Show simple item record

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคนพิการ : กรณีศึกษาพื้นที่นำร่อง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

dc.contributor.authorพัฒนา ราชวงศ์en_US
dc.contributor.authorนรินทร์ทิพย์ ฟองมูลen_US
dc.contributor.authorอัมพวัลย์ คำเชียงเงินen_US
dc.date.accessioned2013-01-23T06:43:31Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:29:36Z
dc.date.available2013-01-23T06:43:31Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:29:36Z
dc.date.issued2555en_US
dc.identifier.otherhs2008en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3721en_US
dc.description.abstractงานวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่เพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคนพิการ: กรณีศึกษาพื้นที่นำร่องอำเภอบางระกำ จังหวัด พิษณุโลก” เป็นการสำรวจลักษณะและสภาวะคนพิการ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย และ เตรียมการขับเคลื่อนนโยบายให้สอดรับกับความต้องการของคนพิการ ให้สามารถ ปฏิบัติการได้ตามศักยภาพและความต้องการสนับสนุนขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า จากกลุ่มตัวอย่างคนพิการ 450 คน จำนวนนี้จดทะเบียนกับ พมจ.พิษณุโลก ร้อยละ 69.55 ไม่ได้จดทะเบียน ร้อยละ 29.78 และไม่ประสงค์จดทะเบียน ร้อยละ 0.67 ลักษณะความพิการที่พบความบกพร่องระดับมาก - มากที่สุด ทางด้านการ มองเห็น ร้อยละ 8.5 การได้ยิน ร้อยละ 19.2 การพูด ร้อยละ 13.3 และการเดิน ร้อยละ 24.9 การดูแลตัวเองของคนพิการ พบว่า มีความบกพร่องด้านการทำความสะอาดร่างกาย การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การจัดการการขับถ่ายปัสสาวะ การจัดการการขับถ่าย อุจจาระ และการดูแลเรื่องประจำเดือน ในระดับมาก - มากที่สุด ร้อยละ 20.9 20.7 16.5 18.6 19.2 และ 12.0 ตามลำดับ และการเคลื่อนที่ในและนอกบ้านของคนพิการ ที่สำรวจ การเคลื่อนที่ในบ้าน นอกบ้าน การลุกขึ้นจากท่านั่งบนเก้าอี้/เตียง และการเดินขึ้นลงบันได พบว่า มีความบกพร่องระดับมาก - มากที่สุด ร้อยละ 22.9 27.1 24.7 และ 27.8 ตามลำดับ สถานบริการทางการแพทย์ที่มีสิ่งบริการตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุขฯ ทั้ง 26 รายการ พบว่า สิ่งบริการรายการที่ (2) การแนะแนว การให้คำปรึกษา และการ จัดบริการเป็นรายกรณี และ (23) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชนการเยี่ยมบ้าน การให้บริการเชิงรุก มีสถานบริการทางการแพทย์ที่มีการบริการตามรายการ การบริการตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุขฯ มากที่สุด จำนวน 22 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 รายการที่ (21) การบริการข้อมูลข่าวสารสุขภาพผ่านสื่อที่เหมาะสมกับความพิการ และ (26) การให้บริการเกี่ยวกับกายอุปกรณ์เทียม กายอุปกรณ์เสริม เครื่องช่วยความ พิการ สถานบริการทางการแพทย์ที่มีการบริการตามรายการการบริการตามประกาศ กระทรวงสาธารณะสุขฯ จำนวน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 90.91 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคน พิการ ตามระดับภาวะผู้นำ/อำนาจ 3 ระดับ คือ มาก ปานกลาง และน้อย ทำให้แบ่งผู้มี ส่วนได้เสียเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้สนับสนุนที่มีระดับภาวะผู้นำมากและปานกลาง โดย เน้นองค์กรหน่วยงานราชการ 3 แห่ง องค์กรคนพิการ 4 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง 2) กลุ่มผู้เป็นกลางที่มีระดับภาวะผู้นำมากและปานกลาง องค์กรหน่วยงาน ราชการ 8 แห่ง และ 3) กลุ่มผู้ต่อต้านที่มีระดับภาวะผู้นำมาก องค์กรหน่วยงานราชการ 1 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง 4 กลุ่มผู้เป็นกลางที่มีระดับภาวะผู้นำน้อย องค์กร หน่วยงานราชการ 2 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง สุดท้าย อาศัยหลักการพัฒนานโยบายแบบมีส่วนร่วม เพื่อกำหนดลำ ดับ ความสำคัญของกิจกรรมโครงการด้วยการระดมสมองกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัย สมาคมคนพิการ เครือข่ายคนพิการ และตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้กำหนด เงื่อนไขของลำดับความสำคัญไว้ 3 เงื่อนไข คือ ความต้องการในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มคนพิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความสอดคล้องกับผลลัพธ์ 4 ประการ ของ KIPA Framework และประเด็นสำคัญเกี่ยวกับคนพิการ 6 ประเด็น และเพื่อให้เกิด ความหลากหลายและมีโอกาสบรรลุเป้าหมายของนโยบายส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคน พิการ จึงได้ประสานงานเพื่อเพิ่มรูปแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการเป็นโครงการผ่านผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 7 กิจกรรม 2) รูปแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการผ่านกิจกรรมเสริมของ สสพ. จำนวน 1 กิจกรรม และ 3) รูปแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการโดยพัฒนาโครงการวิจัยต่อเนื่อง จำนวน 4 กิจกรรมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ(สสพ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)en_US
dc.format.extent20133774 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคนพิการ : กรณีศึกษาพื้นที่นำร่อง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoHV1568 พ532ก 2555en_US
dc.identifier.contactnoT52-01en_US
dc.subject.keywordการบริการคนพิการen_US
dc.subject.keywordการสร้างเสริมสุขภาพen_US
.custom.citationพัฒนา ราชวงศ์, นรินทร์ทิพย์ ฟองมูล and อัมพวัลย์ คำเชียงเงิน. "การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคนพิการ : กรณีศึกษาพื้นที่นำร่อง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3721">http://hdl.handle.net/11228/3721</a>.
.custom.total_download130
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2008.pdf
Size: 4.208Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record