Show simple item record

การพัฒนาเครือข่ายและการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Arts) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

dc.contributor.authorภัธทรา โต๊ะบุรินทร์en_US
dc.contributor.authorภาสกร อินทุมารen_US
dc.contributor.authorรุ่งธิวา ขลิบเงินen_US
dc.contributor.authorปวริส มินาen_US
dc.contributor.authorธีรพล กลิ่นมงคลen_US
dc.date.accessioned2013-01-25T08:55:08Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:29:45Z
dc.date.available2013-01-25T08:55:08Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:29:45Z
dc.date.issued2554-12en_US
dc.identifier.otherhs2006en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3743en_US
dc.description.abstractรายงานการวิจัยประเมินผลชิ้นนี้ เป็นการวิจัยประเมินผล“โครงการพัฒนาเครือข่ายและการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Arts) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” ดำเนินงานโดยเครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจากสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย (สสพ.) ใช้เวลาดำเนินงานในระยะที่ 1 เป็นเวลา 1 ปี 9 เดือน (เมษายน 2553 – ธันวาคม 2554) โดยมีโครงการย่อยจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาและส่งเสริมการขับเคลื่อนศิลปะเพื่อคนทั้งมวลในชุมชนหรือท้องถิ่น 2) โครงการพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านดนตรีของศิลปินคนพิการ และ3) โครงการพัฒนาเครือข่ายดนตรีและศิลปะเพื่อคนทั้งมวลแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เครือข่ายวาตาโบชิ และเครือข่าย SPOTLIGHT การวิจัยประเมินผลครั้งนี้เป็นการประเมินผลภายใน (internal evaluation) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองการขับเคลื่อนทางสังคม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับปฏิบัติการของโครงการ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบการประเมินตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Result Areas) และตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicators) ของโครงการในการขับเคลื่อนโครงการให้ดำเนินการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) และเพื่อประเมินผล “โครงการพัฒนาเครือข่ายและการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Arts) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก” ทั้งนี้ในส่วนของการประเมินผลจะเป็นการดำเนินการให้ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) สรุปผลการประเมินตามกรอบตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Result Area) ที่สร้างจากแนวคิดเรื่องการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) และแนวคิดเรื่องเครือข่าย ได้ดังนี้ ตัวชี้วัดผลงานหลักข้อที่ 1) การตระหนักรู้/การรับรู้แนวคิดของโครงการ ผู้ดำเนินโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการต่างก็รับรู้ถึงการมีอยู่ของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดี แต่การดำเนินโครงการทั้งหมดยังไม่ร้อยเรียงเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การขับเคลื่อนทางสังคมที่มีเป้าหมายในการสร้างความหมายชุดใหม่ว่าด้วยเรื่อง “คนพิการในสังคมไทยผ่านศิลปะและดนตรี” โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน (Inclusive Society) ตัวชี้วัดผลงานหลักข้อที่ 2) การตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย ผู้ดำเนินโครงการมีการสำรวจและศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายทั้ง 3 โครงการย่อย และมีการจัดประชุมและจัดกิจกรรมต่างๆร่วมกันสม่ำเสมอ แสดงถึงความตระหนักเรื่องความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายที่ชัดเจน ตัวชี้วัดผลงานหลักข้อที่ 3) ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม/การสร้างพันธะสัญญาร่วมกันระหว่างเครือข่ายมีการกำหนดผังเครือข่ายและเกิดคณะทำงาน คณะทำงานเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าร่วมโครงการที่เดิมเป็นสมาชิกเครือข่ายวาตาโบชิ น่าจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม แต่กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการในระดับอื่นๆ เช่นกลุ่มผู้สนับสนุน หรือกลุ่มอาสาสมัคร รวมถึงเครือข่ายอื่นๆ ในโครงการพัฒนาและส่งเสริมการขับเคลื่อนศิลปะเพื่อคนทั้งมวลในชุมชนและท้องถิ่นยังขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาเรื่องระยะทางและการขาดประสบการณ์เรื่องการสร้างเครือข่ายชุมชน ตัวชี้วัดผลงานหลักข้อที่ 4) การใช้ประโยชน์/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกโครงการมีกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาแกนนำเครือข่ายและมีระบบการสื่อสารระหว่างสมาชิกเครือข่าย นอกจากนั้นยังมีการประเมินผลแบบไม่เป็นทางการและมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ เมื่อพิจารณาจากกำหนดการต่างๆ พบว่ามีกิจกรรม/แผนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายหลายกิจกรรม ตลอดจนมีกระบวนการจัดหาทุนและระดมทรัพยากรจากเครือข่ายภายนอกและเครือข่ายภายในด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภายในเครือข่ายได้ดี เพียงแต่ยังไม่ได้ขับเคลื่อนสังคมตามวัตถุประสงค์ เรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน (Inclusive society) ของโครงการ ตัวชี้วัดผลงานหลักข้อที่ 5) การรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง ทีมวิจัยยังไม่พบแผนการรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเครือข่ายหลังสิ้นสุดโครงการ จึงยังมีคำถามเรื่องการรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเครือข่ายในการขับเคลื่อนประเด็นการสร้างสังคมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน อันเป็นเป้าหมายของโครงการพัฒนาเครือข่ายและการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive arts) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ข้อเสนแนะต่อสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย (สสพ.) ด้วย“โครงการพัฒนาเครือข่ายและการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Arts) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก” ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถพัฒนาศักยภาพของคนพิการได้เป็นอย่างดี และมีความพยายามสร้างสังคมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน (Inclusive Society) ให้เกิดขึ้นในสังคม จุดแข็งและความน่าสนใจของโครงการคือการที่สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) เปิดโอกาสให้ผู้ดำเนินโครงการ “เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ” (ศดพ.) ซึ่งเป็นกลุ่มคนพิการเข้ามารับผิดชอบโครงการนี้ และกลุ่มผู้ดำเนินโครงการก็ได้แสดงให้เห็นถึงทักษะและศักยภาพที่ไม่แตกต่างจากคนปกติ เนื่องจากยุทธศาสตร์ของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) มุ่งหวังพัฒนาข้อเสนอเพื่อการผลักดันนโยบายและสื่อสารเพื่อปรับทัศนคติสังคม โครงการกิจกรรมลักษณะนี้อาจจะยังไม่สามารถตอบสนองต่อความมุ่งหวังดังกล่าวได้ แต่หากมีการพัฒนาต่อยอดโครงการโดยเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่โครงการดังกล่าวในสื่อสาธารณะ เช่น การนำเสนอถึงกระบวนการสร้างเครือข่ายด้านศิลปะดนตรีระหว่างคนพิการและคนไม่พิการผ่านรายการโทรทัศน์ เป็นต้น โครงการดังกล่าวน่าจะมีพลังมากพอที่จะสื่อสารกับสังคมและสามารถกระตุ้นให้เกิดการปรับทัศนคติของสังคมไปสู่สังคมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน (Inclusive Society) ได้มากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)en_US
dc.format.extent2051237 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาเครือข่ายและการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Arts) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoN5085 ภ371พ 2554en_US
dc.identifier.contactnoT52-01en_US
.custom.citationภัธทรา โต๊ะบุรินทร์, ภาสกร อินทุมาร, รุ่งธิวา ขลิบเงิน, ปวริส มินา and ธีรพล กลิ่นมงคล. "การพัฒนาเครือข่ายและการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อคนทั้งมวล (Inclusive Arts) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3743">http://hdl.handle.net/11228/3743</a>.
.custom.total_download50
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2006.pdf
Size: 2.011Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record