แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

Strategic review of research on aging, senile dementia and Alzheimer’s disease in Thailand

dc.contributor.authorอังสนา โตกิจกล้าth_TH
dc.contributor.authorAngsana Tokitklaen_US
dc.date.accessioned2014-07-23T09:21:20Z
dc.date.available2014-07-23T09:21:20Z
dc.date.issued2557-07-22
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4097
dc.description.abstractโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคสมองเสื่อมซึ่งนับว่าเป็น ปัญหาสำคัญในหลายๆประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของ โรคอัลไซเมอร์ โดยได้จัดลำดับสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลก พบว่า โรคอัล ไซเมอร์ได้ถูกจัดไว้ในอันดับที่ 20 ในปี 2012 และ Alzheimer’s Disease International (ADI) รายงานว่า ในปี 2013 ประชากรโลกป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ประมาณ 44.35 ล้านคน และคาดการณ์ไว้ว่า หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมจำนวน ผู้ป่วยเป็นโรคดังกล่าวอาจเพิ่มเป็น 75.62 และ 135.46 ล้านคน ในปี 2030 และ 2050 ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าร้อยละ 71 ของจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ในปี 2050 นั้น จะพบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำหรือปานกลาง (lower and middle-income countries) เนื่องจากมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่พบ มากในกลุ่มประเทศภูมิภาคอเมริกาและยุโรป เนื่องจากพบว่า โรคอัลไซเมอร์เป็น สาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับที่ 3 และ7 ตามลำดับ (WHO, 2012) สำหรับประเทศ ไทยนั้น มีสถิติของคนที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมในขณะนี้สูงถึงประมาณ 6 ล้านคนทั่ว ประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่อายุระหว่าง 65 ปีขึ้นไป และพบใน เพศหญิงมากกว่าชาย (http://www.krobkruakao.com/) โรคอัลไซเมอร์ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากไปทั่วโลก ดังจะเห็นได้จาก จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การเกิดโรคอัลไซเมอร์ยัง มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ผู้ป่วย ซึ่ง ADI (2013) ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดูและผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ เป็นจำนวนเงินถึง 604 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ในปี 2010 และค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,117 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2030 หลายปีที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องได้มีความพยายามแก้ไข ปัญหาโรคดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องแต่ดูเหมือนว่านับวันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น อาจจะเป็นผลเนื่องมาจากคนไทยมัก จะทานผักและผลไม้น้อย และไม่ให้ความสำคัญต่อ การออกกำลังกายเท่าใดนัก (มัยธัช สามเสน, 2552) ดังนั้น จึงได้เริ่มศึกษารวบรวม และสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อ วิเคราะห์และสรุปภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันของโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ของประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการวิจัยด้านโรคสมองเสื่อมและ โรคอัลไซเมอร์ในช่วงปี พ.ศ.2540-2555 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนวิจัยเพื่อ ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต อีกทั้งองค์ความรู้ที่ได้จะนำไปสู่การวางกรอบ การวิจัยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และสามารถวางแผนการวิจัยเพื่อตอบประเด็น ปัญหาที่ยังไม่มีการแก้ไขหรือเพื่อต่อยอดงานวิจัยให้เกิดการใช้งบประมาณได้อย่าง คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป แนวคิดของโครงการเริ่มจากรวบรวมและวิเคราะห์สังเคราะห์ผลงานวิจัย และเอกสารทางวิชาการต่างๆ (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องกับโรคสมอง เสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2540-2555 จัด ประชุมเชิงปฏิบัติการและจัด focus group เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ/ ผู้เชี่ยวชาญ/นักวิจัยในหน่วยงานและองค์กรต่างๆ พร้อมทั้ง กำหนดกรณีศึกษาของ ประเทศที่จะเป็น best practice ในเรื่องโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ เพื่อนำ ข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และสังเคราะห์และสรุปเป็นภาพรวมสถานการณ์งานวิจัย ด้านโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์โดยจำแนกตามกลุ่มเรื่อง ตลอดจนเสนอแนะ กรอบการวิจัยความต้องการงานวิจัยด้านโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคดังกล่าวต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectอัลไซเมอร์th_TH
dc.subjectสมองเสื่อมth_TH
dc.titleStrategic review of research on aging, senile dementia and Alzheimer’s disease in Thailanden_US
dc.typePresentationen_US
dc.description.publicationเอกสารนำเสนอประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยเกี่ยวกับสมอง จิตใจ และพฤติกรรม” (Development of Research Strategies for Brain Mind and Behaviour) จัดโดย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) วันที่ 21 – 23 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ (Jupiter) ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯth_TH
dc.subject.keywordAlzheimer's Diseaseen_US
.custom.citationอังสนา โตกิจกล้า and Angsana Tokitkla. "Strategic review of research on aging, senile dementia and Alzheimer’s disease in Thailand." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4097">http://hdl.handle.net/11228/4097</a>.
.custom.total_download1364
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month21
.custom.downloaded_this_year57
.custom.downloaded_fiscal_year85

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: Angsana_Alzheimer.pdf
ขนาด: 75.44Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Presentations [882]
    เอกสารนำเสนอประกอบการประชุม

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย