Show simple item record

Good Quality Care for Alcohol-dependent Patients in Phimai Hospital

dc.contributor.authorชัชวาล ลีลาเจริญพรen_US
dc.contributor.authorChatchawan Leelarcharoenpornen_US
dc.contributor.authorศรีสุพรรณ นันทไพบูลย์en_US
dc.contributor.authorSrisuphan Nuntaphiboonen_US
dc.coverage.spatialนครราชสีมาen_US
dc.date.accessioned2008-10-03T08:08:15Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:55:51Z
dc.date.available2008-10-03T08:08:15Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:55:51Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,3-4 (ต.ค.-ธ.ค. 2550), 2(ต.ค.-ธ.ค. 2550) : 375-384en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/399en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดสุราในโรงพยาบาลพิมาย และเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดสุรา กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดสุราในระยะถอนพิษ 808 คน โดยศึกษาและเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยติดสุรา ที่เข้ารับการรักษาในระยะถอนสุรา ณ หอผู้ป่วยชายของโรงพยาบาลพิมาย อำเภอพิมาย จังหวันครราชสีมา แยกตามระยะเวลา เป็นระยะเริ่มต้นพัฒนา (1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548) 261 คน, ระยะการพัฒนา( 1 ต.ค. 2548-30 ก.ย. 2549) 306 คน, และระยะสิ้นสุดการพัฒนา ( 1 ตค. 2549-31 ก.ค. 2550) 241 คน. ผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 ได้จากการเลือกแบบเจาะจง 35 คน เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในระยะถอนสุรา และระยะบำบัดฟื้นฟูในแผนกผู้ป่วยในชาย และเข้ารับการบำบัดต่อเนื่องในคลินิกเลิกสุราโรงพยาบาลพิมาย ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2549-31 ก.ค. 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยแรกรับ, แบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยการติดสุรา, แบบประเมินอาการถอนสุรา (alcohol withdrawal scale : AWS), แนวทางการให้ยาตามแบบประเมินอาการถอนสุรา โรงพยาบาลพิมาย, แบบบันทึกข้อมูลการดูแลผู้ป่วยติดสุราในระยะถอน, แนวทางการให้คำปรึกษาแบบย่อ, และแนวทางบำบัดผู้ติดสุราตามแนวทางจิราสา การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ และตรวจสอบความใช้ได้ของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาฆ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ One way anova วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ เพื่อแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน; วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ การศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการเกิดอาการถอนพิษสุราในระดับรุนแรง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของอัตราการเกิดอาการถอนสุราระดับรุนแรงในระยะเริ่มต้นพัฒนากับในระยะหลังการพัฒนา ส่วนค่าเฉลี่ยระยะวันที่รักษาตัวในโรงพยาบาล วิเคราะห์เปรียบเทียบทั้ง 3 ระยะ พบว่าไม่มีความแตกต่างโดยนัยทางสถิติที่ระดับ 0-01 สำหรับผลลัพธ์ของการพัฒนาในระยะบำบัดฟื้นฟู พบว่าผู้ป่วยติดสุราเข้ารับการบำบัดครบตามแผนร้อยละ 42.86, บำบัดไม่ครบ ร้อยละ 45.71, ยังอยู่ในการบำบัด ร้อยละ 11.49 ในจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมด 35 คน มีผู้ป่วยสามารถเลิกดื่มสุราได้เกิน 3 เดือน ร้อยละ 37.14, ได้เกิน ๖ เดือน ร้อยละ 34.29, และเกิน 1 ปี ร้อยละ 8.57 จากการศึกษาสรุปได้ว่า การพัฒนาทำให้คุณภาพของการดูแลรักษาผู้ติดสุราแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพิมายดีขึ้น และมีผลทำให้ผู้ป่วยบางส่วนเลิกดื่มสุราได้ นอกจากนี้ยังพบโอกาสพัฒนาอื่นๆ อีก เช่น การใช้แนวทางการรักษาแบบร่วม, การเพิ่มทักษะด้านการให้คำปรึกษาแก่บุคลากรทางการแพทย์, การดูแลต่อเนื่องในสถานบริการระดับปฐมภูมิ และการมีส่วนร่วมของชุมชนth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleผลของการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดสุราที่โรงพยาบาลพิมายen_US
dc.title.alternativeGood Quality Care for Alcohol-dependent Patients in Phimai Hospitalen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThis action research was developed to assess the results of good-quality care and practical guidelines for alcohol-dependent patients in Phimai Hospital during the period from October 1, 2004 to July 31, 2007. The first group of subjects included 808 alcoholdependent patients in the three subgroups studied in successive periods of care development: 261 patients treated in the early developing period (Oct. 1, 2004 to Sept. 30, 2005); 241 patients in the developing period (Oct. 1, 2005 to Sept. 30, 2006); and 306 patients in the post-developing period (Oct. 1, 2006 to Jul. 31, 2007), respectively. The second sample group was selected by randomized purposive sampling consisting of 35 patients who received brief counseling and relapse prevention in the alcohol clinic of Phimai Hospital in the period from February 1, 2005 to July 31, 2007. The results of the quality care development revealed that the severity of withdrawal symptoms in the post-developing group had statistically significantly decreased, but showed no significant difference in average length of stay from any other groups at the 99 percent confident interval (p value < 0.01); relapse prevention showed that 37.14 percent (13 out of 35), 34.29 percent (12 out of 35) and 8.57 percent (2 out of 35) could continuously stop drinking over three months, six months and 12 months, respectively. In conclusion, this action research focussed on the improvement of care and relapse prevention. However, there were other opportunities to make improvements, such as combination therapy, counseling in skills training for medical personnel, continuing care in primary care units and community participation.en_EN
dc.subject.keywordผู้ติดสุราen_US
dc.subject.keywordการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมen_US
dc.subject.keywordAlcoholen_US
dc.subject.keywordAlcohol Drinkingen_US
.custom.citationชัชวาล ลีลาเจริญพร, Chatchawan Leelarcharoenporn, ศรีสุพรรณ นันทไพบูลย์ and Srisuphan Nuntaphiboon. "ผลของการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดสุราที่โรงพยาบาลพิมาย." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/399">http://hdl.handle.net/11228/399</a>.
.custom.total_download990
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year47
.custom.downloaded_fiscal_year89

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v1n3 ...
Size: 199.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record