Show simple item record

Assessment of Smoking Cessation Services in Public Health Ministry-Affiliated Hospitals

dc.contributor.authorหทัยชนก สุมาลีth_TH
dc.contributor.authorHathaichanok Sumaleeen_US
dc.contributor.authorศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์th_TH
dc.contributor.authorSiriwan Pitayarangsariten_US
dc.contributor.authorประภาพรรณ เอี่ยมอนันต์th_TH
dc.contributor.authorPraphaphan Iamananen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienen_US
dc.date.accessioned2015-10-28T03:24:57Z
dc.date.available2015-10-28T03:24:57Z
dc.date.issued2558-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 9,3 (ก.ค.-ก.ย. 2558) : 241-252th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4335
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์ระบบบริการช่วยเลิกบุหรี่ในประเทศไทยในช่วงปี 2550-2555 และปัจจัยความสำเร็จ รวมทั้งสรุปบทเรียนสำหรับการพัฒนารูปแบบบริการช่วยเลิกบุหรี่ที่เหมาะสมในอนาคต โดยการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติในคลินิกอดบุหรี่ในโรงพยาบาล 10 แห่งที่มีการบริหารจัดการที่โดดเด่น ผ่านเกณฑ์การพิจารณาโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ของเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ (ระดับเงิน ระดับทอง และระดับเพชร) และเป็นโรงพยาบาลภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีบริการช่วยเลิกบุหรี่ 4 รูปแบบ ได้แก่ คลินิกอดบุหรี่ในโรงพยาบาล สายด่วนปลอดบุหรี่ (Quitline 1600) บริการช่วยเลิกบุหรี่ในร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำ และบริการในคลินิกทันตกรรมของศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรูปแบบที่พัฒนาอย่างเป็นระบบเพื่อขยายบริการแบบถ้วนหน้า (Universal access) ได้แก่ Quitline 1600 และคลินิกอดบุหรี่ในสถานพยาบาลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และคลินิกฟ้าใสไร้ควัน (SMART Quit Clinic) ซึ่งพัฒนามาจากคลินิกอดบุหรี่ในโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีคู่มือแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับแพทย์และบุคลากรอื่น ในการบำบัดรักษาผู้ติดบุหรี่ คลินิกอดบุหรี่ทั้ง 10 แห่งมีมาตรฐานโครงสร้างและบริการไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเฉพาะการบูรณาการบริการ 5A ได้แก่ Ask (สอบถามประวัติ) Advise (แนะนำให้เลิกบุหรี่) Assess (ประเมินการติดบุหรี่) Assist (ช่วยให้เลิกบุหรี่) Arrange (ติดตามการเลิกบุหรี่) โดยโรงพยาบาลบางแห่งสามารถเพิ่มศักยภาพให้ทุกฝ่ายสามารถให้บริการได้ โดยไม่ต้องส่งมาที่คลินิกอดบุหรี่ คลินิกอดบุหรี่ส่วนใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบของงานจิตเวช โดยให้คำปรึกษาร่วมกับการใช้ยาควบคู่กันไป การฟื้นฟูและติดตามผู้ติดบุหรี่ มีแบบแผนการให้บริการที่ชัดเจน และถือเป็นตัวชี้วัดที่โรงพยาบาลให้ความสำคัญ การติดตามทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยใช้บุคคลภายนอกในการประสานเครือข่ายในชุมชนให้ช่วยติดตามดูแล สำหรับข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดบริการช่วยเลิกบุหรี่ในประเทศไทย มี 5 ประการคือ 1) ให้การบริการสำหรับผู้ที่มีปัญหาการติดบุหรี่เป็นโปรแกรมเฉพาะของ สปสช. โดยทำงานร่วมกับองค์กรที่มีบทบาทหรือมีศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการให้บริการคลินิกอดบุหรี่ที่ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อพัฒนาระบบบริการงานคลินิกอดบุหรี่ในสถานพยาบาลทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 2) จัดตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบหลักเพื่อวางแผนและพัฒนาการบูรณาการระบบบริการเลิกบุหรี่ของประเทศไทยให้มีระบบเดียว มีการกำหนดนโยบายในระดับองค์กรที่ชัดเจนและมีองค์กรผู้รับผิดชอบหลักตั้งแต่ระดับกระทรวง ภาค เขต และจังหวัด 3) พัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีเทคนิคการเลิกบุหรี่ที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเผยแพร่สนับสนุนให้แก่คลินิกอดบุหรี่ และมีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาการเลิกบุหรี่ให้ทันต่อสถานการณ์ และมีช่องทางการรายงานหรือประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับผิดชอบคลินิกอดบุหรี่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการจัดประชุมสัมมนาและอบรมวิชาการ การเผยแพร่งานวิจัย โดยเชิญผู้รับผิดชอบคลินิกอดบุหรี่ให้เข้าร่วมประชุม 4) จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการอบรมให้คำปรึกษา รูปแบบการรักษา ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเรียนรู้งานเป็นระบบเดียวกันทั่วประเทศ 5) กำหนดให้การเลิกสูบเป็นเงื่อนไขในการเข้ารับการบริการรักษา โดยเริ่มจากผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการเลิกบุหรี่th_TH
dc.subjectบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectSmokingen_US
dc.titleการประเมินผลการจัดบริการช่วยเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeAssessment of Smoking Cessation Services in Public Health Ministry-Affiliated Hospitalsen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to assess the situation of hospital-based smoking cessation clinics in Thailand from 2007 to 2012 by conducting literature review and assessment in 10 sites supported by National Health Security Office (NHSO) in order to identify success factors and good practices for scaling up. The result shows that there are four models such as hospital-based cessation clinics, Quitline service, cessation services in pharmacies with full-time pharmacist and by dental clinics in public health centres under Bangkok Metropolitan Authority. Two systems were developed to achieve universal access to cessation service such as Quitline 1600, cessation clinics supported by NHSO, including SMART Quit Clinic. Clinical practice guidelines for treating tobacco dependence by physicians and other health professionals, for which the contents of the guideline can be adjusted to suit each profession, were also issued. In the ten smoking cessation sites, the structure and services differ slightly depending on the context and size of hospital. The 5A’s system (Ask, Advice, Assess, Assist and Arrange) was fully integrated into routine work in all departments without referring the smoker clients to the smoking cessation clinics. Usually providing consultations and parallel medication are offered. Plans for rehabilitation and followup with support from network outside hospitals such as health centres and volunteers are the key performance indicators This study recommends: 1) In collaboration with organizations involved or with capacity to be involved in existing cessation services, make services for smokers a special program under NHSO to improve central and regional systems. 2) To plan and integrate Thai cessation services into one system, set up a workgroup with clear organizational policies as the responsible body for all levels from ministerial, regional, district to provincial level. 3) To develop up-to-date educational media for use by cessation clinics through which standardized cessation techniques can be taught. Provide channels for continuous report and public relation including seminar, training and research dissemination where those responsible for cessation clinics are invited. 4) To have personnel throughout the country trained under the same system, set up a central office responsible for setting consultation and treatment training standards. 5) To have service conditions set; for patients with chronic diseases make cessation a condition for receiving services.en_US
.custom.citationหทัยชนก สุมาลี, Hathaichanok Sumalee, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, Siriwan Pitayarangsarit, ประภาพรรณ เอี่ยมอนันต์, Praphaphan Iamanan, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and Viroj Tangcharoensathien. "การประเมินผลการจัดบริการช่วยเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4335">http://hdl.handle.net/11228/4335</a>.
.custom.total_download1422
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month61
.custom.downloaded_this_year110
.custom.downloaded_fiscal_year136

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v9n3 ...
Size: 209.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record