Show simple item record

The Development of Care Standard and Service Guideline for Dependent Older Persons in Long-term Care Institution

dc.contributor.authorศิริพันธุ์ สาสัตย์th_TH
dc.contributor.authorSiriphan Sasaten_US
dc.contributor.authorวาสินี วิเศษฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorWasinee Wisestrithen_US
dc.contributor.authorถาวร สกุลพาณิชย์th_TH
dc.contributor.authorThaworn Sakunphaniten_US
dc.contributor.authorรังสิมันต์ สุนทรไชยาth_TH
dc.contributor.authorRangsiman Soonthornchaiyaen_US
dc.date.accessioned2015-09-04T08:26:22Z
dc.date.available2015-09-04T08:26:22Z
dc.date.issued2558-04-30
dc.identifier.otherhs2182
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4307
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การพัฒนามาตรฐานและแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานดูแลระยะยาว” เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed method) ที่รวมทั้งการวิจัยเอกสารซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยการสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานดูแลระยะยาว กลไกการควบคุมและกำกับมาตรฐานสำหรับสถานประกอบการผู้สูงอายุ การพัฒนามาตรฐานและแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานบริการในบริบทของประเทศไทยและความเป็นไปได้ในการนำมาตรฐานไปใช้ การดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนสิงหาคม 2556 – กุมภาพันธ์ 2558 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเอกสาร ในประเด็นมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานดูแลระยะยาวและกลไกการควบคุมและกำกับมาตรฐาน สำหรับสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long-term care facilities) ในประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลียและเอเชียรวมทั้งหมด 10 ประเทศ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และเขตเศรษฐกิจฮ่องกง ร่วมกับการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดพื้นที่ ศึกษาครอบคลุม 4 ภาค ภาคละ 1 กลุ่ม ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รวมทั้ง เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีก 2 กลุ่ม รวม 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน รวมผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มทั้งหมด 60 คน และการศึกษาระยะที่ 2 เป็นการสังเคราะห์ผลการศึกษาระยะที่ 1 ทั้งการวิจัยเอกสารและการสนทนากลุ่มเพื่อนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานและแนวทางการดูแล กลไกการควบคุมกำกับมาตรฐานสำหรับสถานดูแลระยะยาว และจัดเวทีวิพากษ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาตรฐานไปใช้ ผลการศึกษา 1. ระบบการดูแลระยะยาว ในภาพรวมสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามนโยบายการดูแลระยะยาวและแหล่งการคลัง คือ 1) สิทธิประโยชน์แบบถ้วนหน้าภายใต้การดูแลระยะยาวระบบเดียว อาจแยกระบบการดูแลระยะยาวออกจากระบบบริการสุขภาพเป็นสิทธิประโยชน์ จัดบริการคู่ขนานหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพก็ได้ กลไกการจ่ายอาจมาจากภาษี เช่น ประเทศสวีเดน จากประกันสังคมหรือผสมผสาน เช่น เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โดยมีการร่วมจ่าย 2) สิทธิประโยชน์แบบถ้วนหน้าภายใต้การดูแลระยะยาวแบบผสม ให้สิทธิแก่ประชาชนผ่านรูปแบบการดูแลที่หลากหลาย ส่วนใหญ่ให้บริการสุขภาพแบบถ้วนหน้าแต่การช่วยเหลือด้านสังคมจะคำนึงถึงฐานะของครอบครัว เช่น ออสเตรเลียและฝรั่งเศส บางประเทศกำหนดให้การช่วยเหลือด้านสังคมต้องมีการประเมินรายได้ เช่น ประเทศแคนาดา และนิวซีแลนด์ 3) เน้นให้การช่วยเหลือเฉพาะผู้ยากไร้ ใช้วิธีประเมินรายได้และใช้แหล่งการคลังแบบภาษี เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และ 4) กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว 2. มาตรฐานการดูแลระยะยาวในสถานบริการ จากการสังเคราะห์มาตรฐานการดูแลระยะยาวในต่างประเทศ รวมทั้งผลที่ได้จากการวิจัยในประเทศไทย สามารถแบ่งมาตรฐานออกเป็น 7 ด้าน 70 มาตรฐาน โดยจัดหมวดหมู่มาตรฐานตามโครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ ดังนี้ 1) มาตรฐานโครงสร้างในการดูแล (structure of care) ประกอบด้วย 3 ด้าน 28 มาตรฐาน 1.1) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment) มีทั้งหมด 6 มาตรฐาน 1.2) ด้านบุคลากร (Staff) มีทั้งหมด 6 มาตรฐาน 1.3) ด้านการจัดการ (Management) มีทั้งหมด 16 มาตรฐาน 2) มาตรฐานกระบวนการดูแล (process of care) ประกอบด้วย 3 ด้าน 32 มาตรฐาน 2.1) ด้านบริการดูแล (Care service) มีทั้งหมด 24 มาตรฐาน 2.2) ด้านความปลอดภัยในการดูแล (Safety of care) มีทั้งหมด 5 มาตรฐาน 2.3) ด้านการมีส่วนร่วม (Participation) มีทั้งหมด 3 มาตรฐาน 3) มาตรฐานผลลัพธ์ของการดูแล (outcomes of care) ประกอบด้วย 1 ด้าน 10 มาตรฐาน 3.1) ความพึงพอใจและคุณภาพในการดูแล มีทั้งหมด 10 มาตรฐาน รวมทั้งแบ่งมาตรฐานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) มาตรฐานขั้นพื้นฐานที่ใช้สำหรับการขอจัดตั้งสถานบริบาลซึ่งเป็นกระบวนการบังคับในทุกประเทศ จำนวน 32 มาตรฐาน 2) มาตรฐานควบคุมกำกับ เพื่อการตรวจสอบคุณภาพระหว่างการดำเนิน จำนวน 28 มาตรฐานและ 3) มาตรฐานส่งเสริม จำนวน 11 มาตรฐาน 3. กลไกการควบคุมและกำกับมาตรฐานสำหรับสถานประกอบการผู้สูงอายุ ในบริบทของประเทศไทย เนื่องจากการระบบการดูแลระยะยาวนั้นครอบคลุมทั้งบริการสุขภาพและบริการด้านสังคม การกำหนดมาตรฐานจึงควรจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ 1) มาตรฐานสถานสงเคราะห์หรือบ้านพักคนชราซึ่งยังช่วยเหลือตัวเองได้ ควรเป็นภารกิจของกระทรวงพัฒนาการสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 2) มาตรฐานสถานบริบาล หรือสถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาล ควรเป็นภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการจัดบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาปานกลางถึงสูงมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรทางด้านสุขภาพในการจัดบริการ การควบคุมกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐาน ควรเป็นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กทม. อบจ. หรือ เทศบาลนครขนาดใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการสถานบริบาล เอกชนตามมาตรฐาน โดยพิจารณาร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รวมทั้งดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพบริการระหว่างการดำเนินการเป็นระยะๆ ทั้งในกรณีการขอเปิดกิจการดูแลที่บ้านและการดูแลในสถานบริบาล การดำเนินการกำกับดูแลการจัดระบบบริการระยะยาวในชุมชนและในสถานบริบาล ควรมีคณะกรรมการระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน นายก อบจ เป็นเลขานุการ มีผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนสภาผู้สูงอายุ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเป็นกรรมการ เพื่อประสานแนวทางการทำงาน ในระดับอำเภอก็ควรมีกรรมการในลักษณะเดียวกัน แต่มีนายอำเภอเป็นประธานเพื่อจัดทำแผนและประสานงานภายในอำเภอth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.subjectการบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนามาตรฐานและแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานดูแลระยะยาวth_TH
dc.title.alternativeThe Development of Care Standard and Service Guideline for Dependent Older Persons in Long-term Care Institutionen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWT27 ศ465ก 2558th_TH
dc.identifier.contactno56-028en_US
dc.subject.keywordการดูแลผู้สูงอายุth_TH
.custom.citationศิริพันธุ์ สาสัตย์, Siriphan Sasat, วาสินี วิเศษฤทธิ์, Wasinee Wisestrith, ถาวร สกุลพาณิชย์, Thaworn Sakunphanit, รังสิมันต์ สุนทรไชยา and Rangsiman Soonthornchaiya. "การพัฒนามาตรฐานและแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานดูแลระยะยาว." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4307">http://hdl.handle.net/11228/4307</a>.
.custom.total_download977
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year24

Fulltext
Icon
Name: hs2182.pdf
Size: 2.307Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record