แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างงานวิจัยด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

dc.contributor.authorวิชช์ เกษมทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorVijj Kasemsapen_US
dc.contributor.authorวรรณสุดา งามอรุณth_TH
dc.contributor.authorWansuda Ngam-Aroonen_US
dc.contributor.authorวิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาลth_TH
dc.contributor.authorWichukorn Suriyawongpaisalen_US
dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายth_TH
dc.contributor.authorPhusit Prakongsaien_US
dc.date.accessioned2015-05-12T03:50:01Z
dc.date.available2015-05-12T03:50:01Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.otherhs2151
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4254
dc.description.abstractโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นภาระต่อเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญในระดับโลก ทั้งนี้เพราะกลุ่มโรคดังกล่าวบั่นทอนสุขภาพและศักยภาพในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่บุคคลและสังคมต้องเสียไปเพื่อประคับประคองกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงสูงกว่าโรคอื่นๆ ด้วยเหตุนี้การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสียหายต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ด้วยเห็นความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อแก่ประเทศสมาชิก โดยหนึ่งในแนวทางปฏิบัติดังกล่าวคือ การกำหนดกรอบลำดับความสำคัญงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Prioritized Research Agenda on NCDs) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยใช้ข้อมูลสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และความสำเร็จของมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่บูรณาการการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นแผนงานฯที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือรัฐบาลไทยและองค์การอนามัยโลก จึงได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย โดยใช้กรอบลำดับความสาคัญงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อขององค์การอนามัยโลก เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการตอบโจทย์การกำหนดทิศทางของงานวิจัยเพื่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อในอนาคต จากผลการศึกษาวิเคราะห์ ทำให้ได้เห็นนิมิตหมายที่ดีของงานวิจัยในประเทศไทยที่มีการวิจัยความชุก ปัจจัยทางสังคม การแปลงความรู้สู่นโยบาย และการสร้างศักยภาพในการดูแลตนเองของชุมชนเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น แม้จะมีสัดส่วนที่น้อยกว่างานวิจัยทางคลินิกก็ตาม ซึ่งหากการดำเนินการวิจัยกลุ่มนี้ และมีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เพื่อลดช่องว่างในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อมากขึ้น ภาระโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีต่อสุขภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยย่อมลดลงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคเรื้อรังth_TH
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างงานวิจัยด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
dc.title.alternativeThe Project of a Study of Gap Analysis for NCD Prevention and Controlen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWA108 ว535ก 2556
dc.identifier.contactno56-021th_TH
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
.custom.citationวิชช์ เกษมทรัพย์, Vijj Kasemsap, วรรณสุดา งามอรุณ, Wansuda Ngam-Aroon, วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล, Wichukorn Suriyawongpaisal, ภูษิต ประคองสาย and Phusit Prakongsai. "การศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างงานวิจัยด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4254">http://hdl.handle.net/11228/4254</a>.
.custom.total_download412
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2151.pdf
ขนาด: 634.2Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย