Show simple item record

The synthesis of body of knowledge on the healing narratives.

dc.contributor.authorศิริวรรณ ลาภสมบูรนานนท์th_TH
dc.contributor.authorSiriwan lapsomburananonen_US
dc.date.accessioned2014-06-24T09:25:27Z
dc.date.available2014-06-24T09:25:27Z
dc.date.issued2557-01-31
dc.identifier.otherhs2117
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4029
dc.description.abstractหากคิดรวบยอดว่า กระบวนการรักษาคือการแปลความหมายของอาการเจ็บป่วยให้เข้าใจได้ ดังนี้แล้ว“เรื่องเล่า” จึงเกี่ยวข้องกับการแพทย์อย่างแยกจากกันไม่ได้ เพราะ “เรื่องเล่า” เป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจสาเหตุและอาการของความเจ็บป่วยระหว่างผู้ป่วยที่รับการรักษากับแพทย์ผู้ให้การรักษา การแพทย์ตั้งแต่ครั้งอดีตกาล ตั้งแต่ในสังคมชนเผ่า ก็ใช้ “เรื่องเล่า” ซึ่งอาจจะเป็นตำนาน เทพนิยาย หรือสร้างตัวแทนสมมติให้เป็นรูปธรรม มาเป็นคำอธิบายอาการเจ็บไข้ได้ป่วย จวบจนกระทั่งการแพทย์สมัยใหม่ ก็ยังต้องใช้“เรื่องเล่า” ซึ่งเปลี่ยนโฉมไปเป็นคำอธิบายทางการแพทย์ที่รับรองได้ด้วยผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์แทน หากแต่ด้วยความคิดในเชิงปฏิฐานนิยมและการวัดผลที่ต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่ครอบงำการแพทย์สมัยใหม่นี้เอง กลับทำให้ลดทอนคุณภาพของกระบวนการรักษา เพราะทุกอย่างต้องสามารถแสดงผลได้ผ่านตัวเลขและการประเมินคุณค่าที่ตรวจสอบได้ด้วยหลักฐาน จนลืมการใส่ใจให้กับมิติของความเป็นมนุษย์ ทั้งที่กระบวนการรักษาเป็นกระบวนการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ที่ใกล้ชิดกันมากที่สุดอย่างหนึ่ง ในต่างประเทศ โดยเฉพาะฝั่งอังกฤษและอเมริกา ได้มีความพยายามรื้อฟื้นการนำฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการของเรื่องเล่าเข้ามาปรับใช้กับกระบวนการรักษา ซึ่งอาจเรียกโดยรวมได้ว่า narrative medicine หรือ “เรื่องเล่าเพื่อการเยียวยา” โดยมีจุดสำคัญในการศึกษา เผยแพร่ ตลอดจนผลักดันให้เกิดการเรียนการสอน ก็เพื่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจและความใส่ใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการในกระบวนการรักษา เนื่องจากการบรรลุเป้าหมายในการรักษาไม่ใช่การเอาชนะโรคภัยได้อย่างเด็ดขาด เพราะหากยึดถือเช่นนั้นแล้ว การรักษาผู้ป่วยจะเป็นเพียงแค่การประลองกำลังความสามารถระหว่างแพทย์กับปริศนาโรคร้าย บ่อยครั้งที่การต่อสู้นั้นกลับกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้รักษาและผู้รับการรักษา เนื่องจากความตึงเครียดในการหวังผลสำเร็จเท่านั้น การศึกษา “เรื่องเล่า” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเจ็บป่วยและการรักษาร่วมกัน ถือได้ว่าเป็นการ “สงบศึก” เป็นการทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสันติและเป็นสุขที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้รักษาเองก็ได้เรียนรู้ชีวิตของมนุษย์ที่ไม่ใช่แค่ตัวโรคที่รักษาอยู่ สังคมรอบข้างก็ได้รับรู้ถึงความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การศึกษา narrative medicine จึงไม่ใช่แค่ “เครื่องมือหรือวิธีการ” ในการรับรู้หรือเข้าถึงความเจ็บป่วยเท่านั้น แต่กระบวนการของเรื่องเล่านั้นเองที่จะเป็น “เป้าหมาย” ในการเยียวยารักษาโดยตัวเองอีกด้วย ในสังคมไทย ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ พยายามนำเสนอ Narrative Medicine เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขหวนกลับไปสู่ “การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์” อีกครั้ง โดยนำเสนอแนวคิดเรื่องนี้ผ่านปาฐกถาและบทความ ต่อมาได้ร่วมกับสถานรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์การมหาชน (สรพ.) และสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ จัดการอบรมปฏิบัติการเวชปฏิบัติเรื่องเล่ากับการเรียนรู้(Narrative Medicine Workshop: Learning Through Stories) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีผู้เข้าร่วมอบรมและกลับไปดำเนินงานสานต่อแนวคิดนี้อีกจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นความรู้ในภาคปฏิบัติเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่อาจนำเสนอตัวบททฤษฎีที่สำคัญๆ อันจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการศึกษาทางวิชาการได้ โครงการวิจัย เรื่อง การสำรวจสถานภาพความรู้ “เรื่องเล่าเพื่อการเยียวยา” (narrative medicine) จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมความรู้และความเข้าใจในแนวความคิดเรื่อง narrative medicine ให้แข็งแกร่งในเชิงวิชาการมากขึ้น ทั้งยังเป็นฐานการศึกษาที่สำคัญซึ่งจะทำให้เกิดการต่อยอดและขยายผลของการศึกษานี้ให้งอกงามขึ้นในสังคมไทยต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการเยียวยาth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการสำรวจสถานภาพความรู้ เรื่องเล่าเพื่อการเยียวยาth_TH
dc.title.alternativeThe synthesis of body of knowledge on the healing narratives.en_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW84 ศ486ก 2557
dc.identifier.contactno54-059en_US
dc.subject.keywordNarrative Medicineen_US
.custom.citationศิริวรรณ ลาภสมบูรนานนท์ and Siriwan lapsomburananon. "การสำรวจสถานภาพความรู้ เรื่องเล่าเพื่อการเยียวยา." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4029">http://hdl.handle.net/11228/4029</a>.
.custom.total_download122
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2117.pdf
Size: 733.5Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record