แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

วิกฤตของระบบสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

dc.contributor.authorพงค์เทพ สุธีรวุฒิth_TH
dc.contributor.authorPongthep Sutheravuten_US
dc.contributor.authorอมร รอดคล้ายth_TH
dc.contributor.authorAmorn Rodklaien_US
dc.contributor.authorสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจth_TH
dc.contributor.authorSuwat Wiriyapongsukiten_US
dc.contributor.authorสุภัทร ฮาสุวรรณกิจth_TH
dc.contributor.authorSupat Hasuwannakiten_US
dc.coverage.spatialไทยth_TH
dc.date.accessioned2008-10-03T08:24:13Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:03:56Z
dc.date.available2008-10-03T08:24:13Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:03:56Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,2 (ก.ค.-ก.ย. 2550) : 145-155en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.otherhs1330en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/420en_US
dc.description.abstractวิกฤตความรุนแรงของสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะอย่างรุนแรงทั้งทายกาย จิต/สังคม และจิตวิญญาณ การรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่องเริ่มเดือนมีนาคม 2547 ถึงมีนาคม 2550 โดยใช้การสอบถามและการสัมภาษณ์ รวมถึงการสนทนากลุ่มและจัดเวทีระดมสมอง ใช้วิธีการประชุมกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนสิงหาคม 2549 มีการก่อเหตุความรุนแรงรวมทั้งสิ้น 5,460 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 1,730 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2,513 คน ในจำนวนนี้เป็นบุคลากรสาธารณสุข 22 คน และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 31 คน และแนวโน้มของเหตุการณ์จะมีความรุนแรงมากขึ้น โรงพยาบาลทุกแห่งในพื้นที่ต้องปรับตัวตามสถานการณ์ บุคลากรต้องระวังตัวมากขึ้นโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การงดสวมเครื่องแบบ ปรับเวลาทำงาน ลดงานบริการเชิงรุกโดยเฉพาะงานสร้างเสริมสุขภาพและงานป้องกันโรค ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในระยะยาว คือ จะมีการซ่อมสุขภาพมากกว่าการสร้างสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย การสำรองอาหาร บางพื้นที่จำกัด อสม. มาปฏิบัติงานคู่กับเจ้าหน้าที่อนามัยเพื่อความอุ่นใจ มีการดูแลขวัญกำลังใจซึ่งกันและกัน สิ่งยึดโยงให้บุคลากรยังคงอยู่ปฏิบัติงานต่อไปได้คือ ศรัทธาจากชุมชนและการเป็นคนในพื้นที่ ปริมาณผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่สถานีอนามัยลดลง มีการคลอดที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยโรคเรื้อรังรับเข้าเป็นผู้ป่วยในเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยภาวะแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร พบว่าการสูญเสียและทดแทนใกล้เคียงกัน และยังคงขาดแคลนแพทย์เฉพาะบางสาขา โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพกำลังจะเป็นปัญหามากขึ้นหากเหตุการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น มาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น คือ การแก้ปัญหาความปลอดภัยในชีวิต การสร้างระบบสนับสนุนด้านการให้คำปรึกษา การส่งต่อ จัดบุคลากรเสริม และการรักษาบุคลากรให้คงอยู่ ส่วนมาตรการระยะยาวคือการเร่งสร้างสันติภาพในพื้นที่ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดบริการสุขภาพ สร้างระบบการดูแลตนเองของชุมชน สร้างหลักสูตรการแพทย์ในวิถีมุสลิม การเพิ่มประสิทธิภาพในระบบบริการสุขภาพ ทั้งนี้กลไกการทำงานเพื่อแก้ปัญหาควรจะต้องมีโครงสร้างทีมงานเฉพาะ เกาะติดสถานการณ์สร้างช่องทางการเชื่อมต่อ การพัฒนาระบบร่วมคิด ระบบข้อมูลข่าวสาร การติดตามแก้ปัญหาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบที่สอดคล้องกับสถานการณ์ความรุนแรงth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.titleวิกฤตของระบบสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeHealth System during Crisis in Restive Southern Provinces of Thailanden_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThe violence in the Southern provinces in Thailand took a toll on physical, psycho-social and spiritual health. Data collection began from March 2004 to March 2007 using questionnaires, face to face interview including group seminars and brainstorming sessions. It was found that the frequency of chaotic events occured 5,460 times during January 2003 to August 2006. About 1,730 have been killed and 2,513 injured. These victims included 22 health workers and 31 health volunteers. In the prime of the violence, every single hospital has prepared itself to be ready to cope with those crises. Health workers, for example, suddenly changed their behaviors substantially such as adjusting their work schedules, not wearing uniform, taking more precautions, decreasing or avoiding their proactive roles in field works, particularly health promotion and health prevention. These were remarkable changes in health care roles which would have long term serious effects on the communitiy health. In addition, security in hospitals has been tightened while stocks of food became critically necessary. Some local health offices rearranged their teams by having village health volunteers working closely with their health officers. These actions could boost their morale and ensure their safety. Community faith in them and being natives inspired health workers to remain in their posts. It was interesting that the number of cases of out-patient and in-patient departments had not changed much but the number of patients visiting local health offices clearly decreased. Nevertheless, the number of patients in labor departments increased and the chronic disease cases increased as well. Besides, the number of cases with psychosis or having mental problems sharply increased. Eventhough, the turn over and replacement of health workers became even but the lack of medical specialists in some areas remained. Number of registered nurses would become the major concern in the near future if the violence is not restrained. The crisis dictates requirements on short-term measures to focus on security, life protection, creating the supporting systems about counseling, referring, transferring and maintaining the systems. In the long run, measures include peace restoration, then, create health participatory system of people in communities, self-care system and enhance effectiveness of health system. It should be concerned about the opportunity to build Muslim medical curriculum and agenda. Having a specific team work to monitor the situation closely, connecting and communicating with the government and developing the participatory management of data system and solving the problem may gradually decrease the violence. In addition, research and development on the consequences of the health system of the restive southern provinces are required in order to cope with the drastic change.en_US
dc.subject.keywordภาวะวิกฤตth_TH
dc.subject.keywordระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordจังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.subject.keywordCrisisen_US
dc.subject.keywordHealth Systemen_US
dc.subject.keywordSouthern Provincesen_US
.custom.citationพงค์เทพ สุธีรวุฒิ, Pongthep Sutheravut, อมร รอดคล้าย, Amorn Rodklai, สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ, Suwat Wiriyapongsukit, สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ and Supat Hasuwannakit. "วิกฤตของระบบสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/420">http://hdl.handle.net/11228/420</a>.
.custom.total_download876
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year33

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v1n2 ...
ขนาด: 224.5Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย