น • การประชุมผู้บริหารกองทุนสุขภาพสาขาจังหวัดทั่วประเทศทั้ง 75 จังหวัด เพื่อชี้แจงและสร้างความร่วมมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงยุทธศาสตร์โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map) เป็นเครื่องมือไปใช้ในขับเคลื่อนงานในพื้นที่ และเชื่อมการทำงานกับระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ • การพัฒนากลไกและกระบวนการสนับสนุนดำเนินงานร่วมระหว่างกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กระบวนงานเป็นตัวกำหนด โดยเฉพาะการบริหารจัดการยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพและการควบคุม ป้องกันโรคและภัยสุขภาพ • การเชื่อมโยงกับกลไกการบริหารจัดการกับกระทรวงสาธารณสุข โดยได้นำเสนอแนวทางการทำงานพัฒนาศักยภาพงานสุขภาพชุมชน โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(Strategic Route Map) ผ่านการประชุมโครงการสรุปผลและพัฒนาบุคลากรการตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2552 ซึ่งได้รับความสนใจและการตอบสนองจากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธาณสุขเป็นอย่างดีและจะนำไปสู่การผลักดันการปฏิบัติในระดับนโยบายต่อไป • การสร้างกลไกผ่านการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยการพัฒนาศักยภาพการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map) ซึ่งมีของกรม วิชาการต่างๆ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ การดำเนินงานตามโครงการฯ ครั้งนี้ ได้เน้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนางานสาธารณสุขระดับบุคคลและสร้างความเข้มแข็งชุมชน และเพื่อพัฒนาแนวทางและวิธีการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ตอบสนองกับบริบทของท้องถิ่น ชุมชน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้กำหนดแนวทางและความร่วมมือในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ อีกด้วย จากการดำเนินงานดังกล่าว เป็นความสำเร็จที่มีผลปรากฏและเห็นได้อย่างชัดเจน คือ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้มีนโยบายและยุทธศาสตร์การใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(Strategic Route Map:SRM) เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติ รวมทั้งการใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน และสนับสนุนการพัฒนางาน ของกรมวิชาการต่างๆ นอกจากนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช) ยังได้กำหนดให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานของกองทุนฯ ทุกแห่ง อีกด้วย ถึงแม้ว่าการพัฒนากลไกกระบวนการความร่วมมือในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ ผ่านระบบของหน่วยงานต่างๆ จะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบว่า นโยบาย เป้าหมาย ตลอดจนกลไกการเชื่อมต่อและความสอดคล้องในระหว่างองค์กรสนับสนุนการขับเคลื่อนและองค์กรสนับสนุนวิชาการ ที่ไปพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในพื้นที่ยังมีความแตกต่างหลากหลาย แยกส่วนและซ้ำกันอยู่มาก บางเรื่อง บางงานมีเป้าหมายที่ใกล้เคียงกัน เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ดำเนินการคนละองค์กร ทำให้งานพัฒนาสุขภาพในพื้นที่เกิดทั้งความซ้ำซ้อน และแยกส่วน ไม่มีเอกภาพในเป้าหมายที่แท้จริง ขาดการบูรณาการซึ่งกันและกัน สิ่งที่ปรากฏเหล่านี้ ยังเป็นช่องว่างของการพัฒนาระบบสุขภาพที่ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ซึ่งโครงการฯ ได้พยายามสร้างกลไกกระบวนการร่วมระหว่างหน่วยงานพร้อมกับการปรับเปลี่ยนและเสริมสร้างแนวคิด แนวทางใหม่เข้าไป ในกลไกของหน่วยงานต่างๆ เหล่านั้น อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มองการพัฒนาไปให้ถึงประชาชน ซึ่งก็ประสบผลดีและก้าวหน้าไปมากen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3531185 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectนโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map)ในการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับจังหวัดen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA590 ม417ก 2552en_US
dc.identifier.contactno51-005en_US
dc.subject.keywordStrategic Route Mapen_US
dc.subject.keywordการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subject.keywordแผนที่ยุทธศาตร์en_US
.custom.citationมูลนิธิแสงสิทธิการ (เพื่อคุณภาพชีวิต). "การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map)ในการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับจังหวัด." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3386">http://hdl.handle.net/11228/3386</a>.
.custom.total_download182
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1745.pdf
Size: 3.894Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record