แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย ตามชุดข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก

dc.contributor.authorนงนุช ใจชื่นth_TH
dc.contributor.authorNongnuch Jaichuenth_TH
dc.contributor.authorวาทินี คุณเผือกth_TH
dc.contributor.authorWatinee Kunpeukth_TH
dc.contributor.authorสิรินทร์ยา พูลเกิดth_TH
dc.contributor.authorSirinya Phulkerdth_TH
dc.contributor.authorทักษพล ธรรมรังสีth_TH
dc.contributor.authorThaksaphon Tammarungsith_TH
dc.date.accessioned2015-10-28T04:26:58Z
dc.date.available2015-10-28T04:26:58Z
dc.date.issued2558-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 9,3 (ก.ค.-ก.ย. 2558) : 213-226th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4339
dc.description.abstractการทำการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมันและเกลือสูงเป็นปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและสุขภาพของเด็ก การประชุมสมัชชาอนามัยโลกปีพ.ศ.2553 ได้มีมติรับรองชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก โดยให้ดำเนินการระดับโลกในการสนับสนุนกระบวนการทางนโยบายและกลไกอันจะนำไปสู่การลดผลกระทบต่อเด็กจากการทำการตลาดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ น้ำตาล หรือเกลือในปริมาณสูง ชุดข้อเสนอแนะนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 12 ข้อ จำแนกออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1.ที่มาและเหตุผล 2.การพัฒนานโยบาย 3.การนำนโยบายไปใช้ 4.การติดตามและประเมินผลนโยบาย และ 5.การวิจัย บทความนี้เป็นการศึกษาสถานการณ์ ช่องว่างและโอกาสของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรการในการควบคุมการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็กของประเทศไทยที่สอดคล้องกับชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็กขององค์การอนามัยโลก โดยวิเคราะห์ในสามประเด็น ได้แก่ กลไกการพัฒนานโยบาย กลไกการนำไปปฏิบัติและกลไกการติดตามและประเมินผล ทั้งนี้ จากการทบทวนสถานการณ์ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรการในการควบคุมการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็กภายในประเทศไทย สรุปได้ว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการทำการตลาดและการโฆษณาอาหารที่สามารถนำไปปรับใช้ได้บางส่วน เพื่อควบคุมการสื่อสารการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ น้ำตาล หรือเกลือในปริมาณสูงในเด็ก อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร และยังขาดกฎหมายเฉพาะการทำการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็กth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectอาหารเด็กth_TH
dc.subjectการตลาดth_TH
dc.titleช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย ตามชุดข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็กth_TH
dc.title.alternativeGaps and Opportunities of Policy Implementation in Thailand to Comply with WHO’s Set of Recommendations on the Marketing of Foods and Non-Alcoholic Beverages to Childrenth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeMarketing and advertising of food and beverages with high sugar, fat, and sodium are important environmental factors which influence on children’s eating behavior and health. In 2010, the World Health Assembly, the World Health Organization (WHO) Member States endorsed a set of recommendations on the marketing of foods and non-alcoholic beverages to children, aiming to reduce the impact of foods high in saturated fats, trans fatty acids, free sugars, or salts, and expecting cooperation at policy level. The structure of this document includes a description of the background and process for the development of the recommendations, an evidence section and 12 recommendations structured under five sub-headings: 1. rationale; 2. policy development; 3. policy implementation; 4 policy monitoring and evaluation; and 5. research. This study describes theoretical concepts of the set of recommendations, situations, gaps, and opportunities of food and beverages marketing and advertising regulations in Thailand which correspond to these recommendations, and analyses 3 mechanisms: policy development; policy implementation and policy monitoring and evaluation. The review of regulations to control food and non-alcoholic beverage marketing and advertising to children in Thailand found that Thailand has laws related to marketing and advertising, which can be deployed to control the marketing and advertising of foods and non-alcoholic beverages high in saturated fats, trans fatty acids, free sugars, or salt in children. However, the law enforcement is not as efficient and productive as it should be and there is also a lack of specific regulation to control food and non-alcoholic beverage marketing and advertising to children.th_TH
.custom.citationนงนุช ใจชื่น, Nongnuch Jaichuen, วาทินี คุณเผือก, Watinee Kunpeuk, สิรินทร์ยา พูลเกิด, Sirinya Phulkerd, ทักษพล ธรรมรังสี and Thaksaphon Tammarungsi. "ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย ตามชุดข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4339">http://hdl.handle.net/11228/4339</a>.
.custom.total_download872
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year29
.custom.downloaded_fiscal_year43

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v9n3 ...
ขนาด: 223.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย